ปริมาณการเคลื่อนที่
(Quantities of motion)
การกระจัด
(Displacement : ) คือปริมาณเวกเตอร์ที่ลาก จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้าย มีหน่วยเป็นเมตร (m) ระยะทาง (Distance : s) คือ ความยาวตามเส้นทางการ เคลื่อนที่ตามเส้นทางการเคลื่อนที่จริงของวัตถุ เป็นปริมาณ ในหน่วยสเกลาร์ในหน่วยเมตร (m)
ความเร็ว
(Velocity : ) คือ การกระจัดที่ไปได้ในหนึ่งหน่วย เวลา เป็นปริมาณเวกเตอร์ในหน่วยเมตรต่อวินาที (m/s) ซึ่ง พิจารณาได้ 2 ลักษณะคือ
1. ความเร็วใจขณะใดๆ คือ ความเร็ว ณ ตรงตำแหน่งหนึ่ง ตำแหน่งใด หรือ ณ เวลาหนึ่งเวลาใด ซึ่งอาจหาได้จาก การกระจัดในช่วงเวลาสั้นๆตรงนั้น
ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวตรง
ตำแหน่ง (position) คือ จุดที่บอกให้ทราบว่าวัตถุหรือสิ่งของ อยู่ทีใดเมื่อเทียบกับจุดอ้างอิง
ระยะทาง (distance) คือ ความยาวที่วัดตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุจากตำแหน่งเริ่มต้น ถึงตำแหน่งสุดท้าย จัดเป็นปริมาณสเกลลาร์ มีหน่วยเป็นเมตร
การกระจัด (displacement) คือ ระยะที่วัดเป็นเส้นตรงจากจุดตั้งต้นของการเคลื่อนที่ ตรงไปยังตำแหน่งสุดท้ายที่วัตถุอยู่ในขณะนั้น โดยไม่สนใจว่าวัตถุจะมีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นอย่างไร จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นเมตร
ข้อสังเกต การเคลื่อนที่โดยทั่วๆไป ระยะทางจะมากกว่าการกระจัดเสมอ ยกเว้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง การกระจัดจะมีขนาดเท่ากับระยะทาง
เวลา คือ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ตามเส้นทาง มีหน่วยเป็น วินาที
อัตราเร็ว คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที
ความเร็ว คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ใช้หน่วยเดียวกับอัตราเร็ว มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที
อัตราเร็วเฉลี่ย เป็นปริมาณสเกลาร์ คำนวณหาจากระยะทางทั้งหมดของการเคลื่อนที่ในหนึ่งหน่วยเวลาของการเคลื่อนที่
อัตราเร็วเฉลี่ย ( V ) = ระยะทางทั้งหมด (S) /เวลา (t)
ความเร็วเฉลี่ย เป็นปริมาณเวกเตอร์ คำนวณหาจากกระจัดของการเคลื่อนที่ในหนึ่งหน่วยเวลา
การเร็วเฉลี่ย ( V ) = การกระจัด(S) /เวลา (t)
ความเร็วและอัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง
ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง (Instantaneous velocity) ก็คือความเร็วของวัตถุ
ในช่วงเวลาที่ สั้นมากขณะผ่านจุดจุดหนึ่งหรือที่เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือพูดสั้น ๆ ว่าเป็น
ที่มา:http://kruphysics-satri10.blogspot.com/p/blog-page.html