“ทุกสิ่งที่มีมวล (Mass) จะมีแรงโน้มถ่วง ยิ่งมีมวลมากเท่าใด ก็ยิ่งมีแรงโน้มถ่วงมากขึ้น” แต่ทั้งนี้จุดอ่อนของแรงโน้มถ่วงคือ ระยะทาง กล่าวคือ ถ้าระยะห่างจากวัตถุที่มีแรงโน้มถ่วงเพิ่มมากขึ้น แรงโน้มถ่วงที่จะส่งผลต่อสิ่งนั้นจะต่ำลง หรือก็คือ แรงโน้มถ่วงอ่อนแรงลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นในทางกลับกันแรงโน้มถ่วงก็จะมีผลมากถ้าเราดึงดูดสิ่งที่อยู่ใกล้ ๆ ตัวมัน
แรงโน้มถ่วงของโลก
แรงโน้มถ่วงของโลกนั้นมาจากมวลโดยรวมทั้งหมดของโลกเอง ซึ่งมวลทั้งหมดของโลกนี้เองที่ทำให้เกิดแรงดึงดูดกับมวลของตัวเรา ทำให้เราสามารถชั่งน้ำหนักตัวบนโลกได้ค่าหนึ่งซึ่งเป็นไปตามมวลของโลก นั่นหมายความว่าคุณจะสามารถลดน้ำหนักได้โดยไม่ต้องควบคุมอาหาร ไม่ต้องออกกำลังกาย หรือลดมวลกล้ามเนื้อ เพราะเพียงแค่คุณเดินทางไปชั่งน้ำหนักตัวบนดาวเคราะห์ที่มีมวลน้อยกว่าโลก น้ำหนักตัวของคุณก็จะลดลงเป็นอย่างมาก (แต่รูปร่างของคุณยังเหมือนเดิม) ยกตัวอย่าง เช่น
ถ้าคุณหนัก 100 ปอนด์ บนโลก คุณจะชั่งน้ำหนักของคุณด้วยตาชั่งได้
17 ปอนด์ บนดวงจันทร์
28 ปอนด์ บนดาวพุทธ
91 ปอนด์ บนดาวศุกร์
38 ปอนด์ บนดาวอังคาร
253 ปอนด์ บนดาวพฤหัส
107 ปอนด์ บนดาวเสาร์
91 ปอนด์ บนดาวยูเรนัส และ
114 ปอนด์ บนดาวเนปจูน
แรง g คืออะไร
ที่เราเรียกกันว่าแรง g นั้น ในทางหลักของวิชาฟิสิกส์ มันมาจากคำว่า gravity ถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุดึงดูดเข้าหากัน ยกตัวอย่างเช่น แรงดึงดูดของโลกที่ยึดเหนี่ยววัตถุทุกอย่างเอาไว้กับพื้นโลก อย่างไรก็ดี แรง g ที่พูดถึงกันในการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตนั้น ถือเป็นแรงที่มีการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ หรือการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น
ตัวอย่างรถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วคงที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากรถทำความเร็วคงที่ได้ตลอด ณ ช่วงเวลานั้น จะไม่มีแรง g เกิดขึ้น (แรง g มีค่าเป็น 0) แต่หากรถเบรก ไม่ว่าจะกะทันหัน หรือเบรกตามการขับขี่ปกติ ณ เวลานั้นๆ นั่นแหละที่เราเรียกว่า แรง g ซึ่งจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้าน ความเร็ว ,น้ำหนักวัตถุ อัตราเร่ง การเบรก รวมถึงการเปลี่ยนทิศทาง
เปรียบเทียบแรง g จากกิจกรรมต่างๆ
สรุปได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆล้วนสามารถเกิดแรง g ได้ทั้งสิ้น สุดท้ายเพื่อให้เห็นภาพถึงความแตกต่าง Tonkit360 จัดการรวบรวมค่าของแรง g จากกิจกรรมต่างๆมาฝากกัน
เมื่ออธิบายให้ทราบถึงแรง g กันไปแล้ว คำถามที่ว่า รถบ้านทั่วไปมีแรง g เท่าไหร่ ซึ่งคำตอบก็คือ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุชนิดใด หากมีการเคลื่อนที่และมีปัจจัยเรื่องของ ความเร็ว อัตราเร่ง และการเปลี่ยนทิศทางก็ล้วนมีแรง g เกิดขึ้นได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี หากพูดถึงรถยนต์ทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่เราใช้ความเร็วระดับ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ค่าของแรง g จะอยู่ที่ 0.7g – 1.0g
แรงโน้มถ่วงของโลกในแนวดิ่งที่ระดับน้ำทะเล : 1g
รถสปอร์ต : 1.3g
การจาม : 3g
การไอ: 3.5g
รถไฟเหาะตีลังกา: 4g
รถฟอร์มูล่า วัน : 5g
เครื่องบินไอพ่น : 9-12g
การชนประสานงานของรถยนต์อันเป็นเหตุให้คนขับเสียชีวิต : 70-100g
ขีปนาวุธ (มิสไซล์) : 100g
การทำงานของลูกสูบเครื่องยนต์รถฟอร์มูล่า วัน ที่อัตราเร่งสูงสุด : 8,600g
ขอบคุณข้อมูล https://www.sanook.com/auto/65137/ และ https://www.scimath.org/