นักมนุษย์วิทยา Stephen Le คนเขียนหนังสือเรื่อง 100 Million Years of Food จะทำให้เรารู้ว่าเมื่อ 100 ล้านปีที่แล้ว บรรพบุรุษเราเคยกินอะไรบ้างและมันสำคัญกับชีวิตในตอนนี้ของเรายังไง เราจะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารของมนุษย์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอาหารการกินในสมัยใหม่ ที่รวมถึงเรื่องสุขภาพและอายุขัยของเรา
บรรพบุรุษเรากินแมลงเป็นอาหารหลัก
เมื่อประมาณ 100 ล้านปีที่แล้ว มนุษย์ยุคแรกๆ ยังอาศัยอยู่บนต้นไม้ ในป่าร้อนชื้น พวกเค้ากินแมลงเป็นอาหารหลัก เพราะแมลงมีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น เหล็กและสังกะสี มนุษย์ในตอนนั้นสามารถย่อยและได้รับสารอาหารจากแมลงได้ เพราะมีเอนไซม์ที่ช่วยย่อยเปลือกแข็ง Exoskeleton ในแมลง ซึ่งประกอบไปด้วยสาร Chitin
บรรพบุรุษเราเปลี่ยนมากินพืช
เมื่อประมาณ 60 ล้านปีที่แล้ว เป็นช่วงที่อุณภูมิโลกเย็นลงและอากาศก็ชื้นขึ้น อากาศที่เย็นและชื้นขึ้นทำให้เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืช และบรรพบุรุษเราก็เริ่มหันมากินพืชและผลไม้ และก็เป็นช่วงนั้นเองที่มนุษย์ได้สูญเสียความสามารถในการสร้างวิตามินซี ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลาย เป็นไปได้ว่าการได้รับวิตามินซีจากการกินผลไม้มีประสิทธิภาพมากกว่าการสังเคราะห์ขึ้นมาเอง ทำให้ความสามารถนั้นไม่จำเป็นและไม่ถูกถ่ายทอดไปยังมนุษย์รุ่นใหม่
บรรพบุรุษเราลงจากต้นไม้
เมื่อประมาณ 3 ล้านปีที่แล้ว เป็นช่วงที่สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างมากเนื่องจากพลังลึกลับ ทฤษฏีที่เป็นที่ยอมรับกันคืออุกกาบาตยักษ์ชนโลก และจากการที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์โดยมีมุมเอียงเล็กน้อย (Axis of rotation) ทำให้ขั้วหนึ่งของโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนอีกขั้วก็หันห่างออกไป นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มีด้านที่หันหนีจากดวงอาทิตย์ ก็ส่งผลทำให้อากาศโดยรวมของโลกเย็นลง ความชื้นและน้ำแข็งถูกกับเก็บไว้ที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ และนั่นก็ยิ่งทำให้เกิดฤดูกาลที่ต่างกันอย่างชัดเจน
บรรพบุรุษเราเริ่มทำเกษตรกรรม
หลังจากนั้นมนุษย์ได้เปลี่ยนรูปแบบการกินอีกครั้ง โดยเริ่มทำเกษตรกรรม พืชพื้นเมืองอย่างเช่น ข้าว ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวโพด กลายเป็นผลผลิตหลัก มนุษย์สามารถผลิตและเก็บอาหารได้มากขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มประชากรได้มากขึ้น และหลังจากนั้นประชากรที่ทำฟาร์มก็เริ่มมีจำนวนมากกว่ากลุ่มที่ล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว ดูเหมือนมนุษย์ยอมทิ้งชีวิตแบบเดิมๆ จากการที่ล่าสัตว์ กินอาหารที่ให้พลังงานสูงทำให้สุขภาพดีร่างกายแข็งแรง เพื่อแลกกับผลผลิตที่แน่นอนและมีประสิทธิภาพมากกว่าจากการปลูกพืช และต่อมามนุษย์ก็เริ่มเลี้ยงสัตว์ สัตว์พื้นเมืองอย่างเช่น วัว แพะ และแกะเป็นแหล่งอาหารที่ให้ทั้งเนื้อและนม
โปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์
ในบางพื้นที่ที่เนื้อสัตว์เป็นของหายาก ก็สามารถกินปลาทดแทนได้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี เพราะในปลามี วิตามินดี และ Omega-3 ร่างกายเราสามารถสร้างวิตามินดีได้เองจากการได้รับแสงแดด แต่มันก็อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ เช่นในกรณีที่มีร่างกายใหญ่ หรือในคนที่ผิวสีเข้ม ดังนั้นจึงต้องการวิตามินดีเพิ่มจากการกินอาหารด้วย ส่วน Omega-3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ จำเป็นต้องได้รับทางอาหาร
วัฒนธรรมการกินแบบตะวันตก
มนุษย์มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับอาหารที่ร่างกายรับเข้าไป ทำให้ประชากรในแต่ละพื้นที่มีความพิเศษแตกต่างกัน เช่นคนในยุโรปที่สามารถกินนมวัวได้ หรือกลุ่มคนที่เน้นกินอาหารประเภทแป้งอย่างเช่นชาว Hadza ก็จะมียีนส์ที่ช่วยย่อยแป้งก่อนที่มันจะตกถึงกระเพาะอาหาร มากกว่าชาว Yakut ที่เน้นกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์
Super Food
ไม่มีอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน ไม่มีอาหารที่คนๆ หนึ่งจะสามารถกินได้ในปริมาณมากๆ ได้ อาหารที่ดูจะมีประโยชน์กับบางคน แต่สำหรับอีกหลายคนกลับแพ้อาหารเหล่านั้น บนโลกนี้มีกลุ่มคนที่แพ้นมวัวอยู่ถึง 60% (และคนเอเชียก็แพ้นมวัวถึง 95%) เรารู้ว่านมมีประโชชน์มากมาย ให้โปรตีนสูง มีแคลเซียม โปแทสเซียม วิตามินบี 12 แต่เอาตามความจริง ถ้าเรากินนมเข้าไปแล้วมันทำให้ท้องเราปั่นป่วน นมมันก็คงไม่ดีต่อสุขภาพเราแน่ๆ
ก็เหมือนกับ โฮลวีตที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินบีและแร่ธาตุหลายอย่าง แต่สำหรับประชากรอีก 1% หรือ 75 ล้านคนบนโลกนี้ที่ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบ และการรักษาที่ดีที่สุดคือการเลี่ยงอาหารที่มีกลูเต็น น่าเสียดายแทนคนกลุ่มนี้ นอกจากโฮลวีตแล้ว ข้าวบาร์เลย์ บรูยีสต์ ขนมปัง พาสตา ขนมเค้ก แครกเกอร์ ซีเรียล แพนเค้ก เบียร์ ก็ดูเหมือนจะกินไม่ได้ด้วย
ที่มา: https://minimore.com/b/PE1Ra/26 และ https://blog.nsru.ac.th/60111806048/5087