ประเภทของฟิล์มกรองแสง
1. ฟิล์มย้อมสี (Dyed Film)เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นต่ำโดยจะนำสีมาย้อมที่กาวโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติ ในการกรองแสงไดแต่สามารถลดความร้อนได้น้อย กาวที่ใช้ไม่มีคุณภาพราคาถูก อายุการใช้งานสั้นไม่เกิน 3 ปีเมื่อ
เสื่อมสภาพ สีจะจางลง เปลี่ยนเป็นสีม่วง โป่งพองกาวจะเสี่ยมทำให้รบกวนทัศนวิสัย ส่วนใหญ่ใช้เป็นฟิล์มแถมฟิล์มย้อมสีนี้ยังมีผู้บริโภค ที่เข้าใจผิดอยู่ว่าติดแล้วสามารถลดความร้อนได้ โดยเฉพาะผู้ที่เลือกสีเข้ม (ฟิล์ม 80% หรือแสงส่องผ่านได้ประมาณ 5-10%) เพราะความเข้มของฟิล์มจะทำให้รู้สึกสบายแต่สีของฟิล์มที่เข้มมากยิ่งจะดูดซับพลังงานความร้อนไว้แล้วค่อยๆส่งผ่านมาในอาคารหรือรถยนต์ทำให้ร้อนขึ้น
2. ฟิล์มเคลือบละอองโลหะ (Metallized Film)เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงโดยใช้วิธีทางวิทยาสาศตร์นำเอา อนุภาคของโลหะมาเคลือบไว้บนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้สามารถสะท้อนพลังงานความร้อนได้ดียิ่งขึ้น จึงสามารถลด ความร้อน ได้ดีกว่าฟิล์มย้อมสีมาก อายุการใช้งานนานกว่าประมาณ5 – 7ปี กาวและโพลีเอสเตอร์มีคุณภาพดีกว่า ราคาสูงกว่า
3. ฟิล์มเคลือบอนุภาคโลหะ (Metal Sputtering Film)ใช้การเหนี่ยวนำของประจุไฟฟ้าในสุญญากาศให ้อนุภาค โลหะไปเกาะติดบนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้ได้ฟิล์มที่มีความคงทนมาก ลดความร้อนได้มากพอกันกับที่2ประมาณ50-70%ฟิล์มประเภทนี้เหมาะสมกับการใช้ติดตั้งกระจกอาคารมากที่สุด มีราคาค่อนข้างสูง
4. ฟิล์มกรองแสงนาโน (Nana-Super IR Window Films)“นาโนเทคโนโลยี” กับการนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตฟิล์มกรองแสง ด้วยการคัดเลือก Nana Materials ที่มาขนาด 1 ในพันล้านส่วน (1นาโนเมตร = 10 ม.) เช่น เซรามิก (Ceramic) ATO (Autium Tin Oxide) ITO (Indium Oxide) เป็นต้น นำเข้ากระบวนการผลิตร่วมกับแผ่น P.E.T. ชนิดใสพิเศษจนได้แผ่นฟิล์ม ที่สามารถกันคลื่นความร้อน และรังสียูวีได้เกือบ 100% โดยไม่ต้องมีสีหรือโลหะเป็นส่วนประกอบ อายุการใช้งานเกิน 10 ปี
5. ฟิล์มนิรภัย (Safety & Security Window Films)เป็นฟิล์มที่ผ่านขั้นตอนการผลิต เช่นด้วยกันกับฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์อื่นๆ แต่มีความแตกต่างตรงที่ใช้แผ่น Polyester ที่มีความหนา (Thickness) มากว่า ตลอดจนใช้ชนิดและปริมาณของกาว (ADHESIVE) ที่มีคุณสมบัติในการยึดติดกับกระจกได้อย่างเหนียวแน่นกว่ามาก ส่วนการจะเพิ่มความหนาของชั้น Polvester และกาวจะมากเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับระดับความแข็งแรงในการรับแรงกระแทกมากเป็นพิเศษเท่าที่ต้องการ อายุการใช้งานประมาณ 7-10 ปีa
สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลมีกระจกอยู่รอบด้าน ช่องใหญ่สุดคือกระจกหน้า ซึ่งนอกจากเพื่อความสวยงามแล้ว ยังเป็นความจำเป็น เพื่อคนขับจะสามารถมองเห็นสถานการณ์เบื้องหน้าเป็นมุมกว้างให้ได้มากที่สุด แต่ก็เป็นช่องนี้อีกเหมือนกันที่นำความร้อนเสริมจากแสงอาทิตย์ (solar heat gain) เข้ามาเพิ่มเติมในห้องโดยสารมากที่สุดนอกเหนือจากความร้อนที่แผ่ออกมาจากตัวคนขับ / ผู้โดยสารและเครื่องยนต์ เพราะแสงอาทิตย์นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพาพลังงานไปด้วยทุกที่ ตามสมการ
S = EB / μ0
เมื่อ S คือ พลังงานที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านำพาผ่านพื้นที่ 1 ตารางเมตร ใน 1 วินาที [มีหน่วยเป็น J / (m2.s)] E และ B คือความเข้มสนามไฟฟ้า (หน่วยคือ N/C ) และสนามแม่เหล็ก [หน่วยคือ (N.s)/(C.m)] ตามลำดับ และ μ0 เป็นค่าคงที่เรียกว่าค่า permeability ของสุญญากาศ ซึ่งเท่ากับ 1.2566 x 10-6 N/A2
ฟิล์มนิรภัย (Safety Film) เป็นฟิล์มชนิดที่มีความหนาตั้งแต่ 4 MIL ขึ้นไป (1 MIL = 1/1,000 นิ้ว) มีทั้งชนิดลดความร้อน และไม่ลดความร้อน ซึ่งฟิล์มชนิดนี้จะทำการยึดเกาะแผ่นกระจกให้คงรูปมากที่สุด และยังจะช่วยซับแรงจากการกระแทกได้อีกด้วย
ฟิล์มใสนาโน เป็นฟิล์มที่แสงสามารถส่องผ่านได้มากที่สุดถึง 60% แต่ก็เป็นฟิล์มที่ช่วยลดความร้อนได้สูง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาผลิต ซึ่งฟิล์มชนิดนี้ส่วนมากมักจะราคาที่ค่อนข้างสูง
ฟิล์มกรองแสงในบ้านเรานั้น ส่วนมากจะเรียกกันติดปากว่าฟิล์มนี้กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยมากจะมี 40, 60และ80 ที่ใช้ติดรถในปัจจุบัน ซึ่งสามารถอธิบายคำว่าเปอร์เซ็นต์เหล่านี้ได้ว่า
- ฟิล์ม 40% นั้น บางยี่ห้ออาจจะเรียกว่าฟิล์มใส เพราะแสงสามารถเข้าไปในตัวรถถึง 35%
- ฟิล์ม 60% คือ ฟิล์มที่แสงสามารถส่องเข้าไปในตัวรถประมาณ 20%
ฟิล์ม 80% คือฟิล์มที่มีความเข้มมากที่สุด ซึ่งแสงจะส่องผ่านฟิล์มเข้าไปในตัวรถได้เพียง 5%
การติดฟิล์มกรองแสงของรถยนต์นั้น ก็ถือว่าเป็นการแต่งรถชนิดหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยได้มีกฏหมายข้อบังคับเกี่ยวกับการติดฟิล์มออกมา โดยสามารถติดฟิล์มที่กระจกหน้า และหลังได้ แต่ไม่สามารถติดฟิล์มที่มีความเข็มเกิน 40% ส่วนกระจกข้างไม่สามารถติดฟิล์มที่มีความเข้มเกิน 60% โดยที่ออกกฏหมายฉบับมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ แต่ประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน กฏหมายจึงมีการผ่อนผันให้ แต่ก็ไม่ใช่จะติดฟิล์มให้ทึบทุกบานจนไม่สามารถขับขี่ได้
ฟิล์มกรองแสงเป็นวัสดุชิ้นหนึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญกับรถมาก เพราะถ้าติดฟิล์มที่ดีมีคุณภาพ ผู้ขับขี่ก็จะขับได้อย่างปลอดภัย และมีความสุข แต่ถ้าติดฟิล์มที่เข้มไป หรือไม่มีคุณภาพ ก็อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ในบ้านเรานั้นก็มีหลากหลายยี่ห้อ อาทิ Lamina (ลามีน่า), 3M (3เอ็ม), Hi-Kool (ไฮคูล) และXtra-cole (เอ็กตร้าคูล) เป็นต้น
ขอบคุณ แหล่งข้อมูล https://www.scimath.org/lesson-physics/item/7290-2017-06-14-14-17-37