การแบ่งประเภทของไฟฟ้า
ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้จากแหล่งกาเนิดหลาย ๆ แบบ ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
3.1 ไฟฟ้าสถิต ( Static Electricity )
3.2 ไฟฟ้ากระแส ( Current Electricity )
3.1 ไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิต คือ ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีเมื่อเอาวัตถุบางอย่างมาถูกันจะทาให้เกิดพลังงานขึ้น ซึ่งพลังงานนี้สามารถดูดเศษกระดาษหรือฟางข้าวเบา ๆ ได้ เช่น เอาแท่งยางแข็งถูกับผ้าสักหลาด หรือครั่งถูกับผ้าขนสัตว์ พลังงานที่เกิดขึ้นเหล่านี้เรียกว่า ประจุไฟฟ้าสถิต เมื่อเกิดประจุไฟฟ้าแล้ว วัตถุที่เกิดประจุไฟฟ้านั้นจะเก็บประจุไว้ แต่ในที่สุดประจุไฟฟ้าจะถ่ายเทไปจนหมด วัตถุที่เก็บประจุไฟฟ้าไว้นั้นจะคายประจุอย่างรวดเร็วเมื่อต่อลงดิน ในวันที่มีอากาศแห้งจะทาให้เกิดประจุไฟฟ้าได้มาก ซึ่งทาให้สามารถดูดวัตถุได้ดี ประจุไฟฟ้าที่เกิดมีอยู่ 2 ชนิด คือ ประจุบวกและประจุลบ คุณสมบัติของประจุไฟฟ้าคือ ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกันประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะดูดกัน
3.2 ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแสคือ การไหลของอิเล็กตรอนภายในตัวนาไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เช่น ไหลจากแหล่งกาเนิดไฟฟ้าไปสู่แหล่งที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งก่อให้เกิดแสงสว่าง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดความต้านทานสูงจะก่อให้เกิดความร้อน เราใช้หลักการเกิดความร้อนเช่นนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เตาหุงต้ม เตารีดไฟฟ้า เป็นต้น
ไฟฟ้ากระแสแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current หรือ D .C )
2) ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current หรือ A.C. )
1) ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current หรือ D .C )
เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวตลอดระยะเวลาที่วงจรไฟฟ้าปิดกล่าวคือกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวกภายในแหล่งกาเนิดผ่านตัวต้านหรือภาระไฟฟ้าผ่านตัวนาไฟฟ้าแล้วย้อนกลับเข้าแหล่งกาเนิดที่ขั้วลบ วนเวียนเป็นทางเดียวเช่นนี้ตลอดเวลา แหล่งกาเนิดไฟฟ้าที่เรารู้จักกันดีคือ แบตเตอรี่ ไดนาโม ดีซีเยนเนอเรเตอร์ เป็นต้น
ภาพที่ 1 – 1 หลักการไฟฟ้ากระแสตรง
2) ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current หรือ A.C. )
เป็นไฟฟ้าที่มีการไหลกลับไป กลับมา ทั้งขนาดของกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าไม่คงที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คือ กระแสไฟฟ้าจะไหลไปทางหนึ่งก่อน ต่อมาก็จะไหลสวนกลับแล้วก็เริ่มไหลเหมือนครั้งแรก
ภาพที่ 1 – 2 หลักการไฟฟ้ากระแสสลับ
กระแสไฟฟ้าจะไหลเริ่มต้นจากศูนย์ แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงบนสุด แล้วจะค่อยๆ ลดลงมาเป็นศูนย์ ต่อจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะไหลลดลงเรื่อย ๆ จนถึงจุดต่าสุด แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงศูนย์ตามเดิมอีกครั้งเป็นดังนี้ เรื่อย ๆ ไป การที่กระแสไฟฟ้าไหลเวียนครบ 1 รอบ ( Cycle ) เรียกว่า 1 ลูกคลื่น ความถี่ หมายถึง จานวนคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับที่เปลี่ยนแปลงใน 1 วินาที กระแสไฟฟ้าสลับในเมืองไทยใช้ไฟฟ้าที่มีความถี่ 50 เฮิรตซ์ ซึ่งหมายถึง จานวนลูกคลื่นไฟฟ้าสลับที่เปลี่ยนแปลง 50 รอบ ในเวลา 1 วินาที