ประวัติความเป็นมาของเครื่องคิดเลข
เครื่องคิดเลขมีวิวัฒนาการเริ่มต้นมายาวนานตั้งแต่อดีต ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีเครื่องมือกล โดยถูกคิดค้นเริ่มต้นมาตั้งแต่การใช้นิ้วมือนับ ต่อมาเริ่มมีการใช้เครื่องมือช่วยที่หาได้จากธรรมชาติอย่างลูกหิน ใบไม้ เป็นต้น และเมื่อเข้าสู่การพัฒนาทางเทคโนโลยีและศาสตร์การคำนวณที่สูงขึ้ก็เริ่มมีการใช้หลักการต่างๆ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในหลายที่เช่นในประเทศกลุ่มตะวันออก จะเริ่มต้นจากการใช้ลูกคิด ซึ่งเป็นที่นิยมมาอย่างยาวนาน ส่วนในตะวันตก ก็จะมี abaci, Napier’s bones และ slide rules เป็นต้น
เครื่องคิดเลขในสมัยยุคประวัติศาสตร์ แท่งเนเปียร์ (Napier’s rod) คิดค้นโดยจอห์น เนเปียร์( John Napier) นักคณิตศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้ สามารถทำการคูณและหารได้ง่ายเหมือนกับทำการบวก หรือลบโดยตรง นอกจากนี้ยังคิดอุปกรณ์ที่ช่วยในการคูณ การหาร หรือถอดกรณฑ์ให้ง่ายขึ้น เรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า ตารางลอการิทึม หรือ Napier’s bone
ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) คิดค้นโดย วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ นับเป็นคอมพิวเตอร์แบบอนาลอกอย่างหนึ่ง มักประกอบด้วยแถบปรับได้ 3 แถบ และช่องสำหรับเลื่อน 1 ข่อง เรียกว่า “เคอร์เซอร์” (cursor) นิยมใช้กันทั่วไปในหมู่วิศวกรและสถาปนิก
สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการขนานนามให้เป็น เครื่องคิดเลข เครื่องแรกของโลกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1623 โดยวิลเฮล์ม ชิคการ์ด ( Wilhelm Schickard) โดยนำแนวคิดของเนเปียร์มาใช้ เครื่องมือดังกล่าวมีีลักษณะเป็นทรงกระบอก 6 ชุดบรรจุตัวเลขแต่ละชุด โดยผู้ใช้จะต้องหมุดฟันเฟืองเพื่อทดเวลาคูณเลข
เครื่องคิดเลข มีจุดเริ่มต้นมาจาก ลูกคิด ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาในปี 1600 ก่อนคริสตศักราช จอห์น เนเปียร์ได้ประดิษฐ์เครื่องมือชื่อ กระดูกนาเปียร์ ( Napier’s bones ) เพื่อช่วยในการคูณและการหารตามหลักคณิตศาสตร์แบบอาหรับ โดยเครื่องมือดังกล่าวมีลักษณะเป็นท่อนไม้แกะสลักตัวเลข แต่สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการขนานนามให้เป็น เครื่องคิดเลข เครื่องแรกของโลกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1623 โดยวิลเฮล์ม ชิคการ์ด ( Wilhelm Schickard) โดยนำแนวคิดของเนเปียร์มาใช้ เครื่องมือดังกล่าวมีีลักษณะเป็นทรงกระบอก 6 ชุดบรรจุตัวเลขแต่ละชุด โดยผู้ใช้จะต้องหมุดฟันเฟืองเพื่อทดเวลาคูณเลขนั่นเอง
เครื่องคิดเลขที่ใช้ระบบใกล้เคียงเครื่องคิดเลขในปัจจุบันคือ เครื่องคิดเลขของเบล์ส ปาสคาล (Blaise Pascal) ที่เกิดขึ้นในปีค.ศ. 1942 โดยสามารถใช้บวกและลบได้ในรูปแบบของจำนวนเลขฐานสิบจากระบบฟันเฟืองทดกัน 8 ตัวขนานพร้อมตัวเลขครอบฟันเฟืองประจำหลักต่างๆ ในลักษณะเดียวกับเลขหน้าปัทม์บอกระยะทาง
ขณะที่ กอทฟริด วิลเฮลม ลิปนิซ (Gottfried Wilhelm Leibniz) ก็สามารถประดิษฐ์อาริทโมมิเตอร์ (Arithmometer Machine) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับคูณ หาร และถอดรากกำลัง 2 ในเวลาต่อมา
เครื่องคิดเลขเริ่มได้รับการพัฒนาให้มีความนิยมในวงกว้างโดยลดขนาด เพิ่มรูปแบบการใช้งาน และมีการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ โดยเครื่องคิดเลข 2 รุ่นแรกที่ใช้พลังงานไฟฟ้าคือ ในขณะที่เครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่คือ Sharp QT-8D จากบริษัท ชาร์ป จำกัด โดยในขณะนั้น เครื่องคิดเลขได้ถูกออกแบบให้ขนาดเล็กลงเหลือเพียงฝ่ามือเดียวเท่านั้น
พัฒนาการของเครื่องคิดเลข
การแข่งขันพัฒนาเครื่องคิดเลขจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชาร์ป ซันโย แคนอน ทำให้เครื่องคิดเลขที่เคยเป็นเทคโนโลยีราคาแพงค่อยๆ ราคาถูกลงมาเรื่อยๆ ขณะที่เครื่องคิดเลขเกิดขึ้นเริ่มมีฟังก์ชั่นเฉพาะตัว เช่น เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ เครื่องคิดเลขวิศวกรรม เครื่องคิดเลขพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ฯลฯ หรือแม้แต่การนำเทคโนโลยีหน้าจอ LCD มาใช้กับเครื่องคิดเลข แต่ด้วยราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่องก็ทำให้หลายบริษัทขาดทุน และตัดสินใจถอนตัวออกจากตลาดเช่นกัน
-ขอขอบคุณ https://portal.weloveshopping.com/blog/10498/calculatorhistory
และ https://www.scimath.org/article-mathematics/item/10987-2019-10-25-07-35-21