บทที่ 2 การเคลื่อนที่ใน 1 มิติ
การเคลื่อนที่ใน 1 มิติ
เมื่อวัตถุเกิดการเคลื่อนที่ จะมีปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ ได้แก่ ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว ความเร็ว อัตราเร่ง และความเร่ง
1. ระยะทาง คือ ระยะทางหรือความยาวที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด ใช้สัญลักษณ์ตัว S เป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็น เมตร ( m )
2. การกระจัด คือ เส้นตรงที่ลากจากจุดเริ่มต้นไปหาจุดสุดท้าย ใช้สัญลักษณ์ตัว S เป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็น เมตร ( m )
3. ความเร็ว คือ การกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา ใช้สัญลักษณ์ตัว V เป็นปริมาณเวกเตอร์ เพราะเราหาได้จากปริมาณ
เวกเตอร์ เพราะฉะนั้นความเร็วต้องเป็นปริมาณเวกเตอร์ด้วย มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที ( m / s )
จากสูตร ΔV = ΔS / Δt
V = S / t = การกระจัด / เวลา
กำหนดให้ V คือ ความเร็ว หน่วย เมตร/วินาที ( m/s )
S คือ การกระจัด หน่วย เมตร ( m )
t คือ เวลา หน่วย วินาที ( s )
หน่วย เมตร/วินาที ( m / s )
4. อัตราเร็ว คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา ใช้สัญลักษณ์ตัว V เป็นปริมาณสเกลาร์ เพราะเราหาได้จาก
ปริมาณสเกลาร์ เพราะฉะนั้น อัตราเร็วจึงต้องเป็นปริมาณสเกลาร์ด้วย มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที ( m / s )
จากสูตร ΔV = ΔS / Δt
V = S / t = ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปทั้งหมด / เวลา
กำหนดให้ V คือ อัตราเร็ว หน่วย เมตร/วินาที ( m/s )
S คือ ระยะทาง หน่วย เมตร ( m )
t คือ เวลา หน่วย วินาที ( s )
หน่วย เมตร/วินาที ( m / s )
5. ความเร่ง คือ ความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไปของวัตถุในหนึ่งหน่วยเวลา ใช้สัญลักษณ์ตัว a เป็นปริมาณเวกเตอร์
มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที2 ( m / s2 )
จากสูตร Δa = ΔV / Δt = ความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไป / เวลา
a = v2 – v1 / t2– t1
หรือ a = v – u / t
กำหนดให้ a คือ ความเร่ง หน่วย เมตร/วินาที2 ( m / s2 )
u คือ ความเร็วเริ่มต้น หน่วย เมตร / วินาที ( m /s )
v คือ ความเร็วสุดท้าย หน่วย เมตร/วินาที ( m /s )
t คือ เวลา หน่วย วินาที ( s )
หน่วย เมตร/ วินาที2 ( m / s2 )
การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง
1. วัตถุหยุดนิ่ง หมายถึง เวลาเปลี่ยนไปแต่ระยะทางของวัตถุไม่มีการเปลี่ยนแปลง
2. ความเร็วคงที่ คือ ขนาดความร็วของวัตถุไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุไม่เปลี่ยนทิศทาง วัตถุไม่มีความเร่ง
3. วัตถุมีความเร่ง มี 3 ลักษณะ
– อัตราเร็วของวัตถุคงที่ แต่วัตถุเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่
– อัตราเร็วของวัตถุเปลี่ยน แต่วัตถุมีทิศทางคงเดิม
– อัตราร็วของวัตถุเปลี่ยน และวัตถุเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่
4. ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ไม่เป็นทางตรง วัตถุจะมีความเร่งเสมอ ไม่ว่าวัตถุจะเคลื่อนด้วยความเร็วคงที่ หรืออัตราเร็วลดลง หรืออตัราเร็วเพิ่มขึ้น
5. ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เป็นทางตรง ด้วยอัตราเร็วเพิ่มขึ้นวัตถุจะมีความเร่ง และวัตถุจะเกิดความหน่วงก็ต่อเมื่อเคลื่อนที่ทางตรงเท่านั้น และอัตราร็วลดลง
6. ความหน่วง คือ ความเร่งที่มีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ ความหน่วงจึงมีเครื่องหมายเป็นลบเสมอ
สูตรการเคลื่อนที่แนวตรง
การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลก
การเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกอย่างอิสระภายใต้แรงดึงดูดของโลก จะต้องเป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ไม่มีเครื่องยนต์กลไกบังคับ เช่น ผลไม้หล่นจากต้น ดินสอหล่นลงมาจากห้องเรียน มีเครื่องยนต์กลไกบังคับ เช่น จะเคลื่อนที่ไปด้วยความเร่ง ซึ่งค่าความเร่งของการเคลื่อนที่เป็นค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก สัญลักษณ์ที่ใช้ คือ g มีค่าเท่ากับ 9.8 เมตร / วินาที2
สตูรการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลก