มุมมองของคุณ นักออกแบบที่เหมาะกับโลกอนาคตควรเป็นอย่างไร
นักออกแบบไม่ว่าจะแขนงไหน ควรต้องมีคุณสมบัติร่วมคล้ายๆ กัน คือความเป็นนักคิดที่สร้างสิ่งใหม่ๆ ใช้ความคิดสร้างสรรค์บวกกับวิธีการสื่อสาร แต่สำหรับโลกยุคใหม่ที่เรากำลังจะก้าวไปหานี้ นักออกแบบอาจต้องมีมากกว่านั้น ซึ่งผมมองว่ามีสามข้อด้วยกัน
หนึ่งก็คือ ต้องเป็นคนรู้รอบ รู้กว้าง และเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ เข้าด้วยกันให้ได้ เขาต้องรู้ถึงสิ่งที่จะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นลักษณะลูกค้า หรือประเด็นเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม
สองคือ ต้องเป็นคนสมาร์ต ซึ่งไม่ได้แปลว่าฉลาดอย่างเดียว แต่เป็นคนที่มีวิธีการทำงานที่เป็นระบบ บริหารเวลาและทรัพยากรได้ ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการออกแบบมากขึ้น
- การออกแบบเพื่อความยั่งยืน
เมื่อพูดถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในอดีตเราอาจจะรู้จักเพียงแค่ Reuse – Reduce – Recycle แต่พอบรรทัดฐานเปลี่ยนกลายมาเป็น New Normal แล้ว การดีไซน์แบบ Circular Design หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนจะกลายเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมากขึ้น
เมื่อเรามองย้อนกลับไปสิ่งที่จำกัดความคำว่า Circular Design ที่ง่ายที่สุด คือ การทำร้ายโลกให้น้อยลงที่สุด เกิดการนำทรัพยากรมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์ขึ้นมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันธุรกิจหลายด้านต่างหันมาให้ความสนใจกับการออกแบบในลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น แต่อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจมองข้ามไป คือ ธุรกิจ Food Delivery ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น เหล่านัก Packaging Designer ทั้งหลายอาจต้องกลับไปคิดทบทวนเพื่อหาแนวทางและนวัตกรรมมาใช้กับเรื่องนี้ให้มากขึ้น เพื่อบริหารจัดการดูแลเกี่ยวกับขยะบรรจุภัณฑ์มากมายที่เกิดขึ้นนี้
นอกจากนั้นในการเป็น Circular Design นักออกแบบหรือผู้ประกอบการจะต้องตั้งคำถามให้บ่อยขึ้นว่า เราจะผลิตทำไม เพราะอะไรเราจึงผลิต ถ้าเสียสามารถซ่อมได้ไหม หรือเราสามารถยืดระยะเวลาในการใช้งานออกไปได้อีกอย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดย Circular Design จะมีรายละเอียดที่มากกว่าแค่การนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือใช้ในรูปแบบใหม่ๆ
ปรัชญาของการเรียนรู้ที่ง่ายที่สุดคือเรียนเพื่อให้จำให้ได้ หรือเรียนเพื่อให้เข้าใจ แต่เป้าหมายของหลักสูตรเราคือเพื่อให้เอาไปใช้ให้ได้ ต้อง apply ได้ ดังนั้นเราต้องให้นักศึกษาเรียนรู้จากการทำจริง
สิ่งหนึ่งที่เราเจอคือพอลองทำจริงแล้วทำพลาด เขาจะท้อ แต่ขณะนั้นเขาไม่รู้ตัวว่าการพลาดของเขานั่นแหละคือการเรียนรู้ นี่คือสิ่งที่เราอยากให้เกิดในวิชาของเราที่ส่วนใหญ่เป็นโปรเจ็กต์เบส ทุกวิชาต้องมีโจทย์ให้นักศึกษาได้หัดคิดอะไรบางอย่าง
สังเกตได้ว่า เด็กเก่งหรือคนที่พร้อมมากๆ ในการประกอบอาชีพจะมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ต่างประเทศ?
ผมเองเรียนจบก็เริ่มทำงานในต่างประเทศ มันเป็นเรื่องปกตินะ ตลาดงานสมัยนี้ไม่ได้มีอยู่แค่ในเมืองไทย เพราะเราคือประชากรโลก
ซึ่งความท้าทายก็คือการทำงานในบริบทที่ต่างออกไป จุดหนึ่งที่คนไทยต้องปรับตัวคือการเรียนรู้จะอยู่ในวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายกว่าที่เคยชิน เราอยู่ในโลกที่มีความหลากหลายสูงมาก เวลาออกแบบหรือคิดค้นนวัตกรรมที่จะตอบโจทย์ในพื้นที่นั้น จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในปัจจัยและบริบทเหล่านี้ด้วย
แปลกใจพอสมควร ส่วนใหญ่เรามักได้ยินแนวคิดที่ว่าอยากให้เด็กไทยเริ่มหันมาพัฒนาประเทศเราก่อน
ผมว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเลือก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ใช่ว่านักออกแบบทั้งร้อยเปอร์เซ็นจะไหลไปทำงานต่างประเทศ คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังผูกพันกับบ้านเกิด สุดท้ายก็ยังต้องกลับมา
-ขอบคุณข้อมูล https://www.smethailandclub.com/ และ https://themomentum.co/