กำเนิดเกมลูกหนังโลก
หาก จะพูดถึงกีฬาฟุตบอล หลายคนอาจจะรู้ดีว่าเป็นกีฬาที่คนทั่วโลกนิยมชมชอบกันมากที่สุด แต่ถ้าจะมองย้อนกลับไป คงจะมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่า จริงๆ แล้ว ต้นกำเนิดของฟุตบอลไม่ได้เริ่มขึ้น เพียงแค่ 100 -200 ปีที่ผ่านมา
จริงๆ แล้ว ฟุตบอลเริ่มแพร่หลายและนิยมเล่นกันมากว่า 2,000 ปีมาแล้ว โดยแรกเริ่มมีการค้นพบ ว่าในราชวงศ์ ฮั่น ของจีน ช่วง 200 -300 ปีก่อนคริสตกาล มีการเล่นฟุตบอลกันแล้ว แต่ในครั้งนั้น ขุนนาง รวมทั้งประชาชนทั้งหลายจะนิยมเล่นกันเพื่อเป็นการออกกำลังกาย เสริมสร้างความแข็งแกร่ง โชว์ทักษะความสามารถเฉพาะตัว ไม่มีการเข้าปะทะกัน โดยมีการนำขนนกมาเย็บติดกับหนังสัตว์ แล้วใช้เท้าเตะบอลขนนกนี้ให้สูง 30 -40 เซนติเมตร ข้ามไม้ไผ่ที่คั่นกลางระหว่างผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ใครสามารถทำให้อีกฝ่ายรับบอลขนนกไม่ได้ ก็จะเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งการเล่นแบบนี้ ต้องอาศัยคนที่มี ทักษะ ปฏิภาณ – ไหวพริบที่ยอดเยี่ยม เนื่องจากไม่อนุญาตให้ใช้มือตีบอลขนนก แต่จะอนุญาตให้ใช้ ไหล่, หน้าอก, เข่า,เท้า และ ศีรษะ เดาะหรือเตะเจ้าบอลขนนกเท่านั้น
จากนั้นอีก 500 – 600 ปีต่อมา ที่ประเทศญี่ปุ่นจึงมีการเล่น ที่เรียกว่า
“คามารี่” และมีการพัฒนาการนำหนังสัตว์มาทำเป็นลูกบอล แต่ว่าทำให้มันกลมขึ้น แตก ต่างจากสมัยราชวงศ์ ฮั่น มีการเล่นที่เป็นแบบแผนและสง่างามมากขึ้น แม้แต่ในราชสำนักยังนิยมเล่นกันในงานราชพิธีต่างๆ ซึ่งวิธีการเล่นก็ง่ายๆ โดยมีข้อแม้ ห้ามใช้แขน แต่ให้ใช้เท้า, ขา, หน้าอก, เข่า รวมทั้งศีรษะ เดาะบอล ภายในเขตกำหนด แล้วส่งบอลต่อไปให้ผู้เล่นคนอื่น ใครที่ทำบอลหล่นตกลงสู่พื้นถือว่าแพ้ เกมนี้เป็นที่นิยมกันมาก จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีผู้ที่นิยมเล่นกันในประเทศญี่ปุ่น
ส่วนในทวีปยุโรป กีฟาฟุตบอลที่ว่านี้ ก็เริ่มนิยมเล่นกันตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน โบราณ โดย กรีก จะเรียกว่า “อีปิสกายรอส” ขณะที่ โรมัน จะเรียกว่า “ฮาร์ปุสตัม” ซึ่งการเล่นจะแบ่งเป็น 2 ฝ่ายในพื้นที่สี่เหลี่ยม มีเส้นแบ่งกึ่งกลางสนามและเส้นเขตแดน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพยายามแย่งลูกฟุตบอลเล็กๆ แล้วใช้มือส่งบอล พาไปยังเขตแดนฝั่งตรงข้ามจนทำประตูให้ได้ ซึ่งการเล่น”อีปิสกายรอส” หรือ “ฮาร์ปุสตัม” ค่อนข้างจะไม่มีกฏเกณฑ์อะไรมาก สามารถเข้าไปอัด, กระแทก หรือ ชก คู่ต่อสู้ที่ถือบอล เพื่อพยายามแย่งบอลมาให้ได้ ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย
สำหรับกีฬาฟุตบอลสมัยใหม่ ที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างคล้ายกับในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18-19 ที่ประเทศอังกฤษ จนในปี 1846 สมัยสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จึงเริ่มกำหนดกฏข้อบังคับ เรียกว่า “กติกาเคมบริดจ์” มี การแบ่งคู่แข่งออกเป็น 2 ทีม อนุญาตให้ใช้ทุกสรีระของร่างกายเล่นฟุตบอลได้ ยกเว้นมือเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งได้รับ ความนิยมอย่างสูงแพร่หลายไปทั่วโลก และจากความนิยมนี้เอง ในปี 1902 เคานต์ ฟาน เดอ สเตร์ต็อง ปูตัว จึงได้ปรึกษา หารือกับ คอร์เรเลียส เฮิร์ชมันน์ นายธนาคารชาวดัตช์ เพื่ออยากจะจัดเกมการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้น เพื่อพิสูจน์ว่าชาติใดมี ลีลาการเล่นที่เป็น 1 ในโลก
แต่หลังจากที่ เคานต์ ฟาน เดอ สเตร์ต็อง ปูตัว กับ คอร์เรเลียส เฮิร์ชมันน์ ได้ส่งเรื่องนี้ไปให้ เฟรเดริค วอลล์ เลขาธิการสมาคมฟุตบอลของ อังกฤษ พิจารณาเพื่อขอความร่วมมือ ทว่าความคิดนี้ก็ต้องล้มเลิกลง เพราะ วอลล์ ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามในปี 1904 ก็นับว่าโชคยังดีที่องค์กรลูกหนังที่ยิ่งใหญ่ของ โลก อย่างสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) สามารถก่อตั้งขึ้นได้ โดยมี โรแบร์ กูริน เป็นประธานคน แรก จุดมุ่งหมายก็เพื่อ อยากจะจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกให้ได้
และความพยายามของฟีฟ่าก็ต้องรอเกือบ 30 ปีกว่าจะ ประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ เมื่อ จูลส์ ริเมต์ ประธาน ฟีฟ่าชาวฝรั่งเศส ซึ่งรับตำแหน่งเป็นคนที่ 3 ในปี 1921 ได้ร่วมมือกับ อองรี เดอ โลเนย์ ประธานลูกหนังของเมืองน้ำหอม ผลักดันให้มี การลงมติชนะ 25 เสียง ต่อ 5 ให้ประเทศอุรุกวัยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก เป็นครั้งแรก แม้จะมีการคัดค้านจากหลายชาติในทวีปยุโรป ที่เห็นว่าการเดินทางไปทวีปอเมริกาใต้ค่อนข้างใช้ระยะเวลานาน รวมทั้งต้องเสียค่า ใช้จ่ายอย่างมหาศาลก็ตาม ฟุตบอล โลกจึงได้ถือกำเนิดเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอุรุกวัย ในปี 1930 ด้วยข้ออ้างที่ว่า อุรุกวัย เป็นเจ้าของแชมป์ในกีฬา โอลิมปิกเกมส์ 2 สมัย และยังสามารถออกค่าใช้จ่ายให้กับทุกทีมที่เดินทางมาแข่งขันได้ ทำให้กีฬาลูกหนังที่มีอายุยืนยาวมานานหลายพันปีอุบัติขึ้นอย่างเป็นทางการ ให้ทุกชาติทั่วโลกต่างไขว่คว้าหาความสำเร็จตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา
ประวัติกีฬาฟุตบอล ทั้ง ประวัติฟุตบอลไทย ประวัติกีฬาฟุตบอลโลก และกติกาการเล่นฟุตบอล
นับได้ว่า ฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีคนสนใจอยู่ทั่วมุมโลก เห็นได้จากเวลาที่มีการแข่งขันรายการใหญ่อย่างฟุตบอลโลก หรือฟุตบอลยูโร ก็จะมีบริษัทต่าง ๆ ผลิตสินค้าเกี่ยวกับการแข่งขันออกมาขายตอบสนองความต้องการของแฟนบอลในตลาดเสมอ เช่น แก้วฟุตบอลโลก เสื้อแข่ง เป็นต้น จึงเป็นหลักฐานชี้ชัดว่า กีฬาชนิดนี้ ได้รับความนิยมไปทั่วโลกจริง ๆ โดยเฉพาะประเทศไทย ที่ประชาชนสนใจกีฬาฟุตบอลเป็นอันดับ 1 อยู่แล้ว ดังนั้น เราจะมาทำความรู้จักกับกีฬาฟุตบอลกัน เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดอรรถรสในการรับชมการแข่งขันยิ่งขึ้น
ประวัติกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย
กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ “เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)” หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆว่า “ครูเทพ” ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น “เพลงอมตะ” และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2454-2458 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการครั้งแรก เมื่อท่านได้นำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศไทยได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย โดยหลายคนกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อน เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่า และเป็นเกมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นและผู้ชมได้ง่าย ซึ่งข้อวิจารณ์ดังกล่าวถ้ามองอย่างผิวเผินอาจคล้อยตามได้ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ได้ค่อยหมดไปจนกระทั่งกลายเป็น กีฬายอดนิยมที่สุดของประชาชนชาวไทยและชาวโลกทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีวิวัฒนาการดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้
พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จนิวัติพระนคร กีฬาฟุตบอลได้รับความสนใจมากขึ้นจากบรรดาข้าราชการบรรดาครูอาจารย์ ตลอดจนชาวอังกฤษในประเทศไทยและผู้สนใจชาวไทยจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ กอร์ปกับครูเทพท่านได้เพียรพยายามปลูกฝังการเล่นฟุตบอลในโรงเรียนอย่างจริงจังและแพร่หลายมากในโอกาสต่อมา
พ.ศ. 2443 (รศ. 119) การแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของไทยได้เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (รศ. 119) ณ สนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกายและประกอบงานพิธีต่างๆการแข่งขันฟุตบอลคู่ประวัติศาสตร์ของไทย ระหว่าง “ชุดบางกอก” กับ “ชุดกรมศึกษาธิการ” จากกระทรวงธรรมการหรือเรียกชื่อการแข่งขันครั้งนี้ว่า “การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น” เพราะสมัยก่อนเรียกว่า “แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล” (ASSOCIATIONS FOOTBALL) สมัยปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า “การแข่งขันฟุตบอลของสมาคม” หรือ “ฟุตบอลสมาคม” ผลการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษดังกล่าวปรากฏว่า “ชุดกรมศึกษาธิการ” เสมอกับ “ชุดบางกอก” 2-2 (ครึ่งแรก 1-0) ต่อมาครูเทพท่านได้วางแผนการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอย่างเป็นทางการพร้อมแปลกติกาฟุตบอลแบบสากลมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งนี้ด้วย
พ.ศ. 2444 (รศ. 120) หนังสือวิทยาจารย์ เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรื่องกติกาการแข่งขันฟุตบอลสากลและการแข่งขันอย่างเป็นแบบแผนสากล
การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกของประเทศไทยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2444 นี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียนชายอายุไม่เกิน 20 ปี ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบน็อกเอาต์ หรือแบบแพ้คัดออก (KNOCKOUT OR ELIMINATIONS) ภายใต้การดำเนินการจัดการแข่งขันของ “กรมศึกษาธิการ” สำหรับทีมชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จะได้รับโล่รางวัลเป็นกรรมสิทธิ์
พ.ศ. 2448 (รศ. 124) เดือนพฤศจิกายน สามัคยาจารย์ สมาคม ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นการแข่งขันฟุตบอลของบรรดาครูและสมาชิกครู โดยใช้ชื่อว่า “ฟุตบอลสามัคยาจารย์”
พ.ศ. 2450-2452 (รศ. 126-128) ผู้ตัดสินฟุตบอลชาวอังชื่อ “มร.อี.เอส.สมิธ” อดีตนักฟุตบอลอาชีพได้มาทำการตัดสินในประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี ทำให้คนไทยโดยเฉพาะครู-อาจารย์ และผู้สนใจได้เรียนรู้กติกาและสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก
พ.ศ. 2451 (รศ. 127) มีการจัดการแข่งขัน “เตะฟุตบอลไกล” ครั้งแรก
พ.ศ. 2452 (รศ. 128) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2452 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยในยุคนั้น ซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน “แบบพบกันหมด” (ROUND ROBIN) แทนวิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออกสำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบของแคนาดา (CANADIAN SYSTEM) คือ ชนะ 2 คะแนน เสมอ 1คะแนน แพ้ 0 คะแนน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างยิ่งถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเอง และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์เองชื่อทีม “เสือป่า” และได้เสด็จพระราช ดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นพระราชกิจวัตรเสมอมา โดยเฉพาะมวยไทยพระองค์ทรงเคย ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า “พระเจ้าเสือป่า” พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก จนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่วไปจนตราบเท่าทุกวันนี้
จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอลนับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริงอีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และบทความต่างๆทางด้านฟุตบอลดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้
พ.ศ. 2457 (รศ. 133) พระยาโอวาทวรกิจ” (แหมผลพันชิน) หรือนามปากกา “ครูทอง” ได้เขียนบทความกีฬา “เรื่องจรรยาของผู้เล่นและผู้ดูฟุตบอล” และ “คุณพระวรเวทย์ พิสิฐ” (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ได้เขียนบทความกีฬา “เรื่องการเล่นฟุตบอล” และ “พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน” (อู๋ พรรธนะแพทย์) ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง “เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล”
พ.ศ. 2458 (รศ. 134) ประชาชนชาวไทยสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก กรมศึกษาธิการได้พัฒนาวิธีการเล่น วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน กติกาฟุตบอลที่สากลยอมรับ ตลอดจนระเบียบการแข่งขันที่รัดกุมยิ่งขึ้น และผู้ใหญ่ในวงการให้ความสนใจอย่างแท้จริงนับตั้งแต่พระองค์รัชกาลที่ 6 เองลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงสามัญชน และชาวต่างชาติ และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรกเป็นการชิงถ้วยพระราชทานและเรียกชื่อการแข่งขันฟุตบอลประเภทนี้ว่า “การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง” การแข่งขันฟุตบอลสโมสรนี้เป็นการแข่งขันระหว่าง ทหาร-ตำรวจ-เสือป่า ซึ่งผู้เล่นจะต้องมีอายุเกินกว่าระดับทีมนักเรียน นับว่าเป็นการเพิ่มประเภทการแข่งขันฟุตบอล
สนามแข่งขัน
สนามฟุตบอล ไม่ได้มีการกำหนดขนาดไว้แบบตรง ๆ เนื่องจากในพื้นที่แต่ละสนาม อาจมีพื้นที่ไม่เท่ากัน แต่ได้มีการกำหนดด้านยาว กว้างประมาณ 100-130 หลา ส่วนด้านกว้าง กว้างประมาณ 50-100 หลา โดยแบ่งเขตแดนออกเป็น 2 ฝั่ง อย่างละเท่า ๆ กัน มี ประตูขนาดกว้าง 8 หลา สูง 8 ฟุต มีเขตโทษ ซึ่งนับห่างจากโกล ห่าง 18 หลา ส่วนพื้นสนามฟุตบอล ใช้หญ้าแท้หรือหญ้าเทียมก็ได้
ลูกฟุตบอล
ลูกฟุตบอลมีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเส้นรอบวงไม่เกิน 27-28 นิ้ว และหนัก 400-450 กรัม
ผู้เล่น
มีจำนวนฝั่งละ 11 คน โดยที่เป็นผู้รักษาประตู 1 คน มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ฝั่งตรงข้ามยิงประตูได้
วิธีการเล่น
ผู้เล่นจะใช้เท้าเล่นเป็นหลัก โดยสามารถใช้อวัยวะส่วนอื่นที่ไม่ใช่แขนและมือ ในการเล่นได้ด้วย โดยมีเป้าหมายคือ การทำประตูฝ่ายตรงข้ามให้ได้
กติกา
เวลาในการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาที โดยทั้ง 2 ฝั่งมีหน้าที่ยิงประตูฝั่งตรงข้ามให้ได้มากกว่า ทั้งนี้ หากเสมอกันในการแข่งขันฟุตบอลรายการแพ้คัดออก จะต่อเวลาเพิ่มอีกครึ่งละ 15 นาที รวม 2 ครึ่ง 30 นาทีด้วยกัน และถ้าหากยังตัดสินผู้ชนะไม่ได้ ก็จะดวลจุดโทษตัดสินฝั่งละ 5 ลูก ซึ่งถ้าหากตัดสินไม่ได้อีก ก็จะยิงทีละ 1 ต่อ 1 คือ หากใครยิงพลาด และอีกฝ่ายยิงได้ ก็เกมจบทันที อย่างไรก็ตาม เมื่อยิงครบ 11 คนแล้วตัดสินผู้ชนะไม่ได้ ก็จะวนกลับมายิงใหม่ที่คนแรก ไปเรื่อย ๆ
การผิดกติกา ก็มี การที่ไม่ใช่ผู้รักษาประตูแล้วใช้มือเล่น หรือ การพยายามขัดขวางการเล่นของฝั่งตรงข้าม เช่น ชน กระแทก ผู้เล่นที่มีบอล ก็คือว่าเป็นการฟาล์ว และฝ่ายที่ถูกทำฟาล์ว ก็จะได้ลูกตั้งเตะ แต่ถ้าฝ่ายบุกถูกทำฟาล์วในเขตโทษของฝ่ายรับ ก็จะเป็นลูกจุดโทษ ที่ฝ่ายบุกจะได้โอกาสยิงแบบ 1 ต่อ 1 กับผู้รักษาประตูฝ่ายรับ
กรณีที่ฟุตบอลออกข้าง ฝ่ายที่ไม่ได้ทำให้ออกข้างจะเป็นฝ่ายได้ทุ่ม ส่วนกรณีบอลออกหลัง ถ้าเป็นฝ่ายเจ้าของแดนทำออกหลังเอง ฝ่ายที่เดินหน้าบุก จะได้เตะมุมเข้ามา แต่ถ้าเป็นฝ่ายบุกที่ทำออก จะเป็นลูกตั้งเตะจากประตู
ใบเหลือง-ใบแดง จะแจกก็ต่อเมื่อมีผู้เล่นที่ทำผิดกติกา ในลักษณะที่รุนแรง หรือ การถ่วงเวลา ผู้ตัดสินก็จะให้ใบเหลืองแก่คนที่ผิดกติกา ส่วนใบแดง ผู้ตัดสินจะให้ก็ต่อเมื่อ มีการทำฟาล์วที่รุนแรงมาก เช่น ทำให้ได้รับบาดเจ็บหนัก หรือ เล่นอันตรายอย่างการเปิดปุ่มสตั๊ดไปที่ขาของฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น นอกจากนี้ การได้ใบแดง จะมีอีกกรณีหนึ่งคือ การทำฟาล์วแบบไม่รุนแรง แต่ฟาล์วขณะที่ฝั่งตรงข้ามกำลังจะทำประตูได้ ก็ได้รับใบแดงเช่นกัน
การล้ำหน้า คือ การจ่ายบอลไปยังผู้เล่นที่ยืนอยู่สูงกว่าผู้เล่นฝั่งตรงข้ามในลำดับรองสุดท้าย
การคิดคะแนน
นับจากจำนวนลูกฟุตบอลที่ผ่านเส้นประตูเข้าไปอย่างเต็มใบ ภายในเวลาที่กำหนดในการแข่งขัน (90 นาที)
และนี่ก็คือกติกาเบื้องต้นที่เข้าใจง่าย ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอล กีฬายอดฮิตของคนไทย ซึ่งคาดว่าจะทำให้ผู้อ่านสามารถดูฟุตบอลได้อย่างเข้าใจง่ายขึ้น
ขอบคุณ แหล่งข้อมูล http://www.parwat.com