มนุษย์นีแอนเดอร์ทัส
มนุษย์นีแอนเดอร์ทัส (Neanderthal man) มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 200,000 ถึง 30,000ปีที่ผ่านมา จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์พบว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัสมีสมองขนาดใหญ่เหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบันมีความจุประมาณ 1,400 ลูกบาศก์เซนติเมตรแต่มีกะโหลกศีรษะที่แตกต่างจากมนุษย์ในปัจจุบัน คือ มีกระดูกคิ้วยื่นออกมา จมูกกว้าง คางสั้น นักมนุษย์วิทยาได้จัดให้มนุษย์นีแอนเดอร์ทัสอยู่ในสปีชีส์เดียวกับมนุษย์ในปัจจุบัน แต่แยกเป็นซับสปีชีส์คือ H. sapiens neanderthalensis
มนุษย์นีแอนเดอร์ทัส มีการอยู่รวมกันเป็นหมู่ มีการล่าสัตว์ร่วมกัน รู้จักใช้ไฟและใช้หนังสัตว์นุ่งห่ม เริ่มมีวัฒนธรรมการฝังศพที่ตบแต่งด้วยดอกไม้และฝังศพพร้อมกับเครื่องมือเครื่องไม้ นอกจากนี้ยังค้นพบซากกะโหลกหมีกองใหญ่ในถ้ำ อาจเป็นไปได้ว่า สัตว์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา มนุษย์นีแอนเดอร์ทัสอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนทั้งในถ้ำในที่ราบและหุบเขา พบกระจายในบริเวณต่างๆ กว้างขวางมาก ตั้งแต่ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกาไปจนถึงประเทศจีน
H. habilis เป็นไพรเมตกลุ่มแรกที่จัดอยู่ในสกุลเดียวกันมนุษย์ แม้ว่าจะต่างสปีชีส์กับมนุษย์ในปัจจุบันก็ตาม
– นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดจึงจัดให้ H. habilis อยู่ในกลุ่มเดียวกับมนุษย์และลักษณะเช่นใดที่ถือว่าเป็นมนุษย์
Homo erectus เป็นมนุษย์สปีชีส์แรกที่เริมมีการอพยพออกจากแอฟริกา พบทั่วไปในแถบเอเชียรวมทั้งหมู่เกาะอินโดนีเชียซากดึกดำบรรพ์ของ H. erectus ที่พบและรู้จักกันดีคือ มนุษย์ชวา (Java Man)พบที่เกาะชวาและมนุษย์ปักกิ่ง (Beijing Man ) พบในประเทศจีน H. erectus มีอายุประมาณ 1.8 ล้านปีถึง 500,000ปี และตั้งถิ่นฐานอยู่ในเอเชียไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านปีที่ผ่านมา H. erectus มีร่างกายสูงและมีสมองขนาดใหญ่มีความจุประมาณ 1,100ลูกบาศก์เซนติเมตรและเพศชายมีลำตัวขนาดใหญ่เป็น 1.2 เท่าของเพศหญิง แสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศที่ชัดเจนขึ้นเหมือนมนุษย์ในปัจจุบัน มนุษย์ยุคนี้เริ่มรู้จักการใช้ไฟและประดิษฐ์เครื่องมือจากหินได้ดี มีความประณีตมากขึ้น ขนาดสมองที่โตขึ้นของ H. erectus น่าจะมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคมและการใช้ภาษา
ขณะที่มีการแพร่กระจายของ H. erectus จากแอฟริกามายังเอเชียพบว่า H. erectus บางส่วนได้อพยพเข้าไปอยู่ในแถบยุโรปด้วย
กำเนิดของมนุษย์ปัจจุบัน
กำเนิดของมนุษย์ปัจจุบัน
นักบรรพชีวินและนักมนุษย์วิทยา ได้ตั้งสมมติฐานของกำเนิดมนุษย์ในยุคปัจจุบันออกเป็น 2 แนวทางคือ
สมมติฐานแรก กล่าวว่า มนุษย์ในปัจจุบันที่อาศัยอยู่ตามบริเวณต่างๆ ของโลก มีวิวัฒนาการมาจากH. erectus ที่แพร่กระจายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆโดยมีวิวัฒนาการแบบขนานมาเป็นมนุษย์ในยุคปัจจุบัน แนวสมมติฐานนี้ได้อ้างถึงมนุษย์โบราณ เช่น H.sapiens neanderthalensis ที่ตั้งชื่อซับสปีชีส์ตามบริเวณที่ดำรงชีวิตอยู่นอกจากนี้มนุษย์ในปัจจุบันที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ทั่วโลกยังมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกัน เนื่องจากสามารถแลกเปลี่ยนยีนระหว่างกันได้ ทำให้ไม่มีความแตกต่างกันจนเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่
สมมติฐานที่สอง กล่าวว่า มนุษย์ในปัจจุบันมีวิวัฒนาการครั้งที่สอง โดย H. erectus ที่แพร่กระจายไปอาศัยตามบริเวณต่างๆได้สูญพันธุ์ไปหมดเหลือเพียง H. erectus ในแอฟริกาเท่านั้นที่มีวิวัฒนาการเป็น H. sapiens จากสมมติฐานนี้แสดงว่ามนุษย์ในยุคปัจจุบันมีกำเนิดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน คือ H. sapiens ที่ได้อพยพออกจากแอฟริกาเมื่อประมาณ 1 แสนปีที่ผ่านมานั่นเอง
ภาพที่ 4เปรียบเทียบสมมติฐานของกำเนิดมนุษย์ในปัจจุบัน
– สมมติฐานทั้งสองนี้แตกต่างกันอย่างไร
– จากสมมติฐานที่สอง H. sapiens ในปัจจุบันที่อาศัยอยู่ในเอเชีย มีวิวัฒนาการแยกออกมาจาก H. sapiens ที่อาศัยอยู่ในยุโรปและออสเตรเลียเมื่อประมาณกี่ปีมาแล้ว
ทั้งสองสมมติฐานนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักมานุษยวิทยา ซึ่งต้องอาศัยหลักฐานอื่นเพิ่มเติม เพื่อหาคำตอบว่ามนุษย์ในปัจจุบันมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นอย่างไร
มนุษย์โครแมนยัง
มนุษย์โครแมนยัง
มนุษย์โครแมนยัง (Cro-magnon man) จัดอยู่ในซับสปีชีส์เดียวกับมนุษย์ยุคปัจจุบัน คือ H. sapiens sapiens ซึ่งวิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อ 40,000 ปีที่ผ่านมาและสูญพันธุ์ไปเมื่อ 20,000ปีที่ผ่านมามนุษย์โครแมนยังมีขนาดสมองใกล้เคียงกับมนุษย์ปัจจุบัน มีความสามารถในการล่าสัตว์ มีหลักฐานพบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดในยุคนั้นเริ่มสูญพันธุ์ เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากการล่าสัตว์ของมนุษย์โครแมนยัง ซึ่งสามารถประดิษฐ์เครื่องมือจากหิน ที่ซับซ้อนและเหมาะสมกับการใช้งาน มีการใช้หอกในการล่าสัตว์ระยะไกลสามารถวาดภาพสัตว์โดยใช้สีที่สวยงามซึ่งพบในถ้ำ หลายแท่ง มีการแกะสลักกระดูกและเขากวางเป็นรูปต่างๆ และอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนที่มีกฎเกณฑ์ร่วมกัน
ภาพที่ 5 กะโหลกศรีษะของ H. sapiens(Cro-Magnon)
– นักเรียนคิดว่าน้ำหนักสมองมีความสัมพันธ์กับวิวัฒนาการอย่างไร
มีผู้ศึกษาขนาดของสมองลิงชนิดต่างๆ มนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วและมนุษย์ปัจจุบัน ดังตาราง
|
น้ำหนักตัว
|
(กิโลกรัม)
|
ขนาดสมอง
|
(cm^3)
|
สปีชีส์
|
เพศผู้
|
เพศเมีย
|
เพศผู้
|
เพศเมีย
|
ชะนี
|
5-10
|
5-10
|
100-125
|
100-125
|
อุรังอุตัง
|
84
|
38
|
425
|
370
|
ซิมแปนซี
|
40-46
|
30-50
|
500
|
355
|
กอลริลลา
|
150+
|
75+
|
535
|
460
|
A. afrarensis
|
30-60
|
30-60
|
400
|
400
|
H. habilis
|
40-50
|
40-50
|
650-800
|
650-800
|
H. erectus
|
55
|
55
|
800-1,000
|
800-1,000
|
มนุษย์
|
65
|
58
|
1,400
|
1,300
|
ตาราง เปรียบเทียบน้ำหนักตัวและขนาดสมองของลิงชนิดต่างๆ กับมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วและมนุษย์ในปัจจุบัน
– จากตารางนักเรียนคิดว่าขนาดสมองต่อน้ำหนักของมนุษย์ในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วและลิงชนิดต่างๆ เป็นอย่างไร
จากตารางพบว่า สัตว์ไพรเมตทั่วไปมีขนาดสมองใหญ่ขึ้นเมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่มนุษย์มีขนาดสมองเพิ่มมากเกินสัดส่วนที่ควรเป็น ถ้าขนาดสมองมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทำให้มนุษย์เริ่มคิดในสิ่งที่เป็นปรัชญามากขึ้น ทำให้เกิดวัฒนธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาทางสังคมที่ไม่เกิดในสิ่งมีชีวิตอื่น และความสามารถดังกล่าวจะสะสมและถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆไป ทำให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ทะเลทรายจนถึงแถบขั้วโลกที่มีน้ำแข็งเกือบตลอดปี แม้ว่าสภาพแวดล้อมของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การสะสมวัฒนธรรมของมนุษย์อันเนื่องจากวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมก็ช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ขณะที่สิ่งมีชีวิตหลายชนิดได้สูญพันธุ์ไป จะเห็นได้ว่าการอยู่รอดของมนุษย์ได้อาศัยวิวัฒนาการทางชีววิทยาน้อยลงแต่อาศัยวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมมากขึ้น