สรุปสูตรคณิตศาสตร์ – เรื่อง แคลคูลัส
– ลิมิตของฟังก์ชั่น
– อนุพันธ์
– ปฏิยานุพันธ์
ลิมิตของฟังก์ชัน (Limit of a function)
1. ลิมิตของฟังก์ชัน เขียนแทนด้วย
สำหรับฟังก์ชัน y = f(x) ใด ๆ ที่มีโดเมนและเรนจ์ เป็นสับเซตของเซตจำนวนจริง
- ลิมิตทางซ้ายของ f ที่ a คือ ค่าของ f(x) เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทางซ้าย
เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
- ลิมิตทางขวาของ f ที่ a คือ ค่าของ f(x) เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ a ทางขวา
เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
ถ้า แล้ว จะกล่าวได้ว่า ฟังก์ชัน f ที่ a มีลิมิต
เท่ากับ L เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
ถ้า แล้วจะกล่าวได้ว่า ฟังก์ชัน f ที่ a ไม่มีลิมิต
9. เมื่อ n R
10. เมื่อ n I+ – {1}
11. ถ้า f(x) เป็นฟังก์ชันโพลิโนเมียลแล้ว จะได้ว่า
หมายเหตุ ฟังก์ชันโพลิโนเมียลคือฟังก์ชันที่มีเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นจำนวนเต็มบวก เช่น
f(x) = x3 + 5x2 – 6x + 3
วิธีหา ค่าลิมิตของฟังก์ชัน
(1). เอาค่า a ไปแทนใน x ใน f(x) ถ้าผลที่ได้เป็นจำนวนจริงค่านั้นคือค่าลิมิต
(2). เอาค่า a ไปแทนใน x ใน f(x)แล้วปรากฏผลออกมาในรูป
ให้พิจารณาลักษณะของฟังก์ชัน ดังนี้
(2.1) ถ้าสามารถแยก f(x) ออกเป็นผลคูณของตัวประกอบได้ ก็ให้แยกแล้วขจัดตัวประกอบร่วมของเศษและส่วนออก หลังจากนั้นก็เอาค่า a ไปแทน x ถ้าผลที่ได้เป็นจำนวนจริง ค่านั้นคือค่าลิมิต
(2.2) ถ้าแยกตัวประกอบไม่ได้ เนื่องจาก f(x) มักอยู่ในรูx
ก็ให้นำคอนจูเกตคูณทั้งเศษและส่วน แล้วขจัดตัวประกอบที่ทำให้ส่วนเป็นศูนย์ออก หลังจากนั้นก็เอาค่า a ไปแทน x ถ้าผลที่ได้เป็นจำนวนจริง ค่านั้น ” คือค่าลิมิต “
ตัวอย่างการหาลิมิตของฟังก์ชัน
ตัวอย่าง กำหนดให้ f(x = 2x – 3 จงหาค่าของ (2x-3)
(2x-3) = (4-3) = 1
ตัวอย่าง กำหนด f(x) = จงหาค่าของ f(x) f(x) = [ ]
= ( x + 3 ) = 3 + 3 = 6
2. ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน
ในทางคณิตศาสตร์ตรวจสอบว่า f จะต่อเนื่องที่ x = a หรือไม่นั้น ต้องตรวจสอบจากคุณสมบัติ 3 ข้อต่อไปนี้
1. F(a) หาค่าได้
การหาอนุพันธ์และอนุพันธ์
การหาอนุพันธ์ เป็นการคำนวณเพื่อที่จะได้มาซึ่งอนุพันธ์ อนุพันธ์ของฟังก์ชัน y = f(x) ของตัวแปร x คืออัตราที่ค่า y ของฟังก์ชันเปลี่ยนแปลงไปต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร x เรียกว่า อนุพันธ์ของ f เทียบกับ x ถ้า x และ y จำนวนจริง และถ้ากราฟของฟังก์ชัน f ลงจุดเทียบกับ x อนุพันธ์ก็คือความชันของเส้นกราฟในแต่ละจุด
กรณีที่ง่ายที่สุด นอกเหนือจากกรณีของฟังก์ชันคงตัว คือเมื่อ y เป็นฟังก์เชิงเส้นของ x ซึ่งหมายถึงกราฟของ y จะเป็นเส้นตรง ในกรณีนี้ y = f(x) = m x + b สำหรับจำนวนจริง m และ b และความชัน m ซึ่งกำหนดโดยการเปลี่ยนแปลงของ y หารด้วยการเปลี่ยนแปลงของ x ดังสมการ
เมื่อสัญลักษณ์ Δ (เดวตา) แทนคำว่า “การเปลี่ยนแปลง” สูตรนี้เป็นจริง เพราะว่า
y+Δy=f(x+Δx)=m(x+Δx)+b=mx+mΔx+b=y+mΔx
เพราะฉะนั้น จะได้
y+Δy=y+mΔx
ทำให้ได้
Δy=mΔx
- ซึ่ง m เป็นค่าที่ถูกต้องของความชันของเส้นกราฟ ถ้าฟังก์ชัน f ไม่เป็นฟังก์ชันเชิงเส้น (กล่าวคือ กราฟของมันไม่เป็นเส้นตรง) แล้วการเปลี่ยนแปลงของ y หารด้วยการเปลี่ยนแปลงของ x จะมีค่าแตกต่างกันออกไป การหาอนุพันธ์จึงเป็นวิธีการที่จะหาค่าที่ถูกต้องของอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ค่าตัวแปรต้น x ใด ๆ
-
อัตราส่วนเชิงผลต่าง
อนุพันธ์ของฟังก์ชัน f ที่ x ในเชิงเรขาคณิต คือ ความชันของเส้นสัมผัสของกราฟ fที่ x เราไม่สามารถหาความชันของเส้นสัมผัสจากฟังก์ชันที่กำหนดให้โดยตรงได้ เพราะว่าเรารู้เพียงจุดบนเส้นสัมผัส ซึ่งก็คือ (x, f (x)) เท่านั้น ในทางอื่น เราจะประมาณความชันของเส้นสัมผัสด้วยเส้นตัด (secant line) หลาย ๆ เส้น ที่มีจุดตัดทั้ง 2 จุดอยู่ห่างกันเป็นระยะทางสั้น ๆ เมื่อหาลิมิตของความชันของเส้นตัดที่จุดตัดอยู่ใกล้กันมาก ๆ เราจะได้ความชันของเส้นสัมผัส ดังนั้น อาจนิยามอนุพันธ์ว่าคือ ลิมิตของความชันของเส้นตัดที่เข้าใกล้เส้นสัมผัส
เพื่อหาความชันของเส้นตัดที่จุดตัดอยู่ใกล้กันมาก ๆ ให้ h เป็นจำนวนที่มีค่าน้อย ๆ hจะแทนการเปลี่ยนแปลงน้อย ๆ ใน x ซึ่งจะเป็นจำนวนบวกหรือลบก็ได้ ดังนั้น ความชันของเส้นที่ลากผ่านจุด (x,f (x) ) และ (x+h,f (x+h) ) คือ
ซึ่งนิพจน์นี้ก็คือ อัตราส่วนเชิงผลต่างของนิวตัน (Newton’s difference quotient) อนุพันธ์ของ f ที่ x คือ ลิมิตของค่าของผลหารเชิงผลต่าง ของเส้นตัดที่เข้าใกล้กันมาก ๆ จนเป็นเส้นสัมผัส: