เนื้อหาเรื่อง การใช้ประโยคอธิบายเหตุการณ์ในอดีต (Past simple tense)
Past Simple Tense คือประโยคที่ใช้อธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว และจบลงแล้ว ขอให้สังเกตความแตกต่างระหว่างประโยคที่ที่ใช้อธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกับประโยคที่ใช้อธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นและจบลงแล้ว ในอดีต
ประโยค present tense : I get up at 6.30 am. everyday.
(ฉันตื่นนอนเวลาหกโมงครึ่งทุกวัน)
ประโยค past tense : I got up at 8.00 am. yesterday.
(เมื่อวานนี้ ฉันตื่นนอนแปดโมงเช้า)
จากประโยคสองประโยคข้างบน จะเห็นว่า มีความแตกต่างกันสองส่วนคือ
ประโยค |
Present tense |
Past tense |
คำกริยา |
get |
got |
คำที่บอกเวลา |
everyday |
yesterday |
โครงสร้าง S + V2 +ส่วนขยาย
I |
went out last night. |
We |
cooked yesterday. |
He/she it |
moved out two weeks ago |
You |
worked late last week. |
They |
left the day before yesterday. |
คำหรือวลีที่ใช้ใน past tense
คำบอกเวลา เช่น
yesterday (เมื่อวานนี้) the day before yesterday (เมื่อวานซืนนี้)
last week (หรือคำอื่นๆที่ ใช้ last นำหน้า เช่น last year, last month, etc.)
four weeks ago (หรือคำอื่นๆที่ ใช้ ago ลงท้าย เช่น ten years ago, two
hours ago, etc.)
คำเหล่านี้มักจะวางไว้ท้ายประโยค หรืออาจ วางไว้หน้าประโยคก็ได้ เช่น
I washed my car two weeks ago.หรือ Two weeks ago,I washed my car .
(ฉันล้างรถเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว)
She went to Korea last month. หรือ Last month, She went to Korea.
(หล่อนไปเกาหลีเมื่อเดือนที่แล้ว)
หลักการใช้
1. ใช้อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ้นสุดแล้ว มี คำหรือวลีที่
บอกเวลาในอดีตกำกับด้วย เช่น
I saw you yesterday. (ฉันเห็นคุณเมื่อวานนี้) ประธาน – I กริยา – saw คำหรือวลีที่ บอกเวลา – yesterday.
He worked in Paris last year. (เขาทำงานที่ปารีสเมื่อปีที่แล้ว) ประธาน – He กริยา – worked คำหรือวลีที่ บอกเวลา – last year
2. ใช้อธิบายเหตุการณ์หนึ่งซึ่งกระทำเป็นประจำในอดีต แต่บัดนี้ไม่ได้ทำอีก เช่น
When I was young, I walked to school everyday.
(เมื่อฉันยังยังเด็ก ฉันเดินไปโรงเรียนทุกวัน) ปัจจุบันนี้เขาไม่ได้เดินไปโรงเรียนแล้ว When I was young – เป็นข้อความที่บอกเวลาในอดีต ข้อความนี้เรียกว่า dependent clause ซึ่งเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ในตัวเองต้องพึ่งพาประโยคอื่น จึงจะมีความหมายสมบูรณ์ ไม่สามารถใช้เพียงลำพังได้ คำกริยาที่ใช้ในข้อความนี้ ต้องอยู่ในรูปของ อดีต (“was” เป็น รูป อดีต ของ “is”) ส่วน ประโยคหลัก “I walked to school everyday” – I ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค walked to (เดินไปยัง) เป็นกริยาที่บอกการกระทำในอดีต school (โรงเรียน) ทำหน้าที่เป็นกรรม everyday (ทุกวันในอดีต) ทราบจากข้อความที่บอกว่า When I was young.
การกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต คือในเวลาที่ล่วงเลยมาแล้ว โดยปกติเราจะพบ Adverbs of Time ที่บอกเวลาอดีตกำกับไว้เสมอ เช่น
yesterday (เมื่อวานนี้) this morning (เมื่อเช้านี้) the day before yesterday (เมื่อวานซืนนี้)
คำที่ขึ้นต้นด้วย “last” เช่น last night ( เมื่อคืนที่แล้ว) last week (สัปดาห์ที่แล้ว) last month (เดือนที่แล้ว) last Saturday (วันเสาร์ที่แล้ว) last January (เดือนมกราคมที่แล้ว)
คำที่ลงท้ายด้วย “ago” เช่น a month ago (เมื่อเดือนที่ผ่านมาแล้ว) two years ago (สองเดือนที่ผ่านมาแล้ว) five hours ago (ห้าชั่วโมงที่ผ่านมาแล้ว) six weeks ago (หกสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว) a moment ago (เมื่อสักครู่นี้) เวลาซึ่งเป็นปี ค.ศ. ในอดีต ขึ้นต้นด้วย “in” เช่น in 1999
รูปประโยคบอกเล่า (Affirmative Sentence)
ประธาน + กริยาช่องที่ 2 (โดยการเปลี่ยนรูป หรือ เติม ed)
Present Simple | Past Simple |
He plays football every day | He played football yesterday. |
I walk to work every day. | I walked to work ten years ago. |
She washes her clothes herself every day. | She washed her clothes herself last year. |
หลักการเติม ed ที่คำกริยา
1. กริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้เติม d ได้เลย เช่น
love – loved = รัก move – moved= เคลื่อน
hope – hoped = หวัง
2. กริยาที่ลงท้าย ด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น I แล้วเติม ed เช่น
cry – cried = ร้องไห้ try – tried = พยายาม
marry – married = แต่งงาน
ข้อยกเว้น ถ้าหน้า y เป็นสระ ให้เติม ed ได้เลย เช่น
play – played = เล่น stay – stayed = พัก , อาศัย
enjoy – enjoyed = สนุก obey – obeyed = เชื่อฟัง
3. กริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed เช่น
plan – planned = วางแผน stop – stopped = หยุด
beg – begged = ขอร้อง
4. กริยาที่มี 2 พยางค์ แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้น มีสระตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed เช่น
concur – concurred = ตกลง, เห็นด้วย occur – occurred = เกิดขึ้น
refer – referred = อ้างถึง permit – permitted = อนุญาต
ข้อยกเว้น ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ไม่ต้องเติมพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา เช่น
cover – covered = ปกคลุม open – opened = เปิด
5. นอกจากกฏที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อต้องการให้เป็นช่อง 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น
walk – walked = เดิน start – started = เริ่ม
worked – worked = ทำงาน
ประโยคคำถาม (Interrogative)
1. ประโยคที่มีกริยา verb to be ( was, were ) เมื่อต้องการเปลี่ยนประโยคประเภทนี้ให้เป็น คำถาม ให้ย้าย verb to beมาวางไว้หน้า แล้วใส่เครื่องหมาย “?” ท้ายประโยค เช่น
ประโยคบอกเล่า |
ประโยคคำถาม |
He was at school yesterday. | Was he at school yesterday? |
They were at home yesterday. | Were they were at home yesterday ? |
2. ประโยคประเภทอื่นๆที่ไม่อยู่ในกฎข้อ 1 เมื่อต้องการทำเป็น past tense ให้ใช้กริยา “Did” มาช่วย และเมื่อใช้กริยา “Did” มาช่วยแล้ว กริยาเดิมในประโยคคำถามต้องเปลี่ยนรูปให้เป็นกริยาช่องที่ 1 ด้วย
Did + ประธาน + กริยารูปเดิม+ ส่วนขยาย
ประโยคบอกเล่า |
ประโยคคำถาม |
He walked to work yesterday. | Did he walk to work yesterday? |
They worked late last night. | Did they work late last night? |
Rob did the exercise last week. | Did Rob do the exercise last week? |
สำหรับตัวอย่างในประโยคสุดท้าย คำกริยา “ did ” เป็นกิริยาช่วย ในการเปลี่ยนประโยคให้เป็น past tense นั้น ไม่มีคำแปล แต่ “ did ” ซึ่ง เป็นกริยาแท้ในประโยคบอกเล่า มีความหมายว่า “ ทำ ” เมื่อใช้ “ did ” มาช่วยแล้ว ” “ did ” ซึ่ง เป็นกริยาแท้ต้องเปลี่ยนกลับไปเป็น “ do”
ประโยคปฏิเสธ (Negative)
สำหรับประโยคแบบที่ 1 ให้เติม “not” หลังกริยาได้เลย เช่น
ประโยคบอกเล่า |
ประโยคปฏิเสธ |
He was at work yesterday. | He was not at work yesterday. |
They were at the party last night. | They were not at the party last night. |
ในประโยคปฏิเสธ, was not หรือ were not สามารถเขียนแบบย่อได้
was not เขียนย่อได้ เป็น wasn’t were not เขียนย่อได้ เป็น weren’t
ส่วนประโยคแบบที่ 2 ให้ใช้กริยา “ did ” เข้ามาช่วย แล้วเติม “not” ท้ายคำว่า “ did ” (หรือใช้รูปย่อ : didn’t ก็ได้)
ประธาน + didn’t + กริยารูปเดิม+ ส่วนขยาย
ประโยคบอกเล่า |
ประโยคปฏิเสธ |
ประโยคคำถาม |
He walked to work yesterday. | He didn’t walk to work yesterday. | Did he walk to work yesterday? |
They worked late last night. | They didn’t work late last night. | Did they work late last night? |