วันออกพรรษาหรือวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก
ในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา (3เดือน) ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ ทั้ง 3 ได้แก่ บันไดเงิน และ บันไดทอง และ บันไดแก้ว ซึ่งสักกเทวราช (พระอินทร์) ให้พระวิษณุกรรมเนรมิตทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ที่ ประตูเมืองสังกัสนคร ที่นั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนต่างมารอรับตักบาตรภัตตาหารกัน อย่างเนืองแน่นชาวพุทธจึงยึดถือปรากฎการณ์ในวัน แรม1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ เรียก “วันเทโวโรหณะ” และ วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก เพราะวันนั้นโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และ บาดาล (นรก) ต่างสามารถแลเห็นกันได้ตลอดทั้ง 3 โลก
ความสำคัญของวันออกพรรษา
วันออกพรรษาในประเทศไทย
สำหรับ วันออกพรรษาในประเทศไทย มีความสำคัญไม่น้อยกว่าวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันอื่นๆ เลยทีเดียว โดยในไทยจะมีประเพณีต่างๆ ที่นิยมปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ ซึ่งก็คือ ประเพณีตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ
วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลดังนี้
1. หลังจากวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
2. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน
3. ในวันออกพรรษาพระ สงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้ เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน
4. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป
ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตุวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดการขัดแย้งกันจนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร) เมื่อถึงวันออกพรรษาพระ ภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”
ประเพณีการตักบาตรเทโว จะจัดขึ้นเพียงปีละครั้งในช่วงวันออกพรรษา เป็นการรำลึกถึงพระพุทธเจ้าของชาวพุทธ ซึ่งมีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก ลงมายังโลกมนุษย์ หลังจากการโปรดเทพบุตร อดีตพระพุทธมารดา พระนางสิริมหามายา บนสวรรค์ดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
- ประเพณีตักบาตรเทโว วันออกพรรษา ที่มา และ วิธีการตักบาตรเทโว
- ประเพณีตักบาตรข้าวต้มลูกโยน วัดพระพุทธฉาย สระบุรี
- วิธีทำ ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มหาง ตักบาตรเทโว วันออกพรรษา
นอกจากการทำบุญ ประเพณีตักบาตรโทโวแล้ว สิ่งที่นิยมทำใน วันออกพรรษา ก็คือ ประเพณีเทศน์มหาชาติ เวสสันดรชาดก และ ทอดกฐิน โดยทั้งสองประเพณี ก็เป็นสิ่งที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
นอกจากนี้ ทางภาคใต้ก็ยังมีการจัด ประเพณีชักพระ แห่พระพุทธรูป ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 อีกทั้งในภาคอีสานริมฝั่งแม่น้ำโขง เชื่อว่าในช่วงวันออกพรรษา จะเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค โดยที่จังหวัดหนองคาย นิยมจัดงาน ประเพณีบั้งไฟพญานาค ในทุกๆ ปีอีกด้วย
-ขอบคุณข้อมูล https://travel.trueid.net/