การกำหนดตำแหน่งของสถานที่บนผิวโลก สามารถบอกได้โดยการบอกพิกัดของวัตถุด้วยค่าละติจูด (latitude) และลองติจูด (longitude) ในทำนองเดียวกันการบอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้าสามารถบอกได้โดยใช้มุมห่าง (elongation) มุมทิศ (azimuth) และมุมเงย (altitude)
ระยะเชิงมุม และมุมห่าง
เมื่อเราสังเกตดาวบนท้องฟ้าหลายๆดวง หากเราต้องการทราบว่า ดาวสองดวงบนท้องฟ้ามีระห่างบนทรงกลมท้องฟ้าเท่าไหร่ เราสามารถบอกได้ง่ายๆ โดยใช้ระยะเชิงมุม (angula distance) โดยบอกค่าระยะเชิงมุมบนดวงดาวต่างๆบนท้องฟ้าที่มีระยะห่างจากโลก สามารถสังเกตระยะเชิงมุมของดาวคู่เดียวกัน ได้ตรงกันเพราะโลกมีขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับระยะห่างของดวงดาวจึงถือว่าโลกเป็นจุดๆหนึ่งและระยะเชิงมุมระหว่างดาวท้งสอง คือมุมระหว่างรัศมีที่ลากจากจุดศูนย์กลางของโลก ไปยังดาวทั้งสอง
โดยระยะเชิงมุมระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ หรือดวงจันทร์จากมุมมองของผู้สังเกตบนโลกจะเรียกว่า มุมห่าง
มุมทิศ มุมเงย
การบอกตำแหน่งของวัตถุบนพื้นโลกเราจะใช้พิกัดของละติจูด ควบคู่ไปกับลองจิจูด สำหรับพิกัดของดวงดาวบนท้องฟ้า เราสามารถบอกได้อย่างง่ายๆ ด้วยค่ามุมทิศควบคู่ไปกับมุมเงย ดังภาพ
แผนที่ดาว
จากการที่ได้ศึกษาระยะเชิงมุม มุมทิศ มุมเงย ซึ่งเป็นการบอกตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าอย่างง่าย เราสามารถใช้ความรู้ดังกล่าวมาใช้ศึกษาดวงดาวร่วมกับการใช้แผนที่ดาว
-ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://sites.google.com/site/wpuangdokmai/contant/homeworkforweekofoctober11th