ปลาสิงโต (Lion Fish) หลายๆท่านคงรู้ว่าปลาสิงโตเป็นปลามีพิษ ไม่ควรไปสัมผัสตัวของปลาสิงโต เพราะปลาสิงโตมีพิษอยู่ที่ก้านครีบ ถ้าโดนก้านครีบแทงเข้าไปจะเจ็บปวดมาก
ปลาสิงโตอยู่ในกลุ่ม Scorpaenidae แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือปลาสิงโต ( Pteroinae) และปลาหินและ ปลาแมงป่อง ( Scorpaeninae) ทั้งหมดเป็นปลามีพิษร้ายแรง พิษของพวกเขาจะอยู่ตามหนังที่ก้านครีบแข็ง ทั้งหลาย เช่น ครีบอก ครีบหลัง พิษพวกนี้มีไว้ป้องกันตัวอย่างเดียว เมื่อมีอันตรายเข้าใกล้ ปลาสิงโตจะกางครีบ เป็นการข่มขู่ แต่พวกเขาไม่ค่อยว่ายออกมาจู่โจมหรือ เอาครีบ ทิ่มแทงใคร
หากใครถูกพิษของปลาสิงโตส่วนใหญ่จะเจ็บจี๊ดก่อนแล้วปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากโดนแนะนำให้ขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด จากนั้นให้ทำความ สะอาดแผล แล้วใช้ความร้อนเข้าสู้ พิษของปลาพวกนี้เป็นโปรตีน เมื่อโดนความร้อน จะสลายตัวไป คุณอาจใช้ไดร์เป่าผม น้ำอุ่น หรืออะไรก็ได้ที่ร้อนๆประคบ เอาแบบร้อนสุดเท่าที่จะทนไหว ชาวบ้านเค้าใช้อังไฟหรือย่างอ่อนๆกันเลย ครับ ปกติแล้วจะปวดประมาณ 24 ชั่วโมงแล้วจะค่อยทุเลาลง
ปลาสิงโตสามารพบได้บ่อยสุด ในอันดามันเจอแทบทุกแนว ปะการัง แต่ในอ่าวไทยมีอยู่บ้างไม่มากนัก พบได้แถวเกาะง่าม เกาะทะลุ ปลาสิงโตมักอยู่ในจุดที่มีน้ำไหลพอควร แหวกว่ายในแนวปะการัง มีสีเข้มสีจางต่างกันไป แต่เป็นชนิดเดียวกัน ไม่ค่อยกลัวคน แต่อย่าเข้าไปไกล้ๆล่ะ มันพร้อมจะกางครีบทิ่มแทงคุณอยู่เสมอ
กรณีที่ได้รับแจ้งมาว่ามนุษย์ได้รับบาดเจ็บจากปลาสิงโตก็มีอยู่เพียงกรณีเดียว คือมนุษย์ไปไล่ต้อนไล่จับเจ้าปลาสิงโต แล้วเจ้าปลาสิงโตก็ป้องกันตัวโดยการเอาหนามแหลมๆแผ่ออกทิ่มแทงเนื้อมนุษย์เข้า ไม่เคยมีกรณีที่มันไล่ทำร้ายมนุษย์เองนะครับ
สุดท้ายก็อยากจะแนะนำว่า ทางทีดีพยายามอย่าสัมผัสสัตว์ทะเลทุกชนิด เพื่อความปลอดภัยของทุกท่านเองครับ
วิธีแก้ไขเมื่อถูกพิษจากหนามของปลาสิงโต แช่แผลในน้ำร้อนที่พอทนได้ประมาณ 30-60 นาที อาการปวดจะทุเลาลง หากมีอาการรุนแรงให้รีบนำส่งแพทย์
เนื่องจากปลาสิงโตเป็นปลาที่มีพิษซึ่งอาจทำอันตรายต่อนักดำน้ำหรือคนเลี้ยงปลาได้ ดังนั้นในบางประเทศเช่น ประเทศเยอรมันนีจึงออกกฎหมายป้องกันคนเลี้ยงปลาโดยกำหนดให้สถานที่ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องมีเซรุ่มแก้พิษปลาสิงโตเก็บไว้อย่างน้อย 2 หลอด
ปลาสิงโตโดยปกติแล้วพบแพร่กระจายในน่านน้ำเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิกกินกุ้งและปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่ปัจจุบันพบว่าปลาสิงโตถูกพบในทะเลแคริเบียน มหาสมุทรแอตแลนติกแถบอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะปลาสิงโตปีกจุด Red lionfish (Pterois volitans) ซึ่งปลาตัวนี้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species) เพราะปลาตัวนี้ไม่เคยพบในบริเวณนี้มาก่อนและปัจจุบันปลาตัวนี้ได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (invasive species) ไปแล้วเพราะปลาสิงโตปีกจุดสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วในแถบแคริเบียนและปลาสิงโตยังไปกินลูกปลาและปลาขนาดเล็กในบริเวณนั้นเป็นอาหาร ซึ่งในบริเวณนั้นไม่มีศัตรูผู้ล่าปลาสิงโตตามธรรมชาติเลย จึงเป็นสาเหตุให้สายพันธุ์ปลาพื้นถิ่นหลายชนิดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
มีการสันนิษฐานว่าปลาสิงโตมาแพร่พันธุ์ในทะเลแคริเบียนได้อย่างไรสาเหตุแรกคือมาจากคนเลี้ยงปลาตู้แล้วปล่อยปลาสิงโตลงในทะเลทำให้ปลาแพร่กระจายในธรรมชาติได้สาเหตุที่สองคือตัวอ่อนหรือไข่ปลาสิงโตที่ติดมากับน้ำจากถังอับเฉาใต้ท้องเรือแล้วถูกปล่อยในบริเวณนี้แล้วลูกปลาบางส่วนรอดชีวิตและแพร่กระจายพันธุ์ได้ สาเหตุสุดท้ายซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่น่าอัศจรรย์มากคือปลาสิงโตที่ถูกเลี้ยงอยู่ในตู้ปลาในบ้านของคนในแถบฟลอริด้าถูกพายุทอร์นาโดพัดทำให้บ้านพังแล้วปลาสิงโตถูกลมพายุพัดไปตกในทะเลแล้วรอดชีวิตกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นและชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
เอกสารอ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/ปลาสิงโต
http://th.wikipedia.org/wiki/ปลาสิงโตปีก
และ https://phuketaquarium.org/