ล่าสุดก็ประกาศเป็นทางการแล้ว เมื่อบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิเซส กรุ๊ป (Ant Financial) หนึ่งในผู้นำการให้บริ
แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป เพื่อร่วมผลักดันการเติ
***Alipay ได้อะไร?
ส่วนในมุมของ ANT ก็จะมีการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจการเงิน กับกลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่สามารถเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินจากธนาคาร (Unbank) ที่ Ascend มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากตลาดหลักของ Ascend อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
“ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนประชากรที่เข้าถึงการทำธุรกรรมทางการเงินเพียง 60% เท่านั้น ในขณะที่อีก 40% ไม่มีบัญชีธนาคาร ทำให้เงินสดยังเป็นช่องทางหลักในการชำระค่าสินค้า และบริการต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้กับการเจาะตลาดในต่างประเทศเพิ่มเติม”
นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายสำคัญที่วางไว้ให้ Ascend Money ต้องทำในการครองตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ การเพิ่มจำนวนจุดรับบริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็น 5 แสนจุด ภายในปี 2560 จากปัจจุบันที่มีอยู่แล้วราว 6 หมื่นจุด โดยแบ่งเป็นในประเทศประมาณ 2 หมื่นจุด และในต่างประเทศประมาณ 4 หมื่นจุด
“การเพิ่มจุดบริการจะเน้นเพิ่มในประเทศที่ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการจากธนาคารได้ ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ที่ประชากรไม่มีบัญชีธนาคาร ดังนั้น เป้าหมายในการขยายตัวเกือบ 10 เท่า จึงไม่น่าเป็นปัญหา”
ขณะเดียวกัน ในแง่ของจำนวนฐานลูกค้าที่ใช้งานก็ต้องเพิ่มขึ้น 10 เท่าด้วยเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบัน บริการ True Money มีลูกค้าที่ลงทะเบียนใช้งานในระบบราว 20 ล้านราย โดยในจำนวนนี้ใช้งานเป็นกระเป๋าเงินออนไลน์ประมาณ 4 ล้านราย ซึ่งมีลูกค้าที่ใช้งานประจำราว 7 แสนราย ก็ต้องเพิ่มลูกค้าที่ใช้งานประจำเป็น 7 ล้านราย ภายใน 1 ปีครึ่ง
ที่ผ่านมา Ascend Money มีมูลค่าเงินที่ผ่านระบบราว 7.5 หมื่นล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 30% และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องในระดับนี้ต่อไป โดยปัจจัยที่ทำให้เติบโตมาจากการที่มีจำนวนลูกค้าเพิ่มมากขึ้น และลูกค้ามั่นใจในการใช้บริการ เบื้องต้นได้เตรียมที่จะเพิ่มงบลงทุนในปีหน้าอีกเท่าตัวเป็น 2 พันล้านบาท จากที่ใช้ไปในปีนี้ราว 1 พันล้านบาท
เมื่อมองถึงภาพรวมแล้ว สิ่งที่ ANT ได้แน่ๆ คือ จำนวนฐานลูกค้าที่จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องของ Ascend Money ที่จะกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันให้ Alipay มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มถึง 2 พันล้านรายใน 10 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่มีลูกค้าใช้งานอยู่ราว 450 ล้ายราย
***ก้าวต่อไปของ Alipay
ดักลาส ฟีกิน รองประธานอาวุโส บริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป เล่าให้ฟังถึงความท้ายทายในการทำธุรกิจของ ANT ว่า มี 3 สิ่งหลักๆ ด้วยกัน คือ เรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นในระบบการเงินดิจิตอลที่ผู้ใช้งานจะไม่ได้สัมผัสกับเงินสด ดังนั้น ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องมีความมั่นใจในแง่ของระบบความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ
ต่อมา คือ เรื่องของการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานเงินสดในหลายๆ ภูมิภาคที่ยังใช้เงินสดในการจับจ่ายใช้สอยเป็นรูปแบบหลักอยู่ รวมถึงการเสริมช่องทางในการนำเงินสดเข้าสู่ระบบเงินดิจิตอลที่ต้องทำได้ง่าย และสะดวก สุดท้าย คือ การแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการทำธุรกรรมทางการเงินดิจิตอล เพื่อให้ผู้ใช้มีแรงจูงใจในการที่จะเปลี่ยนรูปแบบการใช้เงินสดเป็นเงินดิจิตอล
ดังนั้น แผนธุรกิจของ ANT คือ การหาพาร์ตเนอร์ที่เข้าใจในตลาดของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นแผนการณ์สำคัญที่จะทำให้บริการ Alipay เป็นที่รู้จักในระดับโลก ด้วยการให้พาร์ตเนอร์ในแต่ละพื้นที่ สร้างรูปแบบการใช้งานธุรกรรมการเงินดิจิตอลที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ขึ้นมา ด้วยการสนับสนุนในแง่ของเทคโนโลยี และความรู้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ
ภายในงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่ฮ่องกง นอกจากผู้บริหารของทั้ง 2 บริษัทที่เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกันแล้ว ประธานบริหาร อาลีบาบา กรุ๊ป “แจ็ค หม่า” และ “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
https://techsauce.co/