ปัจจัยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยนไม่ตายตัวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่มีผลต่อราคาของเงินแต่ละสกุล ได้แก่ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ และยังมีปัจจัยเรื่องความต้องการซื้อขายด้วย โดยสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้
- ผลของเงินเฟ้อที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนณ จุดเริ่มต้น ราคาเงินบาทกับเงินดอลลาร์ควรมีค่าเท่ากัน คือ เงินบาท 1 บาท แลกเงินดอลลาร์ ได้ 1 เหรียญ อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 1:1
แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเกิดภาวะเงินเฟ้อส่งผลให้เงินบาทด้อยค่าลง จึงต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเป็นเงินสกุลดอลลาร์ ส่วนต่างของเงินเฟ้อระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จึงมีผลให้ค่าเงินของสองประเทศไม่เท่ากัน เงินเฟ้อยิ่งสูงและเฟ้อนานก็ยิ่งทำให้เงินด้อยค่าลงมาก เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันก็จะยิ่งทำให้อัตราแลกเปลี่ยนสูง เช่น เงินรูเปียะห์ อินโดนีเซีย ที่มีค่า 13,791 รูเปียะห์ ต่อ 1 ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561
- ผลของอัตราดอกเบี้ยที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน เพราะอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะดึงให้เงินไหลเข้าประเทศ โดยธรรมชาติแล้วเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ที่ใดให้ผลตอบแทนสูง เงินระยะสั้นจะไหลไปที่นั้น ส่งผลให้เงินสกุลที่มีดอกเบี้ยสูงแข็งค่าขึ้น หากเงินไหลเข้าต่อเนื่องค่าเงินจะแข็งค่าค่อนข้างมาก
สำหรับประเทศไทย อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ที่ระดับ 1.50% มาเกือบ 3 ปีแล้ว และเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศถือว่าอยู่ในระดับสูงกว่า จึงดึงให้เงินไหลเข้าประเทศเพื่อซื้อพันธบัตรซึ่งมีผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย
- ผลของความต้องการซื้อขายที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน
นอกจากเงินระยะสั้นที่ไหลเข้ามาเพื่อผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยที่สูงแล้ว ไทยยังมีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าจากการค้าขาย การส่งออกสินค้า และจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศ
เงินที่ไหลเข้าประเทศในส่วนนี้มีผลต่อค่าเงินบาทอย่างไร คำตอบคือ การทำธุรกรรมในประเทศไทยต้องใช้เงินบาท เงินสกุลต่างประเทศที่ไหลเข้ามาต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท เมื่อมีความต้องการซื้อสินค้า (ซึ่งหมายถึงเงินบาท) จากผู้ส่งออก หรือนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ราคาเงินบาทจึงแพงขึ้นหรือแข็งค่าขึ้น
เงินไหลเข้าประเทศมากน้อยแค่ไหนวัดได้จากดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งหมายถึงผลรวมสุทธิของเงินไหลเข้าจากดุลการค้า ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน โดยเงินที่ได้จากการส่งออกสินค้าจะเข้าบัญชีดุลการค้า ส่วนเงินที่ได้จากการท่องเที่ยวจะเข้าบัญชีดุลบริการ
สำหรับประเทศไทย ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลค่อนข้างมากในระดับ 10% ของจีดีพี ความต้องการแลกเงินต่างประเทศเป็นเงินบาทจึงสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าในระดับที่ 33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของกระแสข่าวเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยลงบ้างในปีที่ผ่านมา เพราะหวังว่าเมื่อดอกเบี้ยลดลง เงินที่ไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยจะน้อยลงด้วย และลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท ที่ล่าสุดเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2561 เริ่มแข็งค่าขึ้นไปยืนที่ 31 บาทต่อ 1 ดอลลาร์
ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความต้องการซื้อขายสกุลเงิน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
- อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะดึงให้เงินไหลเข้าประเทศ โดยธรรมชาติแล้วเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ที่ใดให้ผลตอบแทนสูง เงินระยะสั้นจะไหลไปที่นั้น ส่งผลให้เงินสกุลที่มีดอกเบี้ยสูงแข็งค่าขึ้น หากเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องค่าเงินก็จะแข็งค่าค่อนข้างมาก
- การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากปัจจัยนี้จะสะท้อนได้ว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า หรือมีอัตราการขยายตัวที่ดีกว่า มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยยับยั้งการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ และจากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมาว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเป็นตัวดึงดูดกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามา และอุปสงค์ของเงินที่ค่อนข้างมากจะทำให้มูลค่าของเงินมากขึ้นด้วยนั่นเอง
- ความต้องการซื้อขายสกุลเงินมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน โดยเป็นเงินที่ไหลเข้ามาจากการค้าขาย การส่งออกสินค้า และจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศ เงินที่ไหลเข้าประเทศในส่วนนี้มีผลต่อค่าเงินบาทอย่างไร คำตอบคือ การทำธุรกรรมในประเทศไทยต้องใช้เงินบาท เงินสกุลต่างประเทศที่ไหลเข้ามาจึงต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท เมื่อมีความต้องการซื้อสินค้า (ซึ่งหมายถึงเงินบาท) จากผู้ส่งออก หรือนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ราคาเงินบาทก็จะแพงขึ้นหรือแข็งค่าขึ้น
ขอบคุณข้อมูล https://thaipublica.org/
และ https://www.scb.co.th/