นักจุลชีววิทยา คือนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านจุลชีววิทยา หรือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จุลินทรีย์ต่าง ๆ โดยศึกษาทั้งธรรมชาติ การเจริญเติบโต คุณสมบัติและลักษณะของสารทางพันธุกรรม การนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
นักจุลชีววิทยา อาจแบ่งเนื้อหาการศึกษาออกเป็น
- สรีรวิทยาของจุลินทรีย์ ศึกษาหน้าที่ทางชีวเคมี การเจริญเติบโต เมตาบอลิซึม และโครงสร้างของเซลล์ของจุลินทรีย์
- พันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ของเซลล์ของจุลินทรีย์และการสร้างหรือควบคุมยีน สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับอณูชีววิทยา
- จุลชีววิทยาทางการแพทย์ ศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์ในโรคของมนุษย์ กระบวนการก่อโรคของจุลินทรีย์ และระบาดวิทยา สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน
- จุลชีววิทยาของสิ่งแวดล้อม ศึกษาหน้าที่และความหลากหลายของจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ รวมทั้งนิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ บทบาทของจุลินทรีย์ในวัฏจักรสารอาหาร
- จุลชีววิทยาของอุตสาหกรรม ศึกษาการใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การหมัก การบำบัดน้ำเสีย สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ
- จุลชีววิทยาของอากาศ ศึกษาจุลินทรีย์ที่อยู่ในอากาศ
- จุลชีววิทยาของอาหาร ศึกษาการเน่าเสียของอาหารที่มีสาเหตุจากจุลินทรีย์
นอกจากนั้นยังสามารถแบ่งตามประเภทของจุลินทรีย์ เช่น
- การศึกษาแบคทีเรีย (Bacteriology)
- การศึกษาเห็ด รา และยีสต์ (Mycology)
- การศึกษาไวรัส (Virology)การศึกษาระบบภูมิคุ้มกัน (Immunology)
งานของนักจุลชีววิทยานั้นส่วนมากจะเป็นการตรวจวิเคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพ หรือตรวจหาตัวก่อเชื้อ ในผลิตภัณฑ์ ในอาหาร ทั้งของอุปโภคและบริโภค โดยมีตำแหน่งงานอยู่มากมายทั้งในภาครัฐและเอกชน
ลักษณะการทำงาน
ตัวอย่างลักษณะงาน.ในหน่วยงานของรัฐบาล ในหน่วยงาน แบ่งงานของห้องปฏิบัติการออกเป็น 2 กลุ่ม 5 ห้องปฏิบัติการ
- กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุข (กลุ่ม คบส.) ประกอบด้วย
- งานอาหาร : ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภค อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน
- งานยา : ตรวจวิเคราะห์ยาแผนปัจจุบัน สมุนไพร อาหารเสริม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- งานรังสีและเครื่องมือแพทย์ : ตรวจคุณภาพเครื่องเอกซเรย์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการฉายรังสี
- กลุ่มชันสูตร ประกอบด้วย
- งานพิษวิทยา : ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ สารพิษ แอลกอฮอล์ในเลือด
- งานพยาธิวิทยาคลินิก : ตรวจสิ่งส่งตรวจจากมนุษย์ (เลือด, เสมหะ, throat swab ฯลฯ) เพื่อหาจุลินทรีย์ก่อโรค/สารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรค/ยีนก่อโรคต่าง ๆ (ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ธาลัสซีเมีย หัดและหัดเยอรมัน ดาวน์ซินโดรม โควิด ฯลฯ)
ส่วนใหญ่คนทั่วจะคิดว่านักจุลชีววิทยาจะทำงานอยู่แต่ในห้องแล็บ แต่แท้จริงแล้วยังมีอีกหลายส่วน อาทิ
- งาน QC (Quality Control ควบคุมคุณภาพ) งานแล็บเป็นงานบู๊ ฟาดฟันกับตัวอย่างส่งตรวจเพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่าตัวอย่างนี้ยังอยู่ในเกณฑ์คุณภาพหรือไม่ (ที่เรียกไม่ตกQC) ซึ่งทาง QC เองก็ต้องมีการทำระบบคุณภาพ เพื่อควบคุมคุณภาพของห้องแล็บ ทำให้ผลการตรวจวิเคราะห์ของแล็บมีการสอบกลับย้อนหลังไปยังมาตรฐานสากลได้ทุกกระบวนการ และตลอดทั้งกระบวนการ
- งาน QA (Quality Assurance ประกันคุณภาพ) เป็นงานบุ๋น งานระบบ งานเอกสาร วางแผนเชิงระบบเพื่อให้ทั้งองค์กรและลูกค้าเชื่อมั่นในผลการตรวจวิเคราะห์ เช่น QA จะวางแผนกันว่าใน 1 ปี ต้องทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพอะไรบ้าง (ซึ่งพวกนี้ ISO จะกำหนดให้อยู่แล้วว่าเราควร/ต้อง มีหรือทำอะไร ถึงเวลาออดิเตอร์ก็จะมาตรวจประเมินตามสิ่งที่ ISO กำหนดให้เราทำ) แล้ว QC ก็จะต้องดำเนินการตามที่ QA ได้วางแผนเอาไว้ให้ปฏิบัติตาม
ขอบคุณข้อมูล https://www.trueplookpanya.com/explorer/occupation-step3/49