ความหมายของพันธุกรรม
พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นหนึ่ง หรือจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน เช่น ลักษณะสีผิว ลักษณะเส้นผม ลักษณะสีตา เป็นต้น ถ้านักเรียนสังเกตจะเห็นว่าในบางครั้งอาจมี คนทักว่ามีลักษณะ เส้นผมเหมือนพ่อ ลักษณะสีตาคล้ายกับแม่ซึ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะถูกส่งผ่านจาก พ่อแม่ไป ยังลูกได้ หรือส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคน รุ่นต่อไป เราเรียกลักษณะ ดังกล่าวว่า ลักษณะทางพันธุกรรม (genetic character) ในการพิจารณาลักษณะ ต่างๆ ว่าลักษณะใดเป็นลักษณะทาง พันธุกรรมนั้น จะต้องพิจารณาหลายๆ รุ่น หรือหลายชั่วอายุ เพราะลักษณะทาง พันธุกรรมบางอย่างอาจไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจปรากฏในรุ่นหลานได้
โครโมโซม
หน่วยพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตคือ เซลล์ ภายในประกอบด้วยไซโทพลาสซึม และนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์ ภายในนิวเคลียสจะมีโครโมโซม ซึ่งมีลักษณะ เป็นเส้นใยบาง ๆ พันกันอยู่
แต่ละโครโมโซมจะมียีนที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จะมีจำนวนโครโมโซมแตกต่างกันออกไป
โครโมโซมของร่างกายคนเรามีอยู่ 46โครโมโซม เมื่อนำมาจัดเป็นคู่ได้ 23 คู่ มีโครโมโซมอยู่ 22 คู่ ที่เหมือนกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย เรียกโครโมโซมทั้ง 22 คู่นี้ว่า โครโมโซมร่างกาย(autosome) ส่วนคู่ที่ 23 จะต่างกันในเพศหญิง และเพศชายคือ ในเพศหญิงโครโมโซมคู่นี้จะเหมือนกัน เรียกว่า โครโมโซม XX ส่วนในเพศชายโครโมโซมหนึ่งแท่งของคู่ที่ 23 จะเหมือนโครโมโซม X ในเพศหญิง ส่วนอีกโครโมโซมมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เรียกว่า โครโมโซม Y ส่วนโครโมโซมคู่ที่ 23 ในเพศชาย เรียกว่า โครโมโซม XY ดังนั้นโครโมโซมคู่ที่ 23 ทั้งในเพศหญิงและในเพศชาย จึงเป็นคู่โครโมโซมที่กำหนดเพศใน มนุษย์จึงเรียกว่า โครโมโซมเพศ (sex chromosome)
การแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิตมี 2 แบบ คือ
1. การแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส เป็นการแบ่งนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย โดยการแบ่งเซลล์เดิมออกเป็น 2 เซลล์ใหม่ โดยที่นิวเคลียสของทั้ง 2 เซลล์จะเท่ากับเซลล์เดิมด้วยเช่นกัน มีวิธีแบ่งเป็นระยะต่างๆ ดังภาพ
ระยะอินเตอร์เฟส โครโมโซมมีลักษณะคล้ายเส้นใย เรียกว่า เส้นใยโครมาติน (a)
ระยะโปรเฟส โครโมโซมหดสั้นเข้า จึงมองเห็นเป็นเส้นโครโมโซมสั้นลง และมีการสร้างเส้นใยสปินเดิล (b – c)
ระยะเมทาเฟส โครโมโซมเรียงตัวกันกลางเซลล์ (d)
ระยะแอนาเฟส โครมาตินของแต่ละโครโมโซมถูกดึงแยกจากกันโดยเส้นใยสปินเดิล (e)
ระยะเทโลเฟส เกิดการแบ่งไซโทพลาสซึมโดยเยื่อหุ้มเซลล์คอดเข้าหากัน จนกระทั่งเซลล์แยกออกจากกัน (f)
2. การแบ่งแบบไมโอซีส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ กล่าวคือเป็นการแบ่งนิวเคลียสของเซลล์ไข่
(egg) และเซลล์อสุจิ (sperm) การแบ่งเซลล์ดังกล่าวนี้นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลง 2 ขั้นตอน คือ
ไมโอซีส I เซลล์เดิมแบ่งออกเป็นเซลล์ใหม่ โดยนิวเคลียสของเซลล์ใหม่จะมีจำนวนโครโมโซมครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม
ไมโอซีส II เป็นการแบ่งเซลล์เหมือนกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส หลังจากมีการแบ่งเซลล์ในขั้นนี้แล้วจะได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ และมีจำนวนเซลล์เพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม ซึ่งมีวิธีแบ่งเซลล์ ดังภาพ
ยีน (GENE)
คือ หน่วยพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม มีลักษณะเรียงกันเหมือนสร้อยลูกปัด ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่โดยผ่านเซลล์สืบพันธุ์ ไปยังลูกหลาน ในคนจะมียีนประมาณ 50,000 ยีน ซึ่งยีนแต่ละตัวจะควบคุม ลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมเพียงลักษณะเดียว ยีนมีองค์ประกอบที่สำคัญเป็น กรดนิวคลีอิก ชนิดที่เรียกว่า ดีเอนเอ(deoxyribonucleic acid : DNA) อันเกิดจากการต่อกันเป็นเส้นของโมเลกุลย่อยที่เรียกว่านิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ส่วนเส้นโมเลกุลจะสั้นหรือยาวเท่าใด ขึ้นอยู่กับปริมาณของโมเลกุลย่อยซึ่ง เราสามารถ อธิบายได้ง่ายๆว่า
one gene one expression
ซึ่งหมายถึง 1 ยีนสามารถแสดงออกได้ 1 ลักษณะเท่านั้น
คู่ของยีน เซลล์ของร่างกายของสิ่งมีชีวิตจะมีโครโมโซมที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมอยู่ 2 ชุดเข้าด้วยกัน เรียกว่าโครโมโซมคู่เหมือน และจากที่กล่าวมาแล้วว่า ยีนซึ่งเป็นตัวควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมจะอยู่บนโครโมโซม ด้วยเหตุนี้ ถ้าพิจารณาลักษณะทางพันธุกรรมลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น ลักษณะสีของดอก จะพบว่าถ้ามียีนที่ควบคุมลักษณะสีของดอกอยู่บนโครโมโซมแท่งหนึ่ง โครโมโซมที่เป็นคู่เหมือนก็จะมียีนที่ควบคุมลักษณะสีของดอกอยู่ด้วยเช่นกัน
อัลลีล (allele) คือ ยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกันแต่ต่างรูปแบบกันถึงแม้จะอยู่บนโครโมโซมคู่เหมือนตรงตำแหน่งเดียวกันก็ตาม เช่น ลักษณะติ่งหู จะมียีนที่ควบคุมอยู่ 2อัลลีล หรือ 2 แบบ คืออัลลีลที่ควบคุมการมีติ่งหู (ให้สัญลักษณ์เป็น B )และอัลลีลที่ควบคุมการไม่มีติ่งหู (ให้สัญลักษณ์เป็น b)
จีโนไทป์ (genotype) คือลักษณะการจับคู่กันของอัลลีลของยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งมี 2 ลักษณะได้แก่
1. ลักษณะพันธุ์แท้ (homozygouse) เป็นการจับคู่กันของยีนที่มีอัลลีลเหมือนกัน เช่น อัลลีลควบคุมการมีติ่งหู 2 อัลลีลจับคู่กัน (BB) อัลลีลที่ควบคุมการไม่มีติ่งหูจับคู่กัน (bb)
2. ลักษณะพันธุ์ทาง (heterozygouse) เป็นการจับคู่กันของยีนที่มีอัลลีลต่างกัน เช่น อัลลีลควบคุมการมีติ่งหูจับคู่กับอัลลีลที่ควบคุมการไม่มีติ่งหู (Bb)
ฟีโนไทป์ (phenotype) หมายถึง ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจีโนไทป์ ซึ่งแสดงออกมาให้เห็นหรือปรากฏแก่ภายนอก เช่นจำนวนชั้นของหนังตา ลักษณะสีตา สีผิว ความสูง เป็นต้น
การแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรม
จากการทดลองการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดลกล่าวว่า “เมื่อ มีอัลลีลที่แตกต่างกัน 2 อัลลีล อัลลีลหนึ่งจะแสดงออกมาได้ดีกว่า อีกอัลลีลหนึ่ง อัลลีลที่แสดงออกมาได้ดีกว่า เรียกว่า อัลลีลเด่น (dominant allele) จะบดบังอัลลีลที่แสดงออกมาไม่ดีเท่า เรียกว่า อัลลีลด้อย (recessive allele)” หรือกล่าวได้ว่า ลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมที่เกิด จากการจับคู่ของยีน จากพ่อและแม่ และถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกหลาน จะมีการแสดงออกได้ 2 ลักษณะดังนี้
o ลักษณะเด่น (dominant) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏออกมาในทุก ๆ รุ่นอย่างเด่นชัด ซึ่งเกิดจากการจับคู่ของอัลลีล
ที่ควบคุมลักษณะเด่น เหมือนกันจับคู่กันหรืออาจเกิดจากการที่อัลลีลด้อยถูกข่มด้วยอัลลีลเด่นที่จับคู่กัน
o ลักษณะด้อย (recessive) หมายถึง ลักษณะที่แอบแฝงไม่แสดงออกมาให้เห็น เมื่ออยู่คู่กับลักษณะเด่น แต่จ
แสดงออกเมื่อมีการเข้าคู่กับลักษณะด้อย เหมือนกัน ซึ่งโอกาสที่จะแสดงออกให้เห็นจะมีน้อยกว่าการแสดงออก ของลักษณะเด่น
ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
กรรมพันธุ์หรือลักษณะต่างๆในสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อไปได้โดย ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ กล่าวคือ เมื่อเกิดการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่ ของแม่และอสุจิของพ่อ ลักษณะต่าง ๆ ของพ่อและแม่จะถ่ายทอดไปยังลูก ตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรม ได้แก่ผมหยักศก หรอ ผมตรง
จากที่กล่าวมาแล้วนั้นไม่ได้หมายความว่าลักษณะต่างๆทุกอย่างจะเป็น ลักษณะทางพันธุกรรม ลักษณะบางอย่างเราไม่ถือว่าเป็นลักษณะทางพันธุกรรม เพราะลักษณะบางอย่างอาจเกิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เกิดขึ้นจากการ ถ่ายทอดลักษณะจากบรรพบุรุษ เช่น ลักษณะที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เช่น แผลที่เกิดจากมีดบาด หรือเกิดจากการทำศัลยกรรมตกแต่งเพิ่มเติมทางการแพทย์ เป็นต้น
ความแปรผันทางพันธุกรรม
นักวิทยาศาสตร์จำแนกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดออกจากกัน โดยดูจากความ คล้ายคลึง และแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตที่ ต่างชนิดกัน มักจะมองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น โลมาจะต่างไปจากลิง เป็นอย่างมาก ถึงแม้สัตว์ทั้งสองชนิดนี้จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ความแตกต่างเกิดขึ้นจากความแปรผันภายใน สิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวกันได้ แต่จะมีความแตกต่างน้อยกว่าที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน เราทั้งหลายถูกจัดอยู่ในกลุ่มของมนุษย์ เนื่องจากเรามีลักษณะหลายอย่าง เหมือนกัน และมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน แม้แต่ฝาแฝดที่เป็นแฝดร่วมไข่ ถึงแม้ว่าจะมีหน้าตาใกล้เคียงกันมากที่สุด ก็ยังมีลักษณะแตกต่างกัน ความแตกต่างดังกล่าวเรียกว่า “ความแปรผันทางพันธุกรรม” (genetic variable)
ความแปรผันทางพันธุกรรม จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง
ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ลักษณะความแปรผันไม่ต่อเนื่องเกิดจากอิทธิพลทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว เช่น ลักษณะลักยิ้ม (มีลักยิ้มหรือไม่มีลักยิ้ม) ติ่งหู (มีติ่งหูหรือไม่มีติ่งหู) ห่อลิ้น (ห่อลิ้นได้หรือห่อลิ้นไม่ได้) เป็นต้น
2. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง
ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง (continuous variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้เด่นชัด เช่น ความสูง น้ำหนัก โครงร่าง สีผิว ซึ่งเป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เช่นความสูงของคน ถ้าเราได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีการออกกำลังกาย จะทำให้เรามีร่างกายสูงขึ้นได้
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ถูกควบคุมโดยยีนเป็นตัวกำหนดและ ถ่ายทอดจาก พ่อแม่ไปยังรุ่นลูกหลาน ลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นที่เราเรียกว่าฟีโนไทป์ ซึ่งฟีโนไทป์บางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับยีนเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทำให้ลักษณะต่างๆมีความแตกต่างไปจากเดิม และอาจทำให้ เกิดความผิดปกติได้
การกลาย (mutation) หรือการผ่าเหล่า คือการเปลี่ยนแปลงที่ยีนทำให้คุณสมบัติ แตกต่างไปจากเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือการชักนำให้เกิด โดยใช้รังสีหรือสารเคมี และเกิดขึ้นได้กับทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ลักษณะบางลักษณะ ที่เกิดจากการกลาย อาจช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ใมนบาง สภาพการกลายอาจเป็นส่นหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้ เนื่องจากยีนที่เปลี่ยนไป จะสร้าง โปรตีนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลทำให้ลักษณะบางอย่างของร่างกายผิดปกติไป การกลายแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
การกลายของเซลล์ร่างกาย
การกลายของเซลล์ร่างกาย (somatic mutation) ไม่สามารถถ่ายทอด ไปยังลูกหลาน เช่นการเกิดมะเร็งผิวหนังของคนมักเกิดขึ้นกับคนที่มีผิวขาว มากกว่าคนที่มีผิวเข้ม สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผิวหนังถูกแสงแดดจัดสะสม เป็นเวลานาน รังสีอุลตราไวโอเลตในแสงแดดจะทำลายยีนของเซลล์ผิวหนัง ทำให้อัตราการสร้างเซลล์ผิวหนัง ทดแทนบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นในลักษณะ ที่ร่างกายควบคุมไม่ได้ จึงเกิดเป็นตุ่มเนื้อที่มีการขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่าเนื้องอก (tumor) ถ้าการขยายยังดำเนินต่อไป เนื้องอกนี้จะกลาย เป็นมะเร็งผิวหนัง (skin cancer) มักจะมีสีเข้มถึงสีดำ เนื่องจากบริเวณนี้ จะสร้างเม็ดสีที่เรียกว่า เมลานิน (melanin) เพิ่มเติม เพื่อป้องกันแสงแดดที่ส่อง ลงมากระทบผิวหนัง นอกจากนี้ ในกระบวนการแบ่งเซลล์ก็อาจทำให้เกิด การกลายได้ เนื่องมาจากการไขว้กันของโครโมโซม ซึ่งเรียกว่า การไข้เปลี่ยน (crossing – over)
การกลายของเซลล์สืบพันธุ์
การกลายของเซลล์สืบพันธุ์ (sex mutation) สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ซึ่งเกิดกับยีนในเซลล์สืบพันธุ์ผิดปกติ การกลายนอกจากจะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ แล้ว มนุษย์ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ (รวมทั้งตัวของ มนุษย์เอง) ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เช่น รังสีต่างๆ (รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา รังสีอุลตราไวโอเลต) สารเคมีบางชนิด (สารเคมีในอาหาร สารกันบูด สารกำจัดศัตรูพืช) การกลายล้วนมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เช่น กรณีที่มีผลรุนแรงอาจทำให้ไม่มีบุตร ตั้งครรภ์แล้วแท้ง คลอดก่อนกำหนด มีอวัยวะไม่ครบ หรือมีอาการผิดปกติมาแต่กำเนิด แต่ถ้าได้รับผลน้อยก็อาจ ทำให้มีความผิดปกติเล็กน้อย ซึ่งทางการแพทย์สามารถแก้ไขได้ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ มีนิ้วเกินมา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าการกลายจะมีผลเสียไปทั้งหมด บางเรื่องก็มีผลดีต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การเพิ่มความสามารถในการต้านทานโรค ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิต จางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anaemia) ที่ฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ด เลือดแดงมีน้อยทำให้ความสามารถในการลำเลียงก๊าซออกซิเจนมีน้อยตามไปด้วย เพราะเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลายหรือเสียได้ง่าย ผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง หรือผู้ที่เป็นพาหะจะมีความต้านทานต่อโรคมาเลเลียสูงมาก เพราะเชื้อมาลาเลียจะไม่สามารถอยู่ในเซลล์เม็ดแดงที่เสียชีวิตแล้วได้
โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรม คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เช่น รูปร่าง โครงสร้าง จำนวนโครโมโซม ความผิดปกติของโครโมโซมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ความผิดปกติของโครโมโซมร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
เกิดจากการขาดหายของโครโมโซม ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการขาดหายของโครโมโซมร่างกายได้แก่ กลุ่มอาการคริดูชาต์ (Cri-du-chat syndrome) เกิดจากการที่ส่วนของแขนข้างสั้นของโครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไป 1 โครโมโซม ความผิดปกตินี้จะพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย ลักษณะอาการที่พบคือ ศีรษะเล็กกว่าปกติ ใบหูต่ำ หน้ากลม ตาห่างและชี้ คางเล็กจมูกแบน มีอาการปัญญาอ่อน มีเสียงร้องแหลมสูงเหมือนแมว จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Cat – cry syndrome
เกิดจากการเพิ่มจำนวนโครโมโซม ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากการเพิ่มจำนวนโครโมโซมได้แก่
กลุ่มอาการพาโตว์ กลุ่มอาการเอ็ดวาร์ด กล่มอาการดาวน์
2. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ โครโมโซมเพศ นั้นผู้หญิง คือ XX และผู้ชาย คือ XYดังนั้นจะเกิดจากผิดปกติ
ของโครโมโซม X หรือ Y เท่านั้นอาการผิดปกติบนโครโมโซม Xนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า X-Link ซึ่งมีลักษณะเป็นยีนด้อย ตัวอย่างของโรคได้แก่ ตาบอดสี โรคทาลัสซีเมีย โรคบกพร่องทางเอ็นไซม์ โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบมีคำกล่าวหนึ่งกล่าวว่า
“อันชายเป็นโรค X-Link ชายนั้นจักได้รับยีนชั่วมาจากมารดร”
“อันหญิงใดเป็นโรค X-Link บิดรและบุตราจักเป็นโรคนั้นชั่วกัปชั่วกัลป์”
ประโยคข้างต้นนั้นหมายถึง โรค X-Link เป็นโรคที่เกิดบนโครโมโซม X ซึ่งผู้ชายจะมีโครโมโซมเพศคือ XY ถ้าหากผู้ชายคนไหนเป็นโรค X-Link ผู้ชายคนนั้นจะต้องได้รับโครโมโซมที่เป็นโรคมาจากแม่อย่างแน่นอนและเนื่องจากยีนส์ที่เป็นโรคนั้นเป็นยีนด้อย ดังนั้น ถ้าผู้หญิงคนไหนเป็นโรคแสดงว่า พ่อและลูกชายจะต้องเป็นโรคนั้นตลอดไป