01.อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein)
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ในประเทศเยอรมนี และความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ของเขานั้น มีจุดกำเนิดมากจากเข็มทิศธรรมดาๆอันหนึ่งที่เขาได้เห็นเมื่ออายุห้าปี สิ่งนี้ทำให้เขาเกิดความสงสัยว่าอะไรเป็นสิ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของเข็ม จนเมื่อเขาอายุ สิบปี ไอน์สไตน์ได้มีโอกาสอ่านหนังสือดีๆมากมายเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์และปรัชญา ซึ่งส่งเสริมพรสวรรค์ของเขามากขึ้นไปอีก
ขณะที่ยังศึกษาอยู่ ไอน์สไตน์เรียนได้ดีมาก อย่างไรก็ตาม ความเหนื่อยหน่ายที่แสดงออกมาทำให้อาจารย์บางคนมองว่าเขาเป็นเด็กขี้เกียจ เมื่อเขาเรียนจบการศึกษาชั้นอุดมศึกษาในช่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ไอน์สไตน์ไม่ได้ทำงานสอนหนังสืออย่างที่ตั้งใจ แต่กลับได้ทำงานกับสำนักงานสิทธิบัตรของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งงานนี้ทำให้เขามีเวลาว่างมากพอที่จะทำงานวิจัยและศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างที่ ชอบ งานของเขาส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อแนวความคิดและทฤษฎีของเขาในภายหลัง
ปี ค.ศ.1905 เป็นปีที่ไอน์สไตน์ประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านการงาน ซึ่งเรียกกันอย่างแพร่หลายว่าเป็น “Annus Mirabilis” หรือ “ปีแห่งปาฏิหาริย์” (Miracle Year) ของเขา ปีนี้เป็นปีที่แวดวงวิทยาศาสตร์เริ่มให้ความสนใจ เขาได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซูริค และได้ตีพิมพ์ผลงานสำคัญของเขาถึงสี่ชิ้นด้วยกัน ซึ่งผลงานเหล่านี้จะเป็นรากฐานสำคัญให้กับวิชาฟิสิกส์ต่อไป และเขายังเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับอวกาศ เวลา และสสารไปอีกด้วย
นอกจากนี้ ปีนี้ยังเป็นปีที่เขาเผยแพร่สมการที่โด่งดังที่สุดในศตวรรษที่ 20 ด้วย นั่นก็คือสมการ E=mc^2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมวลและพลังงานของวัตถุนั้นๆ ภายในระยะเวลาเพียงสามปี ชื่อเสียงในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของไอน์สไตน์ช่วยทำให้เขาได้เป็นผู้บรรยายในมหาวิทยาลัย ไม่นานหลังจากนั้นเขาก็เลิกการเป็นผู้บรรยาย และลาออกจากงานเสมียนที่สำนักงานสิทธิบัตรด้วย ทั้งนี้เพื่อไต่เต้าขึ้นไปเป็นศาสตราจารย์เต็มตัว ซึ่งในที่สุดก็ได้มาในปี ค.ศ.1911
หลังจากนั้นเขาก็ทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษามาตลอด จนในปี ค.ศ.1919 ไอน์สไตน์ได้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เนื่องจากทฤษฎีที่เขาเคยเผยแพร่มาก่อนหน้านั้นหลายปีได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริง ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity) ของเขาได้อธิบายเรื่องแรงโน้มถ่วงให้ลึกขึ้น และทำให้ไอน์สไตน์ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบทอดของเซอร์ไอแซ็ค นิวตัน ในโลกของฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1921 ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เนื่องจากได้อธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็คทริค ซึ่ง่ทำให้ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของแสงกระจ่างมากขึ้น เขาได้รับการต้อนรับเปรียบคนดังขณะที่เดินทางไปทั่วโลก และมีผู้ชื่นชอบมากมายมารวมตัวกันเพื่อฟังเขากล่าวสุนทรพจน์ ชื่อเสียงทำให้เขาสามารถแสดงออกซึ่งความเชื่อทางการเมืองและสังคมได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่เขาเป็นชาวยิว ทำให้ไอน์สไตน์ตกเป็นเป้าของพรรคนาซีที่กำลังมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงปี ค.ศ.1933 ไอน์สไตน์ไม่สามารถสอนหนังสือในประเทศเยอรมนีได้อีกต่อไป งานเขียนของเขาบางส่วนถูกเผา และตัวเขาเองถึงขั้นตกเป็นเป้าการลอบสังหารด้วย ไอน์สไตน์เป็นผู้ฝักใฝ่สันติ (Pacifist) อย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นในปีนั้นเอง เขาได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และตั้งรกรากและทำงานอยู่ที่ “สถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูง” (Institute for Advance Study) ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey)
ในปี ค.ศ.1939 ไอน์สไตน์หันหลังให้กับความเป็นผู้ฝักใฝ่สันติของตัวเอง และได้เตือนรัฐบาลอเมริกันถึงความเป็นไปได้ว่ากองกำลังของฮิตเลอร์อาจกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อยู่ ในตอนแรก ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) ยังไม่ปักใจเชื่อคำเตือนดังกล่าว แต่สุดท้ายก็เห็นว่าเป็นความจริง จึงได้จัดตั้ง โครงการแมนฮัตตัน (The Manhattan Project) ขึ้น โครงการนี้เป็นโครงการแรกที่ค้นคว้าพัฒนาระเบิดปรมาณู
ปีถัดมา ไอน์สไตน์ได้รับสัญชาติอเมริกัน และได้ร่วมเป็นสมาชิกคนสำคัญของ “สมาคมสนับสนุนความก้าวหน้าของชาวผิวสีแห่งชาติ” (National Association for Advancement of Colored People-NAACP) เขายังเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เรียกร้องสิทธิพลเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ในปี ค.ศ.1952 ในฐานะที่เป็นหนึ่งในชาวยิวที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลก ไอน์สไตน์ได้รับการทาบทามโดยนายกรัฐมนตรี เพื่อให้รับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่สองของประเทศอิสราเอลที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ แต่ไอน์สไตน์ปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่าเขาขาดทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ผู้ดำรงตำแหน่งนี้พึงมี
ไอน์สไตน์ใช้ช่วงบั้นปลายชีวิตไปกับการพยายามคิดค้นเรื่อง “ทฤษฎีสนามรวม” (Unified Field Theory) ซึ่งจะเป็นทฤษฎีที่สามารถอธิบายพลังต่างๆของธรรมชาติและจักรวาลได้ในกรอบความคิดเดียว หรือกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็น “ทฤษฎีของทุกสรรพสิ่ง” (Theory of Everything) นั่นเอง อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถพัฒนาทฤษฎีได้สำเร็จ ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1955 เนื่องจากอาการเลือดตกใน จากโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ตาโป่งพองในช่องท้อง (Abdominal Aortic Aneurysm) เขาทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยจนวาระสุดท้ายของชีวิต อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์มิได้อยู่ในความทรงจำในฐานะที่เป็นบิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่ หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ปราดเปรื่องที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 เท่านั้น แต่ยังเขายังเป็นอัจฉริยะผู้ถ่อมตัว และไม่เคยสูญเสียความช่างสงสัยอย่างเด็กๆด้วย
02. เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton)
ประวัติ : นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญา เกิด ค.ศ. 1642 ที่ลินคอล์นเคาน์ตี้ ประเทศอังกฤษ
ตาย ค.ศ. 1727 อายุ 85 ปี
ผลงานที่สำคัญ : คิดทฤษฎีไบโนเมียลได้ คิดฟลักเซียลได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาเรียกใหม่ว่า กฎเกณฑ์ในวิชาอินทีกราลแคลคูลัส
สร้างกล้องโทรทัศน์แบบสะท้อนแสง พบแรงโน้มถ่วงของโลก และความโน้มถ่วงของจักรวาล และตั้งกฎของความโน้มถ่วง (Law of Gravitation)
พบว่า ปริซึมสามารถแยกแสงจากดวงอาทิตย์ได้เป็น 7 สี คือ แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม และม่วง พบกฎการเคลื่อนที่
นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ นิวตันเกิดที่เมืองวูลสธอร์ป ลิงคอนไชร์ ประเทศอังกฤษ
ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก ไลบ์นิซ และแฟลมสตีด ซึ่งนิวตันได้แก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจิตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของ นิวตัน เอง นิวตัน ตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของ นิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตัน ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภา
02. หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)
หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นนักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดทางตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการจุลชีววิทยาการแพทย์ ปาสเตอร์สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ในปี 1842 และหนึ่งปีหลังจากนั้นได้เข้าเรียนในวิทยาลัยครูในกรุงปารีส ที่ซึ่งเขาได้เป็นศิษย์ของ นักเคมีชาวฝรั่งเศส ฌอง แบ๊บติส ดูมาส์ (Jean Baptist Dumas) ปาสเตอร์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในเวลาต่อมาและจากนั้นได้รับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ในปี 1847 ปาสเตอร์เลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกด้านผลึกศาสตร์ (crystallography) ซึ่งเกี่ยวกับการเรียงตัวของอะตอมในของแข็งนั้น ทำให้เขาได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ด้านเคมีในมหาวิทยาลัยสตราสบูร์ก (University of Strasbourg) ปาสเตอร์ได้รับตำแหน่งทางวิชาการมากมาย และเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาเรื่อง Molecular Asymmetry และค้นพบว่าจุลชีพเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขบวนการหมัก (fermentation) และโรคต่างๆ การค้นพบนี้ช่วยลดอัตราการตายเนื่องจากเป็นไข้ลงได้มาก
ปาสเตอร์เป็นที่รู้จักมากที่สุดในด้านการค้นพบขบวนการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีทำให้ของเหลวจนร้อนถึงอุณหภูมิระดับหนึ่งที่เฉพาะเจาะจง ในระยะเวลาหนึ่ง และทำให้ของเหลวเย็นลงหลังจากนั้น ขบวนการนี้จะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของจุลชีพในนมและไวน์ได้ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้พัฒนาวัคซีนต้านโรคพิษสุนัขบ้า (rabies) และเชื้อแอนแทร็กซ์ (anthrax) ด้วย ปาสเตอร์ได้รับเหรียญรางวัลยกย่องสูงสุดด้านจุลชีววิทยาจาก Royal Netherlands Academy of Arts and Sciences และ Legion of Honor ของฝรั่งเศส และยังมีสถาบันวิจัยหลายแห่งที่ตั้งชื่อตาม หลุยส์ ปาสเตอร์ เพื่อแสดงความชื่นชมต่อการค้นพบสำคัญของเขา งานศึกษาวิจัยของเขายังคงส่งเสริมการศึกษาด้านแบคทีเรียวิทยา จุลชีววิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา และสเตอริโอเคมี (stereochemistry) จนถึงปัจจุบัน
กาลิเลโอเกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี บิดาของเขาเป็นขุนนาง นักคณิตศาสตร์ นักดนตรี
และนักเขียน ที่มีชื่อเสียงอยู่พอสมควร บิดาของเขามีชื่อว่า วินเซนซิโอ กาลิเลอี (Vincenzio Galilei) กาลิเลโอเข้ารับการศึกษา
ขั้นต้นที่เมืองปิซานั่นเอง กาลิเลโอเป็นนักเรียนที่เฉลียวฉลาด และมีความสามารถหลายด้าน ทั้งวาดภาพ เล่นดนตรี และ
คณิตศาสตร์ บิดาของกาลิเลโอต้องการให้เขาศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ด้วยเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่อง กาลิเลโอได้ปฏิบัติตาม
ที่บิดาต้องการ คือ เข้าเรียนในวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยปิซา (Pisa University) แต่กาลิเลโอมีความสนใจในวิชา
วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์มากกว่า จนกระทั่งครั้งหนึ่งกาลิเลโอมีโอกาสได้เข้าฟังการบรรยายวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้
เขาเลิกเรียนวิชาแพทย์ และไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์แทน
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของกาลิเลโอเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1584 เมื่อเขากำลังนั่งฟังสวดมนต์อยู่ในโบสถ์แห่งหนึ่ง
เขาสังเกตเห็นโคมแขวนบนเพดานโบสถ์แกว่างไปแกว่างมา เขาจึงเกิดความสงสัยว่าการแกว่งไปมาของโคมในแต่ละรอบใช้เวลา
เท่ากันหรือไม่ ดังนั้นเขาจึงทดลองจับเวลาการแกว่งไปมาของโคม โดยเทียบกับชีพจรของตัวเอง เนื่องจากเขาเคยเรียนวิชาแพทย์
ทำให้เขารู้ว่าจังหวะการเต้นของชีพจรของคนในแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาเท่ากัน ผลปรากฎว่าไม่ว่าโคมจะแกว่งในลักษณะใด
ก็แล้วแต่ ระยะเวลาในการแกว่งไปและกลับครบ 1 รอบ จะเท่ากันเสมอ เมื่อเขากลับบ้านได้ทำการทดลองแบบเดียวกันนี้อีกหลาย
ครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทฤษฎีที่เขาจะตั้งขึ้นถูกต้องที่สุด ซึ่งผลการทดลองก็เหมือนกันทุกครั้ง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า
กฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือ กฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม กาลิเลโอได้นำหลักการจากการทดลองครั้งนี้มาสร้างเครื่องจับเวลา
ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1656 คริสเตียน ฮฮยเกนส์ (Christian Huygens) ได้นำทฤษฎีนี้มาสร้างนาฬิกาลูกตุ้ม
ต่อมาในปี ค.ศ. 1585 กาลิเลโอได้ลาออกจากมหาวิทยาลัย เพราะไม่มีเงินพอสำหรับการเรียนต่อ เขาได้เดินทางกลับบ้านเกิด
ที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) และได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันฟลอเรนทีน (Florentine Academy) ในระหว่างนี้กาลิเลโอ
ได้เขียนหนังสือขึ้นมา 2 เล่ม เล่มแรกชื่อว่า Hydrostatic Balance เป็นเรื่องเกี่ยวกับตาชั่ง ส่วนอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Centre of Gravity เป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง เล่มที่ 2 นี้เขาเขียนเนื่องจากมาร์เชส กวิดูบาลโด เดล มอนเต แห่งเปซาโร
(Marchese Guidubald Del Monte of Pasaro) ซึ่งเป็นผู้ที่มีพระคุณต่อเขา ขอร้องให้เขียนขึ้น จากหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้เอง
ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในปี ค.ศ. 1588 กาลิเลโอได้รับการติดต่อให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชา
คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปิซา ในปี ค.ศ. 1591 ระหว่างที่กาลิเลโอเข้าทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยปิซา เขาได้นำทฤษฎีของ
อาริสโตเติล มาทดสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ทฤษฎีที่ว่านี้ คือ ทฤษฎีที่มีน้ำหนักมากกว่าจะตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่มีน้ำหนักเบา
แต่เมื่อกาลิเลโอทดลองแล้วปรากฏว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากและวัตถุที่มีน้ำหนักเบา จะตกถึงพื้นพร้อมกัน แต่การที่อาริสโตเติล
สรุปทฤษฎีเช่นนี้เป็นผลเนื่องมาจากอากาศได้ช่วยพยุงวัตถุที่มีน้ำหนักเบาได้มากกว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ถ้าทำการทดลอง
ในสุญญากาศจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวัตถุตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอได้นำความจริงข้อนี้ไปชี้แจงกับทางมหาวิทยาลัย ผลปรากฏ
ว่า มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทุกคนเห็นอย่างชัดเจน โดยนำก้อนตะกั่ว 2 ก้อน ก้อนหนึ่งหนัก 10 ปอนด์ อีกก้อนหนึ่งหนัก 20 ปอนด์ ทิ้งลงมาจากหอเอนปิซาพร้อมกัน ผลปรากฏว่าก้อนตะกั่วทั้ง 2 ก้อนตกถึงพื้น
พร้อมกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีของอาริสโตเติลผิด และของกาลิเลโอถูกต้อง แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่ยึดถือทฤษฎีของ อาริสโตเติลอย่างเหนียวแน่นก็ยังไม่เชื่อกาลิเลโออยู่ดี อีกทั้งหาทางกลั่นแกล้งจนกาลิเลโอ ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซา
หลังจากที่กาลิเลโอลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซาแล้ว เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัย ปาดัว (Padua University) ในระหว่างนี้กาลิเลโอได้ทำการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่
ทำการทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตกของวัตถุ ซึ่งเขาพบว่าในระหว่างที่วัตถุตกลงสู่พื้นนั้น ความเร็วของวัตถุจะเพิ่มขึ้นทุกวินาที
การทดลองนี้ทางการทหารได้นำไปใช้ในการคำนวณหาเป้าหมายของลูกปืนใหญ่ หลักเกณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่
ของวัตถุนี้ทำให้ เกิดวิชาที่เรียกว่า “พลศาสตร์ (Dynamic)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชากลศาสตร์
เมื่อการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของเขามีอุปสรรค เขาจึงหันมาทำการค้นคว้าเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แทน
กาลิเลโอได้ประดิษฐ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขึ้นหลายชิ้น ได้แก่ นาฬิกาน้ำ ไม้บรรทัด และเทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer)
เป็นต้น และในปี ค.ศ. 1636 กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า Dialoghi Della Nuove Scienze แต่ตีพิมพ์ในปี
ค.ศ. 1638 โดยเอสเซฟเวียร์ (Elzavirs) ที่เมืองเลย์เดน (Leyden) หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชากลศาสตร์
หลังจากหนังสือเล่มนี้เผยแพร่ออกไปกลับได้รับความนิยมมากกว่าหนังสือดาราศาสตร์ของเขา อีกทั้งไม่ถูกต่อต้านจากศาสนาจักร
อีกด้วย
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต กาลิเลโอได้ค้นคว้า และเฝ้ามองดูการเคลื่อนไหวของดวงดาวบนท้องฟ้า รวมถึงดวงจันทร์ด้วย
กาลิเลโอได้เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์จนพบว่า ดวงจันทร์ใช้เวลา 15 วัน ในการโคจรรอบโลก ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบ
ครั้งสุดท้ายของเขา เพราะหลังจากนั้นประมาณ 2 – 3 เดือน เขาก็ตาบอดและสุขภาพอ่อนแอลงเรื่อย ๆ เนื่องจากความชรา และ
เสีย ชีวิตในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
05.ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)
มาร์โคนี ส่วนมารดาของเขาชื่อว่า แอนนี เจมส์สัน มาร์โคนีมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้ามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งบิดาของเขาก็ให้
การสนับสนุนเป็นอย่างดี และได้จ้างครูมาสอนวิชาไฟฟ้าให้กับมาร์โคนีอีกด้วย เขาได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนประจำเมือง
ฟลอเรนซ์ (Florence) ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคเล็กฮอร์น นอกจากการศึกษาภายในโรงเรียนแล้ว
เขายังได้ศึกษาตำราไฟฟ้าของนักฟิสิกส์ชาวสก๊อต เจมส์ คลาร์ก แมกเวล (James Clark Maxwell) ผลงานของแมกเวล
มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้มาร์โคนีมีความสนใจในวิชาฟิสิกส์ อีกทั้งเขาได้ขอร้องบิดาให้จ้างครูมาสอนวิชาฟิสิกส์
ให้กับเขาที่บ้านอีกด้วย ซึ่งบิดาก็ได้ปฏิบัติตามคำขอร้องของเขา นอกจากนี้เขายังมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องอีเทอร์ที่เป็นตัวกลาง
ให้คลื่นแห่ง เหล็กไฟฟ้าเดินทมงจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้
ในปี ค.ศ.1894 มาร์โคนีได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวที่เทือกเขาแอลป์ในประเทศอิตาลีนั่นเอง เขาได้มีโอกาสได้อ่าน
วารสารทางวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่ง หนังสือเล่มนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในปี ค.ศ.1886 ของไฮน์ริช
รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ (Hirich Rudolph Hertz) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ประกอบกับการมีความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น
อย่างดี จากอาจารย์สอนพิเศษของเขาหลายท่าน ทำให้มาร์โคนีเกิดความคิดว่าคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าน่าจะมีประโยชน์ในการ
ส่งสัญญาณโทรเลข โดยไม่ต้องอาศัยสายโทรเลขในการส่งสัญญาณ
ต่อมาในปี ค.ศ.1895 เมื่อมาร์โคนีเดินทางกลับจากการท่องเที่ยว เขาได้เริ่มต้นการค้นคว้าทดลองเรื่องนี้อย่างจริงจัง
โดยสิ่งประดิษฐ์ทางไฟฟ้าชิ้นแรกของมาร์โคนี คือ กริ่งไฟฟ้าไร้สาย โดยเขาได้ติดตั้งกริ่งไว้ที่ชั้นล่าง ส่วนสวิตช์ไว้ชั้นบนของ
บ้าน เมื่อกดสวิตช์ที่อยู่นั้นบนกริ่งที่อยู่ชั้นล่างกลับดังขึ้น ทั้งที่ไม่มีสายไฟเชื่อมต่อระหว่างสวิตช์และกริ่ง จากนั้นมาร์โคนีได้นำ
กระดิ่งออกไปไว้กลางครามและกดสวิตช์ ภายในบ้านกริ่งก็ดังขึ้นอีก สิ่งประดิษฐ์ของเขาชิ้นนี้อาศัยหลักการของเอดูร์ บรองลี
นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งประดิษฐ์เครื่องรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเครื่องรับสัญญาณประกอบไปด้วยหลอดแก้ว
ซึ่งภายในบรรจุผงโลหะสำหรับเป็นตัวนำไฟฟ้า ส่วนเครื่องส่งมาร์โคนีอาศัยหลักการจากเครื่องส่งของเฮิรตซ์ บิดาของมาร์โคนี
ชอบสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้มาก และได้มอบเงินให้กับมาร์โคนีถึง 250 ปอนด์
จากความสำเร็จในการสร้างกริ่งไฟฟ้าไร้สาย มาร์โคนีจึงทำการประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุโทรเลขขึ้นในปี ค.ศ.1897
และทำการทดลองส่งวิทยุโทรเลขไร้สาย จากความช่วยเหลือของพี่ชายของเขา แอลฟอนโซ มาร์โคนี ให้พี่ชายคอยรับฟัง
สัญญาณอยู่ที่บ้าน จากนั้นมาร์โคนีได้เดินห่างจากบ้านไปประมาณ 1 ไมล์ แล้วส่งสัญญาณโทรเลขเข้ามา เขาได้ตกลงกับ
พี่ชายว่าถ้าได้รับสัญญาณให้ยกธงขึ้น เมื่อทดสอบระยะทาง 1 ไมล์ เป็นผลสำเร็จ มาร์โคนีได้ปรับปรุงวิทยุโทรเลขให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น และทำการทดสอบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถส่งได้ระยะไกลกว่าเดิม และได้ทดสอบส่งสัญญาณผ่านภูเขา
ปรากฏว่าสัญญาณจากวิทยุสามารถส่งผ่านภูเขามาได้
ในเวลาต่อมามาร์โคนีได้นำผลงานของเขาชิ้นนี้เสนอต่อรัฐบาลอิตาลี แต่ทางรัฐบาลไม่สนใจและเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น
ในปี ค.ศ.1896 เขาและมารดาจึงได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อนำผลงานชิ้นนี้เสนอต่อรัฐบาลอังกฤษ เมื่อมาถึงประเทศ
อังกฤษมาร์โคนีต้องได้รับความลำบากเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจค้นกระเป๋าของเขาอย่างละเอียด อีกทั้งเมื่อเจ้าหน้าที่
พบวิทยุโทรเลข เกิดเข้าใจผิดว่าเป็นอาวุธสงคราม ทำให้วิทยุโทรเลขได้รับความเสียหาย มาร์โคนีได้นำผลงานชิ้นนี้เสนอต่อ
ซอร์ วิลเลี่ยม พรีซ (Sir William Preze) นายช่างเอกแห่งกรมไปรษณีย์โทรเลขแห่งอังกฤษ และท่านผู้นี้เองที่ให้การสนับสนุน
มาร์โคนีในเรื่องของห้องทดลอง เป็นผู้ช่วยสำปรับปรุงวิทยุโทรเลข อีกทั้งได้มอบโอกาสให้กับเขาในการสาธิตวิทยุโทรเลขให้กับ
รัฐบาลอังกฤษได้ชม โดยการทดลองส่งสัญญาณจากโต๊ะหนึ่ง เพื่อให้กริ่งอีกโต๊ะหนึ่งดัง เมื่อทุกคนได้ยินกริ่งดังต่างก็ตื่นเต้น
ในผลงานชิ้นนี้ และรับผลงานของมาร์ดคนีไว้ในการสนับสนุน ต่อมามาร์โคนีได้ทำการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขจากอาคาร
ไปรษณีย์โทรเลข ไปยังอาคารของธนาคารออมสิน ซึ่งห่างประมาณ 2 ไมล์ ผลการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ว่า
การส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขในช่วงแรกของมาร์โคนีส่งได้เพียงรหัสมอร์สเท่านั้น แต่ก็ถือได้ว่าวิทยุโทรเลขเป็นเครื่องมือสื่อสาร
ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากนั้นเขาได้พัฒนาวิทยุโทรเลขของเขาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปี ค.ศ.1897 วิทยุโทรเลขของมาร์โคนีสามารถส่งสัญญาณผ่านช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสำเร็จ จากผลงานชิ้นนี้ทำให้
เขามีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลประเทศอิตารลีที่เคยปฏิเสธเขามาก่อนก็หันมาให้ความสนใจ
และเห็นคุณค่าในความสามารถของมาร์โคนี อีกทั้งทางรัฐบาลอิตาลีได้เชิญให้มาร์โคนีกลับไปยังประเทศอิตาลี มาร์โคนีปฏิบัติ
ตามคำเชิญของทางรัฐบาล เมื่อเขาเดินทางถึงประเทศอิตาลีเขาได้แสดงการส่งสัญญาณจากบนฝั่งไปยังเรือที่อยู่ห่างจากชายฝั่ง
ถึง 12 ไมล์ หลังจากนั้นมาร์โคนีได้เดินทางกลับไปยังประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่งเพื่อเปิดบริษัทวิทยุโทรเลข โดยใช้ชื่อว่า
บริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โคนี (Marcony’s Wireless Telegraph Company Limit) กิจการส่งวิทยุโทรเลขของเขา
มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ เพราะทั้งกิจการเดินเรือทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเรือรบ เรือเดินสมุทรและหอประภาคาร
ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเดินเรือ ต่างก็ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สะดวก รวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในปี ค.ศ.1901 มาร์โคนีได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อตั้งสถานีรับส่งสัญญาณโทรเลข จากนั้นในวันที่
12 ธันวาคม ค.ศ.1901 ได้ทำการส่งสัญญาณจากสถานีที่ประเทศอังกฤษมายังประเทศสหรัฐอเมริกา รวมระยะทางถึง 3,000
ไมล์ แม้ว่าการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่มีความทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น แต่ก็ส่งสัญญาได้เพียงรหัสมอร์ส
เท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ.1906 นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เรจินาลย์ เฟสเซนเดน สามารถพบวิธีแปลงสัญญาณวิทยุโทรเลขให้เปลี่ยน
เป็นเสียงได้สำเร็จ และมีการทดลองส่งสัญญาณเสียงครั้งแรกของโลกในวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ.1906 แม้ว่ามาร์โคนีจะไม่ใช
่ผู้ค้นพบ แต่เขาก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงให้มีความเจริญก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปี ค.ศ.1909 มาร์โคนีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับคาร์ล เฟอร์ดินานด์ บราวน์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน โดย
มาร์โคนีได้รับจากผลงานการประดิษฐ์วิทยุโทรเลข ส่วนบราวน์ได้รับจากการปรับปรุงเทคโนโลยีการกระจายเสียง และในปีเดียว
กันนี้มาร์โคนีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิก มาร์โคนีเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและได้รับเกียรติจากรัฐบาลอิตาลีอย่างมาก ดังจะ
เห็นได้จากในปี ค.ศ.1912 มาร์โคนีได้เป็นตัวแทนรัฐบาลอิตาลีในการเซ็นสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส และในปี ค.ศ.1929 เขา
ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นมาร์ควิส จากพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอล และยศท่านเซอร์จากพระเจ้ายอร์ชที่ 5 ของอังกฤษ (King
George V of England) เนื่องจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้ติดตั้งสัญญาณวิทยุโทรเลขให้กับกองทัพเรือ
ของอังกฤษ
มาร์โคนีได้พยายามพัฒนากิจการวิทยุให้มีความเจริญมากขั้น ในปี ค.ศ.1917 ได้ออกเดินทางโดยเรือยอร์ชส่วนตัวที่เขา
ตั้งชื่อว่า อิเลคตรา (Electra) และได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กลางทะเล ต่อมาอีก 2 ปี มาร์โคนีได้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียง
ขึ้นที่เชล์มฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของโลกที่ทำการกระจายเสียงอย่างเป็นรูปแบบ
กิจการวิทยุโทรเลขและการกระจายเสียงมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และสามารถส่งสัญญาณไปยังที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก
มาร์โคนีเสียชีวิตในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1937 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาสถานีวิทยุกระจายเสียง
ได้หยุดการกระจายเสียงเป็นเวลา 2 นาที ในช่วงบั้นปลายชีวิตของมาร์โคนีเขาได้ค้นพบคลื่นวิทยุสั้น ๆ ที่สามารถส่งสัญญาณ
ไปได้ไกลเป็นผลสำเร็จคลื่นวิทยุชนิดนี้รู้จักกันดีในชื่อว่า วิทยุคลื่นสั้น
ในปัจจุบัน กิจการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงได้พัฒนารูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นสื่อที่มีความจำเป็น
อย่างมากต่อการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วิทยุกระจายเสียงที่ใช้เป็นสื่อทางด้านความบันเทิง และการส่งข่าวสารต่าง ๆ
ที่เป็นประโยชน์ การสื่อสารของยานพาหนะชนิดต่าง ๆ เช่น เรือโดยสาร เรือเดินทะเล เครื่องบิน ยานอวกาศ เป็นต้น หรือแม้
กระทั่ง การติดต่อสื่อสารระหว่างคน 2 คน ก็ล้วนแต่มีความสำคัญและได้รับประโยชน์จากเครื่องมือสื่อสารชนิดนี้ทั้งสิ้น