ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษร 3 ชนิด ได้แก่ ฮิรางานะ คาตากานะ และคันจิ ตัวอักษรฮิรางานะและคาตากานะแสดงเสียง หนึ่งตัวอักษรแทนหนึ่งพยางค์ ส่วนคันจิเป็นตัวอักษรสื่อความหมาย
ตารางตัวอักษรฮิรางานะ
สระ และ พยัญชนะ | yōon | ||||||
あ อะ | い อิ | う อุ | え เอะ | お โอะ | (ยะ) | (ยุ) | (โยะ) |
---|---|---|---|---|---|---|---|
か คะ | き คิ | く คุ | け เคะ | こ โคะ | きゃ เคียะ | きゅ คิว | きょ เคียว |
さ สะ | し ชิ | す สุ | せ เสะ | そ โสะ | しゃ ชะ | しゅ ชึ,ชุ | しょ โชะ |
た ทะ, ตะ | ち ฉิ | つ ทสึ | て เทะ, เตะ | と โทะ, โตะ | ちゃ ฉะ | ちゅ ฉึ,ฉุ | ちょ โฉะ |
な นะ | に นิ | ぬ นุ | ね เนะ | の โนะ | にゃ เนียะ | にゅ นิว | にょ เนียว |
は ฮะ | ひ ฮิ | ふ ฟุ | へ เฮะ | ほ โฮะ | ひゃ เฮียะ | ひゅ ฮิว | ひょ เฮียว |
ま มะ | み มิ | む มุ | め เมะ | も โมะ | みゃ เมียะ | みゅ มิว | みょ เมียว |
や ยะ | ゆ ยุ | よ โยะ | |||||
ら ระ | り ริ | る รุ | れ เระ | ろ โระ | りゃ เรียะ | りゅ ริว | りょ เรียว |
わ วะ | ゐ*** วิ | ゑ*** เวะ | を**** โอะ | ||||
ん -น | |||||||
が งะ, กะ | ぎ งิ, กิ | ぐ งุ, กุ | げ เงะ, เกะ | ご โงะ, โกะ | ぎゃ กงิ ยะ | ぎゅ กงิ ยึ | ぎょ กงิ โยะ |
ざ ซะ | じ จิ* | ず ซึ** | ぜ เซะ | ぞ โซะ | じゃ จะ | じゅ จึ,จุ | じょ โจะ |
だ ดะ | ぢ จิ* | づ ทซึ** | で เดะ | ど โดะ | ぢゃ (จะ) | ぢゅ (จึ,จุ) | ぢょ (โจะ) |
ば บะ | び บิ | ぶ บึ | べ เบะ | ぼ โบะ | びゃ บิ ยะ | びゅ บิ ยึ | びょ บิ โยะ |
ぱ พะ | ぴ พิ | ぷ พึ | ぺ เพะ | ぽ โพะ | ぴゃ เพียะ | ぴゅ พิ ยึ | ぴょ พิ โยะ |
* じ กับ ぢ ออกเสียงคล้ายกัน ** ず กับ づ ออกเสียงเหมือนกัน *** ゐ และ ゑ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ****
を จะออกเสียงเหมือนกับ お แต่ を จะใช้กับคำช่วย を เท่านั้น ในบทเพลงบ่อยครั้งมักได้ยิน を เป็นเสียง wo [โวะ] แทน
“ตัวอักษรญี่ปุ่น” แบบเบื้องต้นมากฝาก เรียกกว่าเป็นการเริ่มต้นขั้นแรกที่จะทำให้เราพัฒนาการเรียนภาษาญี่ปุ่นได้ดียิ่งขึ้นค่ะ ซึ่งก็คล้ายๆ กับการเรียน A-Z ในภาษาอังกฤษนี่แหละค่ะ เพียงแต่ว่าภาษาญี่ปุ่นไม่ได้มีตัวอักษรแค่ชุดเดียว แต่มีถึง 3 ชุดด้วยกัน! โดยประกอบด้วย ฮิรางานะ (Hiragana), คาตาคานะ (Katakana) และ คันจิ (Kanji)
นอกจากนี้ก็ยังมี โรมาจิ (Romaji) ที่เป็นตัวหนังสือภาษาอังกฤษซึ่งใช้แทนการอ่านออกเสียงภาษาญี่ปุ่น หรือที่หลายคนอาจเรียก “ภาษาคาราโอเกะ” นั่นเอง เป็นอีกรูปแบบของระบบการเรียนภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติที่ใช้กันอย่างแพร่หลายค่ะ สำหรับกาเรียนตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้นนี้ แอดมินจะขอแนะนำเฉพาะตัวอักษรฮิรางานะ (Hiragana) และ คาตาคานะ (Katakana) ซึ่งมีทั้งหมดอย่างละ 46 ตัวนะคะ ส่วนตัวคันจิที่เป็นตัวอักษรแบบจีนนั้นมีเป็นพันๆ
ตาราตัวอักษรคาตากานะ
สระ และ พยัญชนะ | yōon | ||||||
ア อะ | イ อิ | ウ อุ | エ เอะ | オ โอะ | ャ ยะ | ュ ยุ | ョ โยะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
カ คะ | キ คิ | ク คุ | ケ เคะ | コ โคะ | キャ เคียะ | キュ คิว | キョ เคียว |
サ ซะ | シ ชิ | ス ซุ | セ เซะ | ソ โซะ | シャ ชะ | シュ ชุ | ショ โชะ |
タ ทะ | チ ชิ | ツ สึ | テ เทะ | ト โทะ | チャ ชะ | チュ ชุ | チョ โชะ |
ナ นะ | ニ นิ | ヌ นุ | ネ เนะ | ノ โนะ | ニャ เนียะ | ニュ นิว | ニョ เนียว |
ハ ฮะ | ヒ ฮิ | フ ฟุ, ฮุ | ヘ เฮะ | ホ โฮะ | ヒャ เฮียะ | ヒュ ฮิว | ヒョ เฮียว |
マ มะ | ミ มิ | ム มุ | メ เมะ | モ โมะ | ミャ เมียะ | ミュ มิว | ミョ เมียว |
ヤ ยะ | ![]() |
ユ ยุ | ![]() |
ヨ โยะ | |||
ラ ระ | リ ริ | ル รุ | レ เระ | ロ โระ | リャ เรียะ | リュ ริว | リョ เรียว |
ワ วะ | (ヰ) ウィ วิ | ![]() |
(ヱ) ウェ เวะ | (ヲ) ウォ โวะ | |||
ン อึง | |||||||
ガ กฺงะ | ギ กฺงิ | グ กฺงุ | ゲ เกฺงะ | ゴ โกฺงะ | ギャ เกฺงียะ | ギュ กฺงิว | ギョ เกฺงียว |
ザ ซะ | ジ จิ | ズ ซุ | ゼ เซะ | ゾ โซะ | ジャ จะ | ジュ จุ | ジョ โจะ |
ダ ดะ | ヂ จิ | ヅ ดสึ | デ เดะ | ド โดะ | ヂャ จะ | ヂュ จุ | ヂョ โจะ |
バ บะ | ビ บิ | ブ บุ | ベ เบะ | ボ โบะ | ビャ เบียะ | ビュ บิว | ビョ เบียว |
パ ปะ | ピ ปิ | プ ปุ | ペ เปะ | ポ โปะ | ピャ เปียะ | ピュ ปิว | ピョ เปียว |
(ヷ) ヴァ va | (ヸ) ヴィ vi | ヴ vu | (ヹ) ヴェ ve | (ヺ) ヴォ vo | ヴャ vya | ヴュ vyu | ヴョ vyo |
シェ เชะ | |||||||
ジェ เจะ | |||||||
チェ เชะ | |||||||
ティ ทิ | トゥ ทุ | テュ ทิว | |||||
ディ ดิ | ドゥ ดุ | デュ ดิว | |||||
ツァ ตฺซะ | ツィ ตฺซิ | ツェ เตฺซะ | ツォ โตฺซะ | ||||
ファ ฟะ | フィ ฟิ | フェ เฟะ | フォ โฟะ | フュ ฟิว |
- ยุคเมจิตอนต้นมีการเสนอให้ใช้คะตะกะนะ
แต่การเสนอก็ตกไป
- คาตากานะ (ญี่ปุ่น: 片仮名, カタカナ katakana ?) เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง คะตะกะนะถูกนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮอกไกโด
การใช้
คะตะกะนะมีสัญลักษณ์ 48 ตัว ในยุคแรกรู้จักในนาม การเขียนของผู้ชาย คะตะกะนะใช้กับคำยืมที่ไม่ได้มาจากภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการเลียนเสียง ชื่อจากภาษาอื่น การเขียนโทรเลข และการเน้นคำ (แบบเดียวกับการใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ) ก่อนหน้านั้นคำยืมทั้งหมดเขียนด้วยคันจิ ใช้ในหลายกรณี ได้แก่ใช้เขียนคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ชื่อชาวต่างประเทศ และชื่อสถานที่ในต่างประเทศซึ่งเป็นวิสามานยนาม เช่น ホテル (โฮะเตะรุ หรือ Hotel)
ใช้เขียนคำซึ่งเลียนเสียงในธรรมชาติ เช่น ワン ワン (วัง วัง เสียงเห่าของสุนัข)
ใช้เขียนชื่อญี่ปุ่น (和名) ของสัตว์และแร่ธาตุ เช่น カルシウム (คารุซิอุมุ หรือ แคลเซียม)
ใช้ในเอกสารใช้ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (ใช้ร่วมกับตัวอักษรคันจิ)
ใช้ในโทรเลข และระบบคอมพิวเตอร์ในช่วงก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งยังไม่มีการใช้ระบบตัวอักษรหลายไบต์ (เช่น ยูนิโคด)