สารละลายคืออะไร ?
สารละลาย คือ สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
- ตัวทำละลาย : สารที่มีความสามารถในการทำให้สารอื่นๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมี
- ตัวละลาย : สารที่ถูกตัวทำละลายทำให้ละลาย
ประเภทของสารละลาย
จำแนกตามสถานะของสารละลาย
- ของแข็ง เช่น ทองเหลือง นาก
- ของเหลว เช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ แอลกอฮอล์
- แก๊ส เช่น แก๊สหุงต้ม กลิ่นน้ำหอมในอากาศ
จำแนกตามปริมาณของตัวละลาย
- สารละลายอิ่มตัว : สารละลายที่ ตัวละลายไม่สามารถละลายได้อีก ที่อุณหภูมิเดิมหรือ และปริมาณตัวทำละลายเท่าเดิม
- สารละลายไม่อิ่มตัว : สารละลายที่ ตัวละลายยังสามารถละลายได้อีก ที่อุณหภูมิเดิมหรือ และปริมาณตัวทำละลายเท่าเดิม
จำแนกตามความเข้มข้น
- สารละลายเข้มข้น : สารละลายที่มี ตัวละลายปริมาณมาก แต่ตัวทำละลายปริมาณน้อย
- สารละลายเจือจาง : สารละลายที่มีตัวละลายปริมาณน้อย แต่ตัวทำละลายปริมาณมาก
ความเข้มข้นของสารละลาย เป็นค่าที่แสดงให้ทราบถึงปริมาณของตัวละลายที่มีอยู่ในปริมาณของสารละลาย การบอกความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ มี 3 หน่วย คือ
1. ร้อยละโดยมวลต่อมวล หรือร้อยละโดยมวล หรือเปอร์เซ็นต์โดยมวล (มวลต่อมวล) เป็นการบอกมวลของตัวละลายในสารละลาย 100 กรัม เช่น สารละลายเกลือแกงเข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวล หมายความว่า มีเกลือแกงละลายอยู่ 10 กรัม ในสารละลาย 100 กรัม แสดงว่ามีน้ำเป็นตัวทำละลายเท่ากับ 90 กรัม เป็นต้น นิยมใช้กับสารละลายที่ทั้งตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของแข็ง
การหาความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยมวล หาได้จากสูตร
ร้อยละโดยมวล = มวลของตัวละลาย X 100
มวลของสารละลาย
2. ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร หรือร้อยละโดยปริมาตร หรือเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร (ปริมาตรต่อปริมาตร) เป็นการบอกปริมาตรของตัวละลายที่ละลายในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร เช่น สารละลายแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 25 โดยปริมาตร หมายความว่า มีแอลกอฮอล์ 25 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายอยู่ในสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร กรัม แสดงว่ามีน้ำเป็นตัวทำละลายเท่ากับ 75 ลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นต้น นิยมใช้กับสารละลายที่ทั้งตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของเหลว
กระบวนการเกิดสารละลาย เกิดจากสารชนิดหนึ่ง กระจายอยู่ในสาร อีกชนิดหนึ่ง ถ้ากระจายอย่างสม่ำเสมอ และมองเห็นเหมือนกันทุกส่วน มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน เรียกสารผสมนี้ว่า สารละลาย แต่ถ้ากระจายอยู่อย่างไม่สม่ำเสมอ โดยยังมองเห็นเป็นสารเดิมอยู่ เรียกสารผสมนี้ว่า สารเนื้อผสม สารเนื้อผสมที่มีอนุภาคเล็ก ๆ ของของแข็งกระจายอยู่ในของเหลว หรือแก๊ส เรียกว่า สารแขวนลอย
ในกระบวนการละลาย จะมีสารตัวหนึ่งเป็น ตัวทำละลาย และสารอีกตัวหนึ่งเป็น ตัวละลาย สารใดเป็นตัวทำละลาย หรือเป็นตัวละลาย พิจารณาได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ถ้าตัวละลาย และตัวทำละลายมีสถานนะต่างกัน สารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลาย จัดเป็นตัวทำละลาย สารที่มีสถานะต่างไปจากสารละลาย เป็นตัวละลาย
2. ถ้าตัวละลาย และตัวทำละลายมีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณน้อยกว่าจัดเป็นตัวละลาย สารที่มีปริมาณมากกว่า จัดเป็นตัวทำละลาย
ร้อยละโดยปริมาตร = ปริมาตรของตัวละลาย X 100
สมบัติบางประการของสารละลาย
ตัวทำละลายที่เป็นสารบริสุทธิ์เมื่อเติม ตัวถูกละลายลงไปกลายเป็นสารละลายจะทำให้สมบัติของตัวทำละลายเปลี่ยนไป เช่น ความดันไอ จุดเดือด จุดหลอมเหลว สมบัติดังกล่าวของสารละลาย เรียกว่า สมบัติคอลลิเกทีฟ (colligative properties) ซึ่งได้แก่
1. การเพิ่มขึ้นของจุดเดือด (boiling point elevation)
2. การลดลงของจุดเยือกแข็ง (freezing point depression)
3. การลดลงของความดันไอ (vapor pressure lowering)
4. การเกิดแรงดันออสโมซิส (osmosis pressure)
-ขอบคุณข้อมูล https://lifestyle.campus-star.com/