สมบัติตางรางธาตุ (Periodic Properties)
ธาตุในตารางธาตุปัจจุบัน มีการจัดเรียงธาตุตามลำดับของเลขอะตอม หรือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส เรียงลำดับตั้งแต่หมู่ IA จนถึงหมู่ VIIIA และจัดเป็นคาบในแถวแนวนอน 7 คาบ เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้นไปตามคาบและตามหมู่ ธาตุจะมีสมบัติต่าง ๆ แปรเปลี่ยนไปอย่างสัมพันธ์กันกับเลขอะตอม สมบัติที่แปรเปลี่ยนตามเลขอะตอมนี้เรียกว่าสมบัติตารางธาตุ (Periodic Properties) ซึ่งสมบัติต่าง ๆ นี้ ได้แก่
ขนาดอะตอม
พลังงานไอออไนเซชัน
อิเล็กโทรเนกาติวิตี
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
จุดหลอมเหลว-จุดเดือด
1. ขนาดอะตอม (Atom size)
2. รัศมีไอออน (Ionic radius)
Mg : 1s2 2s2 2p6 3s2
160 pmMg2+ : 1s2 2s2 2p6
65 pm
รัศมี O2– = 140 pm
รัศมี Mg2+ = 65 pm
O : 1s2 2s2 2p4
73 pm
O2– : 1s2 2s2 2p6
140 pm
จากการศึกษาโครงสร้างอะตอมตามทฤษฎีของโบร์ (Bohr Theory) อิเล็กตรอนในอะตอมจะมีระดับพลังงานได้หลายค่า และเมื่ออิเล็กตรอนอยู่ห่างนิวเคลียสมากก็จะยิ่งมีพลังงานสูง ดังนั้นขนาดของอะตอมจะเล็กหรือใหญ่จึงขึ้นอยู่กับอิเล็กตรอนในชั้นนอกสุดว่าอยู่ในระดับพลังงานใด และขึ้นอยู่กับจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับหมู่และคาบของธาตุในตารางธาตุด้วย เมื่อจะศึกษาแนวโน้มของขนาดอะตอมจึงต้องพิจารณาแนวโน้มของขนาดอะตอมตามหมู่และตามคาบ เนื่องจากแนวโน้มนี้จะแปรเปลี่ยนไปตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นและจำนวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน
การวัดขนาดที่แน่นอนของอะตอมเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะการกระจายของอิเล็กตรอนในอะตอมตามแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกนั้นบอกไม่ได้ว่าสิ้นสุดตรงไหนเพียงแต่คาดว่าเมื่อไกลนิวเคลียสออกไปมาก ๆ โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนมีน้อยจนเกือบเป็นศูนย์ และการที่จะแยกอะตอมออกมาเพียงอะตอมเดียวเพื่อวัดขนาดให้แน่นอนก็ทำไม่ได้เพราะอะตอมมีขนาดเล็กมาก นักเคมีมีวิธีที่จะบอกขนาดของอะตอมได้เมื่ออะตอมรวมกันเกิดเป็นโมเลกุล โดยกำหนดให้อะตอมมีรูปร่างเป็นทรงกลม การบอกขนาดอะตอมจึงบอกเป็นรัศมีอะตอม (Atomic radius)
รัศมีอะตอมมี 3 แบบ คือ
รัศมีโคเวเลนต์
รัศมีแวนเดอร์วาลส์
รัศมีโลหะ
อะตอมซึ่งมีจำนวนโปรตอนเท่ากับอิเล็กตรอน เมื่ออะตอมรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามาหรือเสียอิเล็กตรอนออกไป อะตอมจะเปลี่ยนไปเป็นไอออน
การบอกขนาดของไอออนทำได้เช่นเดียวกับการบอกขนาดอะตอม นั่นคือจะบอกเป็นค่ารัศมีไอออน ซึ่งพิจารณาจากระยะห่างระหว่างนิวเคลียสของไอออนคู่หนึ่ง ๆ ที่มีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันในโครงผลึก ตัวอย่างของรัศมีไอออนของ Mg2+ และ O2– ในสารประกอบ MgO
เมื่อโลหะทำปฏิกิริยากับอโลหะ อะตอมของโลหะจะเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนบวก จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมจึงลดลง ทำให้แรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนลดลงด้วย หรือกล่าวได้ว่าแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนจะเพิ่มมากขึ้น จึงมีขนาดเล็กลงกว่าอะตอมเดิม ส่วนอะตอมของอโลหะส่วนใหญ่จะรับอิเล็กตรอนเกิดเป็นไอออนลบ เนื่องจากมีการเพิ่มของจำนวนอิเล็กตรอน จึงทำให้แรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียสมีค่าสูงขึ้น ขอบเขตของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนจึงขยายออกไปจากเดิม ไอออนลบจึงมีขนาดใหญ่กว่าอะตอมเดิม
แนวโน้มขนาดไอออนสรุปได้ดังนี้
1. ขนาดของไอออนของธาตุเดียวกันที่เป็นไอออนบวก
อะตอมที่มีการเสียอิเล็กตรอนไปกลายเป็นไอออนบวก ถ้าเสียอิเล็กตรอนไปยิ่งมาก ขนาดของไอออนบวกของอะตอมนั้นยิ่งลดลง ทั้งนี้เพราะอิเล็กตรอนที่เสียไปทำให้อะตอมมีอิเล็กตรอนเหลือน้อยลง แต่จำนวนประจุบวกในนิวเคลียสยังคงเดิม อิเล็กตรอนที่เหลืออยู่จะถูกนิวเคลียสดูดมากยิ่งขึ้น ขนาดไอออนจึงลดลง A > A+ > A2+ > A3+ > . . .
2. ขนาดอะตอมกับขนาดของไอออนลบ
อะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนแล้วกลายเป็นไอออนลบ ทำให้มีอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น แต่จำนวนโปรตอนเท่าเดิม ขนาดอะตอมจะใหญ่ขึ้น X < X– < X2– < X3– < . . .
3. ขนาดของไอออนและขนาดของอะตอมที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน
เมื่อไอออนมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน จะต้องพิจารราจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส ถ้ามีโปรตอนมากขึ้น ขนาดจะยิ่งลดลง เพราะแรงดึงดูดที่นิวเคลียสมีมาก
4. ขนาดของไอออนของธาตุในหมู่เดียวกัน
ขนาดจะใหญ่ขึ้นจากบนลงล่าง นั่นคือข้างบนจะมีขนาดเล็ก ข้างล่างจะมีขนาดใหญ่ โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับขนาดอะตอม
5. ขนาดของไอออนของอะตอมในคาบเดียวกัน
พลังงานไอออไนเซชั่น
พลังงานไอออไนเซชัน (Ionization energy : IE)
พลังงานไอออไนเซชัน (ionization energy : IE) หมายถึงพลังงานที่น้อยที่สุดที่ใช้เพื่อทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอมในสถานะแก๊สกลายเป็นไอออนในสถานะแก๊ส เช่น การทำให้โฮโดรเจนอะตอมกลายเป็นไฮโดรเจนไอออนในสถานะแก๊ส เขียนแสดงได้ดังนี้
H(g) H+(g) + e– IE = 1318 kJ/mol
ไฮโดรเจนมีเพียง 1 อิเล็กตรอน จึงมีค่าพลังงานไอออไนเซชันเพียงค่าเดียว ถ้าเป็นธาตุที่มีหลายอิเล็กตรอนก็จะมรพลังงานไอออไนเซชันหลายค่า พลังงานน้อยที่สุดที่ทำให้อิเล็กตรอนตัวแรกหลุดออกตากอะตอมในสถานะแก๊สเรียกว่า “พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1” เขียนย่อเป็น IE1 พลังงานที่ทำให้อิเล็กตรอนตัวต่อ ๆ ไปหลุดออกจากอะตอมในสถานะแก๊สก็จะเรียกว่า พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 2 , 3 , . . . ตามลำดับ และเขียนย่อเป็น IE2 , IE3 , . . . ตามลำดับ เช่น ธาตุโบรอนมี 5 อิเล็กตรอน ก็จะมีพลังงานไอออไนเซชัน 5 ค่า ดังนี้
B(g) B+(g) + e– IE1 = 807 kJ/mol
B+(g) B2+(g) + e– IE2 = 2433 kJ/mol
B2+ (g) B3+ (g) + e– IE3 = 3666 kJ/mol
B3+ (g) B4+ (g) + e– IE4 = 25033 kJ/mol
B4+ (g) B5+ (g) + e– IE5 = 32834 kJ/mol
พลังงานไอออไนเซชันกับจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน
ค่าพลังงานไอออไนเซชันของธาตุต่าง ๆ ในตารางธาตุใช้เป็นข้อมูลในการจัดกลุ่มอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียส ซึ่งพบความสัมพันธ์คือ อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานเดียวกัน (ชั้นเดียวกัน) จะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันใกล้เคียงกัน และอิเล็กตรอนที่อยู่ต่างระดับพลังงานกัน จะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันแตกต่างกันมาก ซึ่งสรุปความสัมพันธ์ถึงจำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานจะมีจำนวนไม่เกิน 2n2 ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
การเปรียบเทียบพลังงานไอออไนเซชันของธาตุจะใช้เฉพาะ IE1 ซึ่งเมื่อนำค่า IE1 มาเปรียบเทียบได้ดังกราฟ
อิเล็กโทรเนกาติวิตี
อิเล็กโทรเนกาติวิตี (Electronegativity : EN)
อิเล็กโทรเนกาติวิตี (electronegativity : EN) หมายถึงค่าที่แสดงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนของอะตอมคู่ที่เกิดพันธะที่จะรวมกันเป็นโมเลกุล ธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงจะมีความสามารถในการดึงดูดหรือรับอิเล็กตรอนได้ดี ได้แก่พวกอโลหะ ส่วนธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำจะดึงดูดหรือรับอิเล็กตรอนได้ไม่ดี ได้แก่พวกโลหะ เช่น โมเลกุลของ HCl เนื่องจาก Cl ดึงดูดอิเล็กตรอนได้ดีกว่า H ดังนั้น Cl จึงมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่า H แนวโน้มค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของธาตุในตารางธาตุเป็นดังนี้
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron affinity : EA)
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (electron affinity : EA) หมายถึงพลังงานที่อะตอมในสถานะแก๊สคายออกเมื่ออะตอมได้รับอิเล็กตรอน 1 อิเล็กตรอน ซึ่งเขียนสมการแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานได้ดังนี้
A(g) + e– A–(g) + DE
EA มีค่าเป็นลบ (–) เนื่องจากมีการคายพลังงานออกมา แสดงว่าอะตอมนั้นมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอนเข้ามาได้ดี ความสามารถในการรับอิเล็กตรอนของแต่ละธาตุมีความแตกต่างกัน ดังตัวอย่าง
F(g) + e– F– (g) EA = –333 kJ/mol
O(g) + e– O– (g) EA = –142 kJ/mol
P(g) + e– P– (g) EA = –74 kJ/mol
จากตัวอย่างแสดงว่า F มีแนวโน้มรับอิเล็กตรอนได้สูงกว่า O และ P ตามลำดับ เมื่ออะตอมของธาตุรับ 1 อิเล็กตรอนแล้ว การรับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นอีก 1 อิเล็กตรอนจะรับได้ยากขึ้น ดังนั้นค่า EA จึงมีค่าสูงขึ้นจนเป็นบวกได้ เช่น
O–(g) + e– O2–(g) EA = 780 kJ/mol
จุดหลอมเหลวและจุดเดือด
1. แนวโน้มจุดหลอมเหลวและจุดเดือดตามคาบ
เมื่อพิจารณาตามคาบ ธาตุหมู่ IA IIA IIIA และ IVA จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะหมู่ IVA จะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงที่สุด ส่วนหมู่ VA VIA VIIA และ VIIIAจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ
à การที่จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของธาตุหมู่ IA IIA และ IIIA ที่อยู่ในคาบเดียวกันมีแนวโน้มสูงขึ้นตามเลขอะตอม เนื่องจากเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น อะตอมจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากขึ้น รวมทั้งมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อิสระแข็งแรงขึ้น สำหรับธาตุหมู่ IVA บางธาตุมีโครงสร้างเป็นแบบโครงผลึกร่างตาข่าย จึงทำให้มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีค่าสูงขึ้น ซึ่งอธิบายได้อีกเหตุผลหนึ่งคืออะตอมของโลหะจะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโลหะ โดยความแข็งแรงของพันธะโลหะจะพิจารณาดังนี้
£ แปรผันตรงกับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน ธาตุที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาก พันธะโลหะจะแข็งแรงมาก จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะสูง
£ แปรผกผันกับขนาดอะตอม ธาตุที่มีขนาดอะตอมเล็กพันธะโลหะจะแข็งแรงมาก จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะสูง
à ธาตุหมู่ VA VIA VIIA และ VIIIA มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ และมีค่าใกล้เคียงกัน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของธาตุกลุ่มนี้มีค่าต่ำมาก โมเลกุลของอโลหะยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ โดยแรงแวนเดอร์วาลส์จะแปรผันตรงกับมวลโมเลกุล และขนาดโมเลกุล
£ โมเลกุลที่มีมวลโมเลกุลสูง หรือขนาดโมเลกุลใหญ่จะมี
แรงแวนเดอร์วาลส์แข็งแรงมาก จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะสูง
2. แนวโน้มจุดหลอมเหลวและจุดเดือดตามหมู่
เมื่อพิจารณาตามหมู่พบว่าจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของธาตุหมู่ IA IIA และ IIIA ส่วนใหญ่มีค่าลดลงเมื่อมีเลขอะตอมเพิ่มขึ้น หรือมีแนวโน้มลดลงจากบนลงล่างตามหมู่ เนื่องจากมีขนาดอะตอมใหญ่ขึ้น ความแข็งแรงของพันธะโลหะจะลดลงตามหมู่ ส่วนธาตุหมู่ VA VIA VIIA และ VIIIA มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอม ซึ่งเป็นผลมาจากมีมวลอะตอมเพิ่มขึ้น ทำให้แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล (แรงแวนเดอร์วาลส์) มีค่ามากขึ้น สำหรับจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของธาตุหมู่ IVA มีแนวโน้มที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากธาตุหมู่ IVA มีโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมแตกต่างกัน จึงไม่สามารถสรุปแนวโน้มได้