ตรรกศาสตร์
ประพจน์ คือ ประโยค หรือข้อความที่อยู่ในรูปแบบประโยคบอกเล่า หรือประโยคปฏิเสธ ที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น
• เชียงใหม่เป็นจังหวัดทางภาคใต้ → เป็นประพจน์ เพราะเป็นประโยคบอกเล่าที่เป็นเท็จ
• ใครทำจานแตก → ไม่เป็นประพจน์ เพราะเป็นประโยคคำถามและบอกไม่ได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ
• -1 ไม่เป็นจำนวนเต็มบวก → เป็นประพจน์ เพราะเป็นประโยคปฏิเสธที่มีค่าความจริงเป็นจริง
นั่นคือ ประโยคคำถาม คำสั่ง ขอร้อง คำอุทาน หรือประโยคที่ไม่สามารถระบุค่าความจริงได้ ไม่เป็นประพจน์
ตัวเชื่อมประพจน์ และค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อม
กำหนดให้ p และ q เป็นประพจน์ใดๆ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เราสามารถเชื่อมประพจน์ทั้งสองเข้าด้วยกันได้ โดยอาศัยตัวเชื่อมประพจน์ดังต่อไปนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.
|
ตัวเชื่อมประพจน์ “และ” | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “และ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∧ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นจริง (T) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2.
|
ตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ” | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∨q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3.
|
ตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว” | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p → q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p เป็นจริง (T) และ q เป็นเท็จ (F) นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4.
|
ตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ” | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ⇔ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงกัน และจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงข้ามกัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5.
|
นิเสธของประพจน์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นิเสธของประพจน์ใดๆ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับประพจน์นั้นๆ และสามารถเขียนแทนนิเสธของ p ได้ด้วย ~p | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางแสดงค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อม
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ประพจน์ที่สมมูลกัน และประพจน์ที่เป็นนิเสธกัน
ประพจน์ที่สมมูลกัน | |||
ประพจน์ 2 ประพจน์จะสมมูลกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงเหมือนกัน ทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย | |||
ตัวอย่างประพจน์ที่สมมูลกันที่ควรทราบ มีดังนี้ | |||
p ∧ q
|
สมมูลกับ
|
q ∧ p | |
p ∨ q
|
สมมูลกับ
|
q ∨ p | |
(p ∧ q) ∧ r
|
สมมูลกับ
|
p ∧ (q ∧ r) | |
(p ∨ q) ∨ r
|
สมมูลกับ
|
p ∨ (q ∨ r) | |
p ∧ (q ∨ r)
|
สมมูลกับ
|
(p ∧ q) ∨ ( p ∧ r) | |
p ∨ (q ∧ r)
|
สมมูลกับ
|
(p ∨ q) ∧ ( p ∨ r) | |
p → q
|
สมมูลกับ
|
~p ∨ q | |
p → q
|
สมมูลกับ
|
~q → ~p | |
p ⇔ q
|
สมมูลกับ
|
(p → q) ∧ (q → p) | |
ประพจน์ที่เป็นนิเสธกัน | |||
ประพจน์ 2 ประพจน์เป็นนิเสธกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงตรงข้ามกันทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย | |||
ตัวอย่างประพจน์ที่เป็นนิเสธกันที่ควรทราบ มีดังนี้ | |||
~(p ∧ q)
|
สมมูลกับ
|
~p ∨ ~q | |
~(p ∨ q)
|
สมมูลกับ
|
~p ∧ ~q | |
~(p → q)
|
สมมูลกับ
|
p ∧ ~q | |
~(p ⇔ q)
|
สมมูลกับ
|
(p ⇔ ~q) ∨(q ⇔ ~p) | |
~(p ⇔ q)
|
สมมูลกับ
|
(p ∧ ~q) ∨ ( q ∧~p) | |
สัจนิรันดร์
ประพจน์ที่เป็นสัจนิรันดร์ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริง ทุกกรณีของประพจน์ย่อย ตัวอย่างประพจน์ที่เป็นสัจนิรันดร์ที่ควรทราบ มีดังนี้
ข้อสังเกตประพจน์ที่สมมูลกัน เมื่อนำมาเชื่อมด้วยตัวเชื่อม ⇔ จะได้ประพจน์ใหม่ซึ่งเป็นสัจนิรันดร์ นั่นคือ ถ้า A และ B สมมูลกันแล้ว A ⇔ B เป็นสัจนิรันดร์
สัจนิรันดร์
ประพจน์ที่เป็นสัจนิรันดร์ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริง ทุกกรณีของประพจน์ย่อย | ||
ตัวอย่างประพจน์ที่เป็นสัจนิรันดร์ที่ควรทราบ มีดังนี้ | ||
p ∨ ~q | [ ~p ∧ ( p ∨ q)] → q | |
~(p ∧ ~q) | [ ( p → q) ∧ ~q ] → ~p | |
(p ∧ q) → p | (p ∧ q) ⇔ (q ∧ p) | |
(p ∧ q) → q | (p ∨ q) ⇔ (q ∨ p) | |
p → (p ∨ q) | (p → q) ⇔ (~p ∨ q) | |
q → (p ∨ q) | (p → q) ⇔ (~q → ~p) | |
[ p ∧ ( p → q)] → q | (~p ∨ q) ⇔ (~q → ~p) | |
[ ~p ∧ ( p → q)] → ~q | ( p ⇔ q) ⇔ [(p → q) ∧ (q → p)] | |
ข้อสังเกต | ประพจน์ที่สมมูลกัน เมื่อนำมาเชื่อมด้วยตัวเชื่อม ⇔ จะได้ประพจน์ใหม่ซึ่งเป็นสัจนิรันดร์ นั่นคือ ถ้า A และ B สมมูลกันแล้ว A ⇔ B เป็นสัจนิรันดร์ |
ประโยคเปิดและตัวบ่งปริมาณ
ประโยคเปิด |
|||||
|
|||||
เราสามารถเขียนแทนประโยคเปิดที่ประกอบด้วยตัวแปร x ด้วยสัญลักษณ์ P(x) หรือ Q(x) และเขียนแทนประโยคเปิดที่ประกอบด้วยตัวแปร x และ y ด้วยสัญลักษณ์ P(x,y) หรือ Q(x,y) |
|||||
ตัวอย่างเช่น |
|||||
• เขาเป็นคนดี ⇒ เป็นประโยคเปิดที่ประกอบด้วยตัวแปร “เขา” | |||||
• x > 3 ⇒ เป็นประโยคเปิดที่ประกอบด้วยตัวแปร “x” |
|||||
ตัวบ่งปริมาณ |
|||||
ตัวบ่งปริมาณ เป็นตัวระบุจำนวนสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์ที่ทำให้ประโยคเปิดกลายเป็นประพจน์ ตัวบ่งปริมาณมี 2 ชนิด คือ |
|||||
1. ตัวบ่งปริมาณที่กล่าวถึง “สมาชิกทุกตัวในเอกภพสัมพัทธ์” |
|||||
ซึ่งเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ “∀” อ่านว่า”สำหรับสมาชิก x ทุกตัว” | |||||
2. ตัวบ่งปริมาณที่กล่าวถึง “สมาชิกบางตัวในเอกภพสัมพัทธ์ |
|||||
ซึ่งเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ “∃” อ่านว่า “สำหรับสมาชิก x บางตัว” |