ฟ้าทะลายโจรกับไข้หวัด
ฟ้าทะลายโจรเป็นยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเหล่าโจรร้าย ส่วนในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่อว่า “ชวนซิเหลียน” แปลว่า “ดอกบัวอยู่ในหัวใจ” ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการแพทย์จีนได้ยกฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มีฤทธิ์แรงพอที่จะรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น ชื่ออื่นๆ ของฟ้าทะลายโจรได้แก่ หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
“ฟ้าทะลายโจร” พืชล้มลุกที่มีกำเนิดจากแถบประเทศอินเดียและศรีลังกา สำหรับในไทยฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่อยู่ในตำรายาไทยโบราณมานาน มีรสขม จัดอยู่ในกลุ่มยาเย็นมีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทยใช้เพื่อบรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอและเจ็บคอ ฟ้าทะลายโจรยังเป็นสมุนไพรที่ถูกบรรจุอยู่ในบียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2542 ของกระทรวงสาธารณสุข
จากผลการศึกษาและวิจัยพบว่า ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญชื่อว่า
“สารแอนโดรกราโฟไลค์” (Andrographolide) ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ในทุกระยะและช่วยยับยั้งการอักเสบ และยังมีสารประกอบสาร Lactone 4 ชนิดที่มีฤทธิ์เย็นหนืด ช่วยจับโปรตีนของไวรัสให้อยู่กับที่ ทำให้ฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจรต้านไวรัสได้ดียิ่งขึ้น และช่วยป้องกันผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะได้ ลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย ช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอป้องกันและบรรเทาหวัด
ประโยขน์ในการใช้
- -ฟ้าทะลายโจรควรใช้เมื่อมีอาการของหวัดอาการใดอาการหนึ่ง เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีน้ำมูก โดยอาการเจ็บคอรับประทานครั้งละ 3-6 กรัมวันละ 4 ครั้ง ส่วนการบรรเทาอาการหวัดให้รับประทานครั้งละ 1.5-3 กรัมวันละ 4 ครั้ง โดยแนะนำให้รับประทานติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
- -ระงับอาการอักเสบ หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ
- -รักษาอาการปวดท้อง ท้องเสีย บิด และกระเพาะลำไส้อักเสบ
- -เป็นยาขมเจริญอาหาร
ข้อข้อควรระวัง
- -ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A ซึ่งการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ไข้รูห์มาติค โรคหัวใจรูห์มาติค และไตอักเสบ
- -ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบเนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A
- -ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
- -.ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่
- -ห้ามใช้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้ที่มีอาการแพ้
- -ห้ามหญิงตั้งครรรภ์หรือให้นมบุตรกินฟ้าทะลายโจร
- -สำหรับคนที่ถ่ายเหลว ท้องเสียบ่อย ระบบย่อยไม่ค่อยดี ภาวะธาตุอ่อนไม่ควรกินฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน หากร่างกายเย็นไปจะทำให้ถ่ายท้อง ถ่ายเหลว เพิ่มขึ้นได้
- -ไม่ควรรับประทานในขนาดสูงติดต่อกันนานเกินไป เพราะอาจเสี่ยงทำให้แขนขาเป็นเหน็บชาหรืออ่อนแรง ท้องเสีย เนื่องจากยามีฤทธิ์เย็น ทำให้เลือดเดินไปเลี้ยงส่วนแขนขาติดขัด ระบบย่อยลำบาก
- -หากรับประทานยาฟ้าทะลายโจรเพื่อลดอาการเจ็บคอ เมื่อครบ 24 ชั่วโมง แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงกว่าเดิม ควรหยุดรับประทานแล้วพบแพทย์
- -ควรระมัดระวังในการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรควบคู่ไปกับยาลดความดันเพราะอาจเสริมฤทธิ์กันให้ความดันโลหิตลดมากกว่าเดิมได้
- -ควรระมัดระวังในการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรควบคู่ไปกับยาที่มีสารกันเลือดเป็นลิ่มและยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น วาร์ฟาริน แอสไพริน เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูล https://dmh.go.th/