วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคที่ หนึ่ง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหย่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง
หากจะพูดถึงวิวัฒนาการครั้งสำคัญของโลกหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว การเกิดขึ้นและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาของคอมพิวเตอร์นี่แหละกลายเป็นวิวัฒนาการครั้งสำคัญของโลกอย่างแท้จริง หลังจากโลกของได้กำเนิดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ออกมาโลกก็ก้าวไปไกลมาก เรามาลองย้อนดูกันว่า วิวัฒนาการของไมโครโปรเซสเซอร์กับคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
ไมโครโปรเซสเซอร์
คอมพิวเตอร์จะพัฒนาไม่ได้เลยหากสมองของมันไม่ได้พัฒนาไปด้วย เรื่องสำคัญเลยก็คือ การสร้างไมโครโปรเซสเซอร์ขึ้นมา ตัวนี้เปรียบได้กับสมองขนาดเล็กของมัน ไมโครโปรเซสเซอร์จะสามารถทำตามคำสั่งของเราได้แบบเป็นแสน หรือ ถึงล้านคำสั่งในเวลาไม่กี่วินาที หากย้อนกลับไปเชื่อว่าคนวัยสัก 30 ขึ้นไปน่าจะเคยได้เห็นคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่ารุ่น 486 นั่นเป็นชื่อเรียกที่มาจากไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น 80486 นั่นเอง จากนั้นก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นระบบเพนเทียม แล้วก็พัฒนาต่อมาเรื่อยๆ อย่าง เพนเทียม วัน, ทู, ทรี, จนกลายเป็นชิปเซตที่เราใช้กันในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นฝั่งของอินเทล หรือ ยี่ห้ออื่น
ไมโครคอมพิวเตอร์
เมื่อสมองถูกย่อขนาดให้เล็กลง ตัวคอมพิวเตอร์ที่เปรียบเสมือกับร่างกายของตัวมันเองนั่นก็ถูกย่อให้เล็กลงด้วย ไมโครคอมพิวเตอร์ ถือกำเนิดขึ้นตามไมโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม หนึ่งคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันทั่วไปเรียกกันว่า เครื่องพีซี ส่วนอีกแบบหนึ่งเรียกว่า เครื่องแมค ผลิตโดยบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์สมัยแรก ช่วงแรก การใช้งานเครื่องแมคจะทำได้ดีกว่าเนื่องจากมีจอสีสามรถสั่งการได้ซับซ้อนกว่า ผิดจากพีซีที่ต้องสั่งการทีละคำสั่ง รอประมวลผล แล้วทำใหม่ วนซ้ำไปซ้ำมา จากนั้นทั้งคู่ก็พัฒนาตัวเองจนกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์
จำนวนบิต
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ก็คือ จำนวนบิตในการทำงานของตัวเอง กล่าวคือ คอมพิวเตอร์จะทำงานด้วยการตอบรับคำสั่งผ่านระบบตัวเลขฐาน 2 (เลข 0,1) เอามาเรียงต่อกันเพื่อเป็นคำสั่งในการทำงาน ยุคแรกเริ่มนั้นคอมพิวเตอร์จะทำงานระบบ 4 บิตเท่านั้น ซึ่ง 4 บิตหมายถึงการเอาเลข 0,1 มาเรียงกัน 4 ตัว จะได้คำสั่งทั้งหมด 16 ชุดด้วยกันกัน แต่ตอนนี้ไมโครโปรเซสเซอร์สามารถทำงานได้มากถึง 64 บิตกันเลยทีเดียว ซึ่งสามารถประมวลคำสั่งที่แตกต่างกันได้มากถึง 4ล้านคำสั่ง
ไมโครโปรเซสเซอร์อนาคต
จากการพัฒนาของนักวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เรารู้ว่าไมโครโปรเซสเซอร์ซึ่งเปรียบเสมือนสมองกลของคอมพิวเตอร์จะมีการพัฒนาต่อไปอีกอย่างแน่นอน อย่างน้อยการพัฒนาให้ก้าวถึงระดับ 128 บิตก็เป็นเรื่องที่น่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ รวมถึงการคอมพิวเตอร์ที่อาจจะมีการประยุกต์ได้หลากหลายรูปแบบการใช้งานมากขึ้น ลองมานึกกันว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ไมโครโปรเซสเซอร์ กับ คอมพิวเตอร์ จะมีหน้าตาอย่างไร
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index01.htm