“แสงสีฟ้า” หรือ “แสงสีน้ำเงิน” (Blue Light) ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติเหล่านี้ ผลจากงานวิจัยระบุไว้ว่า “แสงทุกสีสามารถทำอันตรายแก่ดวงตาของเราได้ แต่แสงสีน้ำเงินนั้นมีพลังการทำลายกระจกตาหรือจอประสาทตาได้มากกว่าสีอื่นๆ” จึงทำให้มีอุปกรณ์ช่วยลดแสงสีฟ้าขายตามท้องตลาดมากมาย อย่างเช่น แว่นตาตัดแสงสีน้ำเงิน หรือฟิล์มตัดแสงสีน้ำเงินสำหรับติดหน้าจอสมาร์ทโฟน มันก็ช่วยได้จริงในระดับหนึ่ง แต่หลักๆ มันก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ซะมากกว่าว่ามีพฤติกรรมการใช้สายตาแบบไหน
แสงสีฟ้าคืออะไร?
แสงสีฟ้าคือแสงที่เรามองเห็นอยู่ทุกวัน ถือเป็นหนึ่งในสามของแสงขาวจากแสง UV สามารถมองเห็นได้และมีพลังงานสูง (high-energy visible) หรืออธิบายได้ดังนี้
– แสงทั้งหมดมี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง และแสงสีฟ้าหรือน้ำเงิน ซึ่งแต่ละสีมีความยาวคลื่นและพลังงานแตกต่างกัน
– แสงที่เรามองเห็นได้จะอยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-700 nm โดยแสงสีฟ้าอยู่ที่ช่วงประมาณ 380-480 nm นั่นเอง
แสงสีฟ้ามาจากไหน?
แสงนั้นจริงๆมาจากทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะหลบยังไงแสงก็ยังสามารถที่จะสะท้อนมาหาเราได้อยู่ดี ซึ่งหลักๆ แล้วมาจาก
• ดวงอาทิตย์ มีปริมาณของแสงที่มีความเข้มมากที่สุด เป็นแหล่งกำเนิดแสงจากธรรมชาติ
• อุปกรณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยเฉพาะจากหลอด LED คือ
– หลอดไฟ LED ตามบ้านเรือน หรือ แม้แต่ไฟหน้ารถและท้ายรถ
– อุปกรณ์ ดิจิตอล เช่น นาฬิกา(Smart Watch)
– จอ TV จอคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุค
– จอโทรศัพท์ แทบเล็ต
แสงสีฟ้าไม่ดีจริงๆ หรอ?
ขอบอกก่อนว่าจริงๆ แล้วแสงสีฟ้าที่เราเจอนั้นมี 2 ประเภท คือแสงสีฟ้าที่ดี และ แสงสีฟ้าที่เป็นโทษ
• แสงสีฟ้าที่ดี จะช่วยทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาช่วยทำให้เรากระฉับกระเฉง รู้ว่าเวลาไหนควรนอน เวลาไหนควรตื่น หรือแม้แต่บอกว่าเราควรกินตอนไหน ถ่ายตอนไหน เรียกง่ายๆ ว่า “นาฬิกาชีวิต” ที่ทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกตินั่นเอง
• สีฟ้าที่เป็นโทษ จะอยู่ในช่วงคลื่นที่ 415-455nm จะเป็นแสงที่ส่งผลเสียทำให้จอประสาทตาเราค่อยๆ เสื่อมลงได้ หากรับในปริมาณที่มากเกินไป
แสงสีฟ้าส่งผลเสียยังไง?
แสงสีฟ้าส่งผลเสียโดยตรงกับดวงตา เพราะเป็นแสงที่เรามองเห็นได้ จึงสามารถทะลุผ่านเลนส์ตาและกระจกตาเข้าไปถึงจอประสาทตาได้ หากได้รับเป็นเวลานานจะส่งผล ดังนี้
– อาการตาล้า เพราะแสงสีฟ้าที่เราจ้องมองอยู่มีความสว่างมากทำให้ดวงตาต้องทำงานอย่างหนัก
– อาการตาแห้ง เพราะอุปกรณ์ที่เราจ้องมองส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กทำให้เราต้องจ้องมองมากกว่าปกติ
– จอประสาทตาอาจเสื่อมได้ เนื่องจากแสงสีฟ้าสามารถทะลุเข้าไป และทำลายเซลล์รับแสงในจอประสาทตาได้ และอาจเป็นปัจจัยสำคัญของการสูญเสียการมองเห็น
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://www.essilor.co.th/