5 วิธีการลงทุน สำหรับมนุษย์เงินเดือนสไตล์พรี่หนอม โดยแนวคิดจะเป็นการสะสมเพื่อเป้าหมายระยะยาวและใช้วิธีการทยอยสะสมเงินทุกเดือน ในจำนวนเท่าๆกัน
1. ฝากประจำ / กองทุนรวมตลาดเงินหรือตราสารหนี้ระยะสั้น การออมทรัพย์หรือการฝากประจำ เป็นการลงทุนแบบพื้นฐานที่ดีที่สุด ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการเริ่มออมเงิน แฟรงค์อยากแนะนำให้ออมในบัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิตไว้ เพราะนี่จะช่วยป้องกันการกดเงินใช้ของคุณ เพียงเริ่มบัญชีใหม่สำหรับการออมเงินโดยเฉพาะ การฝากประจำนั้นจะยังสร้างวินัยในการออมได้ดีอีกด้วยครับเช่น ฝากประจำระยะยาว หรือบัญชีเงินฝากระยะยาว นั้นเราสามารถกำหนดได้ว่า เราอยากฝากกี่เดือน ซึ่งมีให้เราเลือกตั้งแต่ 3,6,12,24 เดือนเป็นต้นครับ ถามว่าเราจำเป็นต้องฝากเดือนละเท่าไหร่ดี แฟรงค์แนะนำให้คุณ “ออมเงินเป็นจำนวน 30% ของเงินเดือนที่คุณได้รับ แต่หากคุณจำเป็นต้องใช้จ่ายหนี้สินหรืออย่างอื่น ต่ำสุดก็คือ 20% ของเงินเดือน” ระหว่างการออมเงินนี้หากคุณต้องการเห็นเลขเงินออมที่ดูสวยงามก็พยายามห้ามกดออกมาใช้ก่อนนะครับ ซึ่งข้อดีของการฝากระยะยาวนี้คือ หากคุณยิ่งฝากเงินเข้าไปมากเท่าไหร่ก็จะได้รับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นสูงตามจำนวนเงินในทุกเดือน การฝากอีกแบบที่คุณทำได้คือการโอนเงินอัตโนมัติเข้าไปในบัญชีฝากของคุณเพื่อกันหรือและรักษาความสม่ำเสมอในการฝาก
2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หลายคนคงต้องคุ้นหน้าคุ้นตากับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแน่นอนครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราทำงานประจำ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็คือ การที่ลูกค้าได้จ่ายเงินเข้ากองทุน 2-15% (เงินสะสม) และ นายจ้างได้ร่วมจ่ายเข้ากองทุนไปอีก 15% (เงินสมทบ) ซึ่งตามกฎหมายก็คือ นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายมากกว่าเงินสะสมของลูกจ้างเท่านั้น หลังจากนั้นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนก็จะนำเงินก่อนนั้นไปลงทุนทางการเงินและจ่ายเฉลี่ยกลับมาเป็นดอกเบี้ย หรือผลตอบรับที่ได้แก่นายจ้างและลูกจ้าง โดยบริษัทส่วนมากมักจะมีให้เราเลือกสวัสดิการสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพครับ ซึ่งเป็นการบังคับว่าหากพนักงานเก็บออมและร่วมลงทุนกับทางบรืษัท ก็เพื่อให้พนักงานในบริษัทมีเงินสำรองไว้ใช้ยามเกษียณ หรือยามลาออกนั่นเองครับ ซึ่งจุดเด่นของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นคือ เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้บริษัทตัดเงินเดือนเราเท่าไรเพื่อนำเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งตามปกติจะเลือกได้ที่ 2-15%
3. สหกรณ์ออมทรัพย์
เงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์จะมีข้อดีที่ดอกเบี้ยสูง แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย เช่น
ข้อจำกัดด้าน การฝาก-ถอน
การฝากเงินของสหกรณ์บางแห่งใช้วิธีโอนเงินเข้าบัญชีกลางก่อน หลังจากนั้นจึงทำการส่งหลักฐานการโอนเงินเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการนำเงินเข้าบัญชีส่วนตัวผู้ฝากเงินอีกครั้ง
การถอนเงินบางแห่งใช้เป็นแคชเชียร์เช็คที่ระบุชื่อเจ้าของบัญชี เพื่อนำไปเบิกที่ธนาคารด้วยตนเอง หรือบางแห่งอาจมีระบบ ATM ที่ผูกบัญชีสหกรณ์กับบัญชีธนาคารที่กำหนด เพื่อถอนเงินจากตู้ ATM ของธนาคารดังกล่าว ซึ่งก็สะดวกมากขึ้นแต่ก็ยังไม่เท่าการฝากเงินกับธนาคาร อีกทั้งไม่ว่าจะถอนเงินรูปแบบใด ก็มักมีค่าธรรมเนียมการถอนด้วย
ข้อจำกัดด้าน การเช็กยอด
การฝากเงินสหกรณ์แม้ได้รับสมุดคู่ฝากเช่นเดียวกับธนาคาร แต่เนื่องจากสหกรณ์ไม่ได้มีสาขาอยู่ทั่วไป ส่งผลให้การอัปเดตสมุดบัญชีไม่สะดวกนัก
แม้บางแห่งจะเปิดให้ผู้ฝากสามารถเช็กยอดเงินในบัญชีด้วยการโทรศัพท์หรือหน้าเว็บไซต์สหกรณ์ แต่ข้อมูลที่ได้รับนั้นอาจมีข้อจำกัดด้านความน่าเชื่อถือได้
4. ออมหุ้น
เทคนิคของการออมหุ้นสำหรับคนทันสมัยทำได้ง่ายๆดังนี้
-
- ตั้งเป้าหมายในการออม : ใช้สูตรการหยอดกระปุกแบบใหม่ ด้วยการกำหนดเงินออมในแต่ละเดือน เช่น ออมเงินเดือนละ 10-30% ของรายได้ เมื่อเงินเดือนออกให้ออมทันที ที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย
-
- ติดต่อ Broker เพื่อเปิดพอร์ตการลงทุน : ก่อนหน้าที่เราจะมีกระปุกสำหรับออมหุ้นได้นั้น เราจะต้องเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมีผู้ให้บริการหลายราย บางบริษัทมีบริการบัญชีออมหุ้นและหลายๆบริษัทให้บริการออมหุ้นผ่านระบบ DCA Order ใน Streaming ได้ เมื่อเรากระปุกเราพร้อมแล้วก็เตรียมออมหุ้นได้เลย
-
- ศึกษาข้อมูลและวางแผนการลงทุน : ก่อนที่เราจะออมหุ้นนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการศึกษาข้อมูลและวางแผนก่อนการลงทุน เราควรจะวิเคราะห์ก่อนว่าหุ้นตัวไหนที่มีความน่าสนใจในการเติบโต และสามารถออมได้ในระยะยาวได้ แล้วเราก็มาวางแผนการลงทุนด้วยการกำหนดหุ้นที่จะออม เงินที่จะซื้อ วันในแต่ละเดือนที่จะออมให้เป็นเป้าหมายในระยะยาว ที่สำคัญก็คือหากเราจะประสบความสำเร็จได้จะต้องมีวินัยในการออมอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องสนใจราคาที่ขึ้นลงในระยะสั้นๆระหว่างวัน
- ติดตามผลการลงทุนและเพิ่มเป้าหมายเมื่อมีโอกาส : ในการลงทุนนั้นเราจะต้องติดตามผลการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยก็ปีละ 1-2 ครั้งเพื่อดูว่าหุ้นที่เราออมเข้าไปในกระปุกนั้นมีการเติบโตที่ดีอยู่หรือไม่ ซึ่งเราจะนำมาตัดสินใจว่าจะออมต่อ ออมเพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงการออม และอย่าลืมว่าหากมีโอกาสที่เรามีรายได้มากขึ้น หรือมีโบนัสจากการทำงาน ก็อย่าลืมมาเพิ่มเป้าหมายในการออมให้มากขึ้นด้วย
5. กองทุนรวม LTF, RMF ในทุกปี เราต้องยื่นภาษีและลดหย่อนภาษี “LTF RMF” กันใช่หรือเปล่าครับ หากคุณเป็นพนักงานประจำก็คงจำเป็นต้องเสียภาษีทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งบางคนก็อาจะยังไม่แน่หากเราควรซื้อหรือไม่ควรซื้อดีนะ?
- กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ Long Term Equity Fund
เป็นกองทุนที่เน้นหุ้น 65% ของมูลค่ากองทุน ส่วนตัวของ LTF นี้จะทำให้ตลาดหุ้นมีสภาพคล่องมีความเสถียรภาพมากขึ้นเพื่อลดหย่อนภาษี ทั้งนี้กองทุนรวมประเภท LTF RML สามารถเลือกจ่ายเงินปันผลหรือไม่จ่ายเงินปันผลก็ได้ เงื่อนไขที่สำคัญของ LTF นั้นคือคุณจำเป็นต้องถือหุ้น LTF มากถึง 7 ปีเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีกันต่อไป
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ Retirement Mutual Fund
เป็นกองทุนระยะยาวเหมาะกับช่วงเกษียณอย่างมาก ข้อดีของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก็คือ เราสามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ตามสภาวะเศรษฐกิจ และยืดหยุ่นตามความต้องการแต่ละช่วงเวลา ซึ่ง RMF คุณจำเป็นต้องลงทุนทุกปีไปเรื่อยแม้แต่ตอนเกษียณซึ่งขั้นต่ำก็คือ 3% ของเงินที่ได้ในปีนั้น หากต้องการเทียบค่าลดหย่อนภาษีจะคำนวณได้จาก เงินทุน RMF + กองทุนเลี้ยงชีพ/กบข. + ประกันชีวิตบำนาญ ทั้งหมดรวมกันจะต้องไม่เกิน 15% ของจำนวนเงินที่คุณต้องเสียภาษี หรือ ไม่เกิน 500,000 บาทนั่นเอง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล และ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://aommoney.com , https://www.set.or.th/ และ www.masii.com