การพัฒนาตนเป็น กระบวนการของ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเอง ให้ไปสู่ภาวะที่ ดีกว่าและ เป็นที่ต้องการ มากกว่า
แต่กระบวนการ ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งนี้เพราะพฤติกรรมมนุษย์นั้นซับซ้อน มีองค์ประกอบ และปัจจัย เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็น ที่ผู้ศึกษา จะต้องทำความรู้จักสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเพื่อที่จะได้จัดการ ให้มีอิทธิพล เชิงบวก หรือหลีกเลี่ยง หากมีอิทธิพลเชิงลบต่อ การพัฒนาตนเอง การศึกษาปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม จะช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมมนุษย์ ได้ดียิ่งขึ้น ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม ประกอบด้วย ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ 1. พันธุกรรม 2. การทำงานของระบบในร่างกาย 3. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) 4. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา 1. แรงจูงใจ 2. การเรียนรู้ ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมวิทยา 1. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม 2. กระบวนการสังคมประกิต 3. อิทธิพลของกลุ่ม พฤติกรรมมนุษย์ ความหมายของพฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรม (Behavior) คือ กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวที่สังเกตได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus) สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ สิ่งเร้าที่เกิดจากความต้องการทางกายภาพ เช่น ความหิว ความกระหาย สิ่งเร้าภายในนี้จะมีอิทธิพลสูงสุดในการกระตุ้นเด็กให้แสดงพฤติกรรม และเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นในสังคม สิ่งเร้าใจภายในจะลดความสำคัญลง สิ่งเร้าภายนอกทางสังคมที่เด็กได้รับรู้ในสังคมจะมีอิทธิพลมากกว่าในการกำหนดว่าบุคคลควรจะแสดงพฤติกรรมอย่างใดต่อผู้อื่น สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง ๕ คือ หู ตา คอ จมูก การสัมผัส สิ่งเร้าที่มีอิทธิพลที่จะจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ได้แก่ สิ่งเร้าที่ทำให้บุคคล เกิดความพึงพอใจที่เรียกการพัฒนาตนเป็น กระบวนการของ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเอง ให้ไปสู่ภาวะที่ ดีกว่าและ เป็นที่ต้องการ มากกว่า แต่กระบวนการ ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งนี้เพราะพฤติกรรมมนุษย์นั้นซับซ้อน มีองค์ประกอบ และปัจจัย เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็น ที่ผู้ศึกษา จะต้องทำความรู้จักสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเพื่อที่จะได้จัดการ ให้มีอิทธิพล เชิงบวก หรือหลีกเลี่ยง หากมีอิทธิพลเชิงลบต่อ การพัฒนาตนเอง การศึกษาปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม จะช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมมนุษย์ ได้ดียิ่งขึ้น ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม ประกอบด้วย ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
1. พันธุกรรม
2. การทำงานของระบบในร่างกาย
3. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
4. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา 1. แรงจูงใจ 2. การเรียนรู้ ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมวิทยา 1. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม 2. กระบวนการสังคมประกิต 3. อิทธิพลของกลุ่ม
พฤติกรรมมนุษย์ ความหมายของพฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรม (Behavior) คือ กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวที่สังเกตได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus) สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ สิ่งเร้าที่เกิดจากความต้องการทางกายภาพ เช่น ความหิว ความกระหาย สิ่งเร้าภายในนี้จะมีอิทธิพลสูงสุดในการกระตุ้นเด็กให้แสดงพฤติกรรม และเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นในสังคม สิ่งเร้าใจภายในจะลดความสำคัญลง สิ่งเร้าภายนอกทางสังคมที่เด็กได้รับรู้ในสังคมจะมีอิทธิพลมากกว่าในการกำหนดว่าบุคคลควรจะแสดงพฤติกรรมอย่างใดต่อผู้อื่น สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง ๕ คือ หู ตา คอ จมูก การสัมผัส สิ่งเร้าที่มีอิทธิพลที่จะจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ได้แก่ สิ่งเร้าที่ทำให้บุคคล เกิดความพึงพอใจที่เรียกว่า การเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่พอใจทำให้บุคคลมีการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น เช่น คำชมเชย การยอมรับของเพื่อน ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) คือ สิ่งเร้าที่ไม่พอใจหรือไม่พึงปรารถนานำมาใช้เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาให้น้อยลง เช่น การลงโทษเด็กเมื่อลักขโมย การปรับเงินเมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น มนุษย์โดยทั่วไปจะพึงพอใจกับการได้รับการเสริมแรงทางบวกมากกว่าการเสริมแรงทางลบ วิธีการเสริมแรงทางบวก กระทำได้ดังนี้
๑. การให้อาหาร น้ำ เครื่องยังชีพ เป็นต้น
๒. การให้แรงเสริมทางสังคม เช่น การยอมรับ การยกย่อง การชมเชย ฯลฯ
๓. การให้รางวัล คะแนน แต้ม ดาว เป็นต้น
๔. การให้ข้อมูลย้อนกลับ ( Information Feedback ) เช่น การรับแจ้งว่าพฤติกรรมที่กระทำนั้น ๆ เหมาะสม
๕. การใช้พฤติกรรมที่ชอบกระทำมากที่สุดมาเสริมแรงพฤติกรรมที่ชอบกระทำน้อยที่สุดเป็นการวางเงื่อนไข เช่น เมื่อทำการบ้านเสร็จแล้วจึงอนุญาตให้ดูทีวี เป็นต้น องค์ประกอบพื้นฐานของพฤติกรรม ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมวิทยา แรงจูงใจ (Motivation) การรับรู้ (Perception) การเรียนรู้ เจตคติและความคิดรวบยอด ( Attitude and Concept ) การตัดสินใจ (Decision Making)
พฤติกรรม (Behavior) ::
หมายถึง กิริยาอาการที่แสดงออกทุกรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นทั้งภายในและ สิ่งเร้าภายนอก เป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น สามารถ สังเกตเห็นได้จากภายนอกโดยรูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
** การศึกษาพฤติกรรมแบ่งออกเป็น 2 สาขาคือ Ethology และ Behavioral Ecology**
พฤติกรรมจำแนกออกเป็น2 ประเภทคือ
1.พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Innate behavior)แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิด เป็นพฤติกรรมที่ได้มาจากกรรมพันธุ์ สัตว์สามารถแสดงออกได้โดยไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน มีแบบแผนเดียวกัน (Stereotyped) ไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนโดยการเรียนรู้ มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสปีชีส์ (Species-specific) พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ
(1) Kinesis เป็นการเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้าโดยมีทิศทางไม่แน่นอน
(2) Taxis เป็นการเคลื่อนเข้าหาหรือออกจากสิ่งเร้าโดยมีทิศทางแน่นอน
(3) พฤติกรรมที่มีแบบแผนแน่นอน (Fixed action pattern หรือ FAP) เมื่อสัตว์ถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้าจากภายนอกที่เรียกว่า Sign stimulus (releaser) จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่มีแบบแผนแน่นอน
2. พฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning behavior)สามารถปรับเปลี่ยนได้อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ ไม่ใช่เกิดจากการที่สัตว์มีอายุมากขึ้น (Maturation) พฤติกรรมการเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากทั้งยีนและสิ่งแวดล้อม จำแนกเป็น 6 ประเภทดังนี้
(1) พฤติกรรมความเคยชิน (Habituation) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการที่สัตว์หยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ซ้ำๆกัน เนื่องจากไม่ได้รับการตอบแทนที่เหมาะสม
(2) พฤติกรรมการฝังใจ (Imprinting) เป็นพฤติกรรมที่ถูกกำหนดมาแล้วโดยยีน จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต (Critical period) และมีลักษณะเป็น Irreversible learning สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการฝังใจเรียกว่า Imprinting stimulus จากการศึกษาของนักชีววิทยาชาวเยอรมันชื่อ Konrad Lorenz พบว่าลูกห่านที่ฟักออกจากไข่จะเดินตามแม่ของมัน
(3) การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Classical conditioning) หมายถึงการที่สัตว์เรียนรู้ที่จะนำสิ่งเร้าใหม่เข้าไปทดแทนสิ่งเร้าเดิมในการกระตุ้นให้สัตว์เกิดการตอบสนองตามธรรมชาติ (Unconditioned response) สิ่งเร้าเดิมซึ่งปรกติกระตุ้นให้สัตว์เกิดการตอบสนองเรียกว่าสิ่งเร้าที่ไม่เป็นเงื่อนไข (Unconditioned stimulus) ส่วนสิ่งเร้าใหม่ซึ่งปรกติไม่กระตุ้นให้สัตว์แสดงการตอบสนองนี้เรียกว่าสิ่งเร้าที่เป็นเงื่อนไข (Conditioned stimulus)
(4) การลองผิดลองถูก (Operant conditioning หรือ Trial and error) หมายถึงการที่สัตว์เรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงพฤติกรรมหนึ่งกับการได้รางวัลหรือการถูกลงโทษ เมื่อได้รางวัลสัตว์ก็จะแสดงพฤติกรรมนั้นซํ้า แต่เมื่อถูกลงโทษสัตว์ก็จะหลีกเลี่ยงที่จะแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
(5) การลอกเลียนแบบ (Observational learning) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการที่สัตว์ดูพฤติกรรมของสัตว์อื่นและเรียนรู้ข้อมูลสำคัญบางอย่างแล้วทำตาม
(6) การรู้จักใช้เหตุผล (Insight learning หรือ reasoning) หมายถึง การที่สัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมได้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรกถึงแม้ว่าสัตว์นี้จะไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
(7) การใช้ความคิดประมวลข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ (Cognition) การคิดประมวลข้อมูลเป็น ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และเป็นส่วนสำคัญในการแสดงออกของพฤติกรรม
กลไกการเกิดพฤติกรรม
พฤติกรรม ของสิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นกับ
1. มูลเหตุจูงใจ (Motivation) ::พลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรม คนที่มีแรงจูงใจสูง จะใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละ แต่คนที่มีแรงจูงใจต่ำ จะไม่แสดงพฤติกรรม หรือไม่ก็ล้มเลิก การกระทำ ก่อนบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างของมูลเหตุจูงใจเช่น ลักษณะนิสัย อันได้แก่ความชอบ หรือไม่ชอบ สิ่งหนึ่งสิ่งใด หรืออาจเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก เป็นต้น อย่างไรก็ตามมูลเหตุจูงใจอาจเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นผลมาจาก สิ่งเร้าภายในร่วมด้วย
2. สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น (Stimulus) :: สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้น มี 2 ประเภท คือ
2.1 สิ่งเร้าภายนอก (external stimuli) :: เป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกร่างกายที่ประสาทสัมผัสทั้ง ห้า
(ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวหนัง) สามารถสัมผัส และรับรู้ได้
2.2 สิ่งเร้าภายใน (internal stimuli) :: เป็นความพร้อมภายในร่างกายก่อนที่จะแสดงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก กลไกการทำงานภายในของร่างกาย เช่น ความหิวกระหาย การขับถ่าย ความต้องการทางเพศ
ที่มา http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/ และ
https://www.kroobannok.com/2172