โอเมก้า 6 คืออะไร?
โอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันแบบไม่อิ่มตัว ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้เช่นเดียวกันกับ โอเมก้า 3 แต่เราสามารถได้รับจากการรับประทานอาหาร กรดไขมันโอเมก้า 6 ที่สำคัญมีอยู่ 2 ประเภท คือ กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic acid : LA) และกรดไขมันอะราคิโดนิก (Arachidonic acid : ARA) พบมากในในน้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน ข้าวโพด เป็นต้น
ความสำคัญของโอเมก้า 6 คือเป็นตัวถ่วงสมดุลของโอเมก้า 3 อีกทีหนึ่ง ดังนั้นหากร่างกายได้รับทั้งโอเมก้า 3 และ 6 พร้อมกันก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาในการทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของกรดไขมันโอเมก้า 6 คือ
- รักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวจึงลดปัญหาผิวแห้งแตกเป็นขุย
- ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้เป็นปกติ
- กรดไขมันโอเมก้า 6 ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ร่างกายมีระบบไหลเวียนโลหิตที่สมบูรณ์ กรดไขมันโอเมก้า 3 จะทำงานตรงกันข้ามกันคือทำให้เลือดไหลเวียนดี ยับยั้งการอักเสบ จึงไม่ควรที่จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไป เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้าทั้งสองชนิดแม้จะทำงานตรงกันข้ามกัน แต่ร่างกายของเราต้องการกรดไขมันทั้งสองเพื่อถ่วงสมดุลกัน ต้องทานให้เป็นและสมดุล
โอเมก้า 3 กับ โอเมก้า 6 ต่างกันอย่างไร?
ไขมันโอเมก้า ทั้ง 3 และ 6 เป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัวเช่นกัน แต่จะทำงานที่ตรงข้ามกัน จึงทำให้เกิดความสมดุลในร่างกาย ร่างกายเราจะใช้ประโยชน์ของทั้งคู่ จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ได้ ยกตัวอย่าง กรดไขมันโอเมก้า 3 ทำให้เลือดไหล ยับยั้งการอักเสบ แต่ถ้าหากคุณมีบาดแผลกลุ่มของกรดไขมันโอเมก้า 6 จะทำให้เลือดแข็งตัว ซึ่งจะทำงานตรงข้ามและถ่วงดุลกัน
หลายคนอาจคิดว่าร่างกายเราต้องการโอเมก้า 3 มากกว่าเนื่องจากการสื่อสารในโฆษณาส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนั้น แต่ความตริงแล้วร่างกายต้องการกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 3 : 1 จนถึง 5 : 1 เท่า แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะกรดไขมันโอเมก้า 6 ส่วนใหญ่พบได้ในน้ำมันพืชที่เรากินทุกวัน จึงไม่ค่อยพบว่ามีการขาดสารอาหารประเภทนี้