Libra อัปเดต White Paper เป็นเวอร์ชัน 2.0 จากสกุลเงินเดียว เป็นแยกสกุลตามเงินจริงแต่ละประเทศ
นับตั้งแต่เปิดตัว White Paper เวอร์ชันแรกในวันที่ 18 มิถุนายน 2562 สมาคม Libra เผยว่าได้รวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้กำหนดนโยบาย
แบบที่ 1 คือ single-currency stablecoins โดยแพลตฟอร์มของ Libra จะเปิดให้ธนาคารกลางทั่วโลกสามารถมาสร้างสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองได้ ซึ่งในเริ่มแรกจะมีเพียง 4 สกุลในเครือข่าย ได้แก่ LibraUSD หรือ ≋USD, LibraEUR หรือ ≋EUR, LibraGBP หรือ ≋GBP และ LibraSGD หรือ ≋SGD ในอนาคตไม่มีปิดกั้น
แบบที่ 2 คือ Global Libra (≋LBR) ซึ่งก็จะเป็น Stablecoin หรือสกุลเงินที่มีสินทรัพย์หนุนหลังเต็มมูลค่าเหมือนกันกับแบบแรก แต่มูลค่าที่หนุนหลัง ≋LBR จะมาจากทุกๆ single-currency stablecoins รวมกันอยู่ในตะกร้าของ ≋LBR (เริ่มแรกมี 4 สกุล ≋USD, ≋EUR, ≋GBP และ ≋SGD) กล่าวคือ ≋LBR จะเป็นค่าเฉลี่ยของทุกๆ สกุล ในรูปแบบที่คล้ายกับสิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Rights :SDR) ของไอเอ็มเอฟ
โครงการเงินดิจิทัล Libra ออกเอกสารทางเทคนิคเวอร์ชันปรับปรุงใหม่ (เรียกกันเล่นๆ ว่า Libra 2.0) หลังเดินสายรับฟังความเห็นจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศต่างๆ ที่รุมค้าน Libra อย่างหนัก
ประเด็นสำคัญที่เปลี่ยนแปลงใน Libra 2.0 มี 2 เรื่องคือ
เปลี่ยนจากค่าเงินสกุลเดียว มาเป็นสกุลย่อยหลายสกุล
แนวคิดเดิมของ Libra คือสร้างค่าเงินสกุลเดียว (≋LBR) ที่อิงกับตะกร้าของค่าเงินในโลกจริงหลายสกุล (multi-currency stablcoins) ที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสร้างค่าเงินสกุลใหม่ของตัวเอง ทางโครงการแก้ปัญหานี้โดยปรับมาเป็นการออกสกุลเงิน Libra ย่อยๆ โดยอิงกับเงินสกุลเดียว (single-currency stablecoins) เช่น ≋USD, ≋EUR, ≋GBP เพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแลของแต่ละประเทศ มีขอบเขตการทำงานชัดเจนขึ้น
ส่วนเงินสกุล ≋LBR เดิมก็ยังอยู่ แต่จะอิงจากการคำนวณเงินสกุลย่อยอีกที โดยสูตรคำนวณที่แน่ชัดจะประกาศเพิ่มเติมในอนาคต (ตัวอย่างที่นำมาโชว์คือ 1 ≋LBR มาจาก ≋USD 0.50, ≋EUR 0.18, ≋GBP 0.11 เป็นต้น) และโครงการ Libra จะเชิญหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศต่างๆ เข้ามาช่วยบริหารสูตรการคำนวณด้วย
แนวทางนี้ตรงกับที่ David Marcus หัวหน้าโครงการ Libra ออกมาพูดตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว
Libra ยอมรับว่าการแตกเป็นสกุลเงินย่อยๆ หลายสกุล จะสร้างความซับซ้อนในการใช้งานมากขึ้น เพราะการจ่ายเงิน การแลกเงิน การโอนเงินจะต้องอิงกับทรัพย์สินจริงในสกุลเงินต่างๆ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องต้องถือเงินหลายสกุลมาค้ำประกันเงินดิจิทัล แทนที่จะเป็นเงินสกุลเดียว
ซึ่งแยกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
- Regulated VASPs ที่ต้องถูกกำกับดูแลโดยหน่วยงานรัฐ
- Certified VASPs ที่รับรองโดยสมาคม Libra
การเปิดเครือข่าย Libra ในช่วงแรกจะเปิดรับเฉพาะ Regulated VASPs เท่านั้น ส่วนตัวแทนประเภทอื่นๆ ที่ไม่ถูกกำกับดูแลโดยรัฐจะเพิ่มเข้ามาในอนาคต โดยยังไม่ระบุช่วงเวลา และจะเพิ่มเข้ามาหลังได้รับความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว
อ้างอิง :
https://libra.org/en-US/white-paper/
https://fintechzoom.com/fintech-news-bitcoin-news/facebook-libra-redesigned-new-system-and-cryptocurrency-to-comply-with-regulations/
และ https://www.efinancethai.com/
https://www.blognone.com/node/115919