กระชายดำมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากได้แก่จังหวัด พิษณุโลก เพชรบูรณ์ น่านเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ
ประโยชน์และสรรพคุณกระชายดำ
- ใช้บำรุงกำลัง
- แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า
- ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
- ช่วยขับลมพิษ
- เป็นยาอายุวัฒนะ
- แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
- โขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน
- ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก
- ต้มดื่มแก้โรคตา
- ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย
- บำรุงผิวพรรณของสตรีให้สดใส เปล่งปลั่ง ฟื้นฟูผิวให้สวยนุ่ม
- บำรุงประสาท
- แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน
- บำรุงโลหิตของสตรี
- รักษาโรคภูมิแพ้
- ช่วยขับลม แก้ท้องอืด
- ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
- แก้อาการตกขาวของสตรี
- แก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี
- ช่วยรักษากลากเกลื้อนและติดเชื้อผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
- รักษาโรคเกาต์
- แก้อาการเหน็บชา
- ใช้ต้มกับน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่ม จะช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด
ในการใช้กระชายดำแบบพื้นบ้านในสมัยก่อนนั้น จะนำมาทำเป็นยาลูกกลอน คือ เอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้งและปั้นเป็นลูกๆ หรือนำมาดองเหล้า (ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม : เหล้าขาว 3 ขวด : น้ำผึ้ง 1 ขวด) ดองทิ้งไว้ประมาณ 9 – 15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1 – 2 เป๊กกระชายดำไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ระยะเวลาการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรกขึ้นได้)หากสุภาพสตรีทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระชายดำ
1. ฤทธิ์ต้านอักเสบ สาร 5,7 – ได้เมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน , ไฮไดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนน และเคโอลินได้ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy) (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
2. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ สาร 5,7,4′-trimethoxyflavone และ 5,7,3′ ,4′ –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4′-tetramethoxyflavone และ 5,7,4′-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน (Wattanapitayakui S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al,2003)
3. พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity) จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิดของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
4. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) ละลดการหดเกร็งของ ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน.(Yenchai C, Prasaphen K, Doodee S, et al,2004)
-ขอบคุณข้อมูล https://www.disthai.com/