ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฟิสิกส์ (physics) มาจากภาษากรีก ที่มีความหมายว่า ธรรมชาติ (nature)
ดังนั้นฟิสิกส์จึงควรจะหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย และมีความหมายเช่นนั้นในสมัยก่อน ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่า ปรัชญาธรรมชาติ (natural science) ปัจจุบันความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติได้ขยายขึ้นอย่างมากทั้งในเชิงรายละเอียดและสาขาของความรู้ โดยเฉเพาะความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ( science )
เทคโนโลยี (technology) หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการสร้าง ผลิตหรือใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่ออำนวยประโยชน์มนุษย์โดยตรง หรือสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ใช้สอยได้ เทคโนโลยีต่ออารยธรรมของมนุษย์มาก่อนวิทยาศาสตร์ เพราะมนุษย์รู้จักใช้เทคโนโลยีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ทราบว่ามนุษย์รู้จักใช้ไฟมาตั้งแต่ยุคหิน มนุษย์รู้จักใช้ไฟหลอมโลหะเปนเครื่องมือมาก่อนมีการบันทึกใดๆ ในประวัติศาสตร์ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องกลเพื่อผ่อนแรง เช่น ล้อ ลูกกรอก คานงัดสูบน้ำ และกาลักน้ำมาก่อนจะมีความเข้าใจเชิงวิทยาศษสตร์ และก่อนกาลิเลโอและนิวตันวางรากฐานวิชากลศาสตร์ได้สำเร็จ ศิลปะในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ถือว่าเป็นเทคโนโลยี วิธีของเทคโนโลยีในสมัยก่อนคือ ลองทำดูละทดลองใช้ (cut and try ) ด้วยวิธีการต่างๆ เมื่อทำอย่างใดได้ผลดี ก็จดจำวิธีนั้นไว้ใช้ทำต่อไป ไม่ได้อาศัยความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับช่างตีเหล็ก ลองวิธีต่างๆ จนมีวิธีทำให้เหล็กเป็นเหล็กกล้าและทำใช้เป็นมีดได้ โดยที่ช่างตีเหล็กไม่เข้าใจนักว่าทำไมอย่างนั้นจึงทำให้เหล็กเป็นเหล็กกล้าได้
วิทยาศาสตร์ (science)
หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) หมายถึง องค์ความรู้และวิธีการหาความรู้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) แบ่งเป็น
1. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ(biological science) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต
2. วิทยาศาสตร์กายภาพ (physics science) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต โดยฟิสิกส์(physics) จัดอยู่ในวิทยาศาสตร์กายภาพ
ฟิสิกส์ ( physics) มาจากภาษากรีก ที่มีความหมายว่า ธรรมชาติ (nature)
ดังนั้น ฟิสิกส์ หมายถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติทั้งหลาย ความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงานโดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต โดยศึกษาจากการสังเกต รวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ จนสรุปเป็นทฤษฎีและกฎ นอกจากนี้ความรู้ทางฟิสิกส์ยังได้มาจากจินตนาการโดยการสร้างแบบจำลอง (model) ทางความคิดโดยใช้หลักการของฟิสิกส์ซึ่งนำไปสู่การสรุปเป็นทฤษฎีและมีการทดลองเพื่อตรวจสอบทฤษฎีนั้นๆ
ความรู้ทางฟิสิกส์เกิดจาก
1. คือจากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติและการทดลอง
2. การสร้างแบบจำลองทางความคิดหรือสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา เช่น แบบจำลองอะตอม การสร้างแบบจำลองของรถยนต์ประหยัดพลังงาน แล้วทดลองใช้จนได้ผล จึงนำไปประดิษฐ์หรือสร้างเป็นรถยนต์
ควรรู้ – ทฤษฎี คือสมมติฐานที่ได้พิสูจน์ไว้แล้วว่าเป็นจริงและมีความถูกต้องภายใต้เงื่อนไขนั้น
– กฎ คือทฤษฎีที่ใช้ได้และเป็นจริงเสมอ เช่น กฎการสะท้อนแสง กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์
ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ หมายถึง ความเชื่อถือได้ของความรู้ฟิสิกส์ในเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือ เช่น การใช้เครื่องชั่งมวลแบบดิจิตอลวัดมวลได้ละเอียดกว่าเครื่องชั่งสปริง
สาขาต่างๆทางฟิสิกส์อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1. ฟิสิกส์แผนเดิม (classical physics) เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นก่อนได้แก่ ความร้อน (heat) แสง (light) เสียง(sound) แม่เหล็กไฟฟ้า (electromagneticsm)และกลศาสตร์(mechanics)เป็นต้น
2. ฟิสิกส์แผนใหม่(modern physics) เช่นฟิสิกส์อะตอมและฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นต้น
เทคโนโลยี (technology) หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการสร้าง ผลิตหรือใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์โดยตรง หรือสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ใช้สอยได้
-ขอบคุณข้อมูล https://kruingdoy.wordpress.com/