ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของโน้ตดนตรี
การบันทึกดนตรีด้วยระบบโน้ตตะวันตกอย่างที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องหมายในภาษากรีกโบราณ โดยมีใช้กันหลายระบบ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญมากและน่าศึกษาก็คือ ระบบนูมาติก (Neumatic Notation)
ระบบนูมาติก (Neumatic Notation)
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 มีผู้พยายามคิดระบบการบันทึกดนตรีมาใช้หลายระบบ แต่ส่วนมากก็ไม่ได้รับความนิยม จนกระทั่งในปลายศตวรรษที่ 9 ระบบนูมาติกเริ่มมีการใช้อย่างจริงจัง โดยพัฒนาการและองค์ประกอบของระบบนูมาติก มีดังนี้
นูมส์ (Neumes) เป็นสัญลักษณ์แสดงทิศทางของเสียง โดยใช้สัญลักษณ์ทางไวยากรณ์ภาษาของกรีกและโรมัน 2 สัญลักษณ์ คือ เสียงสูงขึ้นใช้สัญลักษณ์ / (actus) และเสียงต่ำลงใช้สัญลักษณ์ \ (gravis) ซึ่งไม่บ่งบอกถึงระดับเสียงและจังหวะ ซึ่งต่อมามีการพัฒนาให้เห็นเค้าของแนวทำนอง แต่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องระดับเสียง ขั้นคู่เสียง และอัตราจังหวะ ในศตวรรษที่ 10 เริ่มมีการกำหนดระดับเสียงให้แน่นอน โดยการใช้สตาฟฟ์ (Staff Notation) ในตอนเริ่มแรกมีเพียงเส้นเดียว ใช้แสดงว่านูมส์บนเส้นนี้มีระดับเสียง F นูมส์ที่อยู่เหนือหรือใต้เส้นนี้จะสูงกว่าหรือต่ำกว่า F มากน้อยขึ้นอยู่กับระยะห่างจากเส้น ต่อมาไม่นานนัก จำนวนเส้นเพิ่มขึ้นเป็น 2 เส้น ใช้สีต่างกัน เส้นบนเป็นเส้นสีแดง คือตำแหน่งของ C
ต่อมาในศตวรรษที่ 11 กีโด เดอ อเรซ์โซ (Guido de’ Arezzo) ซึ่งเป็นบาทหลวงชาวอิตาเลียน เพิ่มเส้นในสตาฟฟ์ขึ้นเป็น 4 เส้น และใช้บันทึกเพลงสวดเกรกอเรียนชานท์อย่างแพร่หลาย ต่อมาจำนวนเส้นถูกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง 11 เส้น แล้วแบ่งออกเป็น 2 ชุด โดยใช้เส้นกลาง (เส้นที่ 6 ) เป็นเกณฑ์แบ่ง พัฒนาการขั้นนี้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 จากนั้นมาสตาฟฟ์ที่มี 5 เส้น จึงเป็นมาตรฐานมาโดยตลอด
วิวัฒนาการของดนตรีสากล
ดนตรีสากล มีประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการที่ยาวนาน แสดงถึง วัฒนธรรมของชาติตะวันตกซึ่งเป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วโลก ในการศึกษาดนตรีสากล เพื่อความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก จึงจำเป็นจะต้องศึกษาวิวัฒนาการของดนตรีสากลในด้านต่างๆ ดังนี้
วงดนตรีสากลยุคต่างๆ
1. ยุคกลาง (Middle Age) ค.ศ. 500-1400
บทเพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงร้องที่ใช้ในโบสถ์เพื่อสรรเสริญพระเจ้าเพียงอย่างเดียว โดยบางครั้งอาจเป็นการร้องสอดประสานกันบ้างประมาณ 2-3 แนวในปลายยุคและยังไม่พบการบรรเลงที่เป็นรูปแบบมาตรฐานอย่างเด่นชัด
2. ยุครีเนซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ค.ศ. 1400-1600
บทเพลงในยุคนี้เริ่มมีการผสมผสานระหว่างเพลงพื้นฐานกับเพลงที่ใช้ในโบสถ์ โดย
การนำเอาเทคนิคการประพันธ์เพลงพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้กับเพลงสวด ทำให้เกิดการนำเอาเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบในเพลงสวดที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ออร์แกน ฮาร์ฟซิคอร์ด เป็นต้น
3. ยุคบาโรก (Baroque) ค.ศ. 1600-1750
เครื่องดนตรีได้รับการพัฒนาจึงทำให้นักดนตรีมีความสามารถในการบรรเลงอย่างมาก
จึงทำให้ยุคนี้มีประเภทการบรรเลงดนตรีที่หลากหลายมากขึ้น เช่น โซนาตาคอนแชร์โต โอเปรา เป็นต้น เริ่มมีการผสมวงออร์เคสตรา เพื่อใช้ประกอบการแสดงละครเพลงหรือโอเปรา (Opera) แต่ลักษณะการผสมวงของเครื่องดนตรียังไม่มีการกำหนดที่แน่นอน นอกจากนี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายยังได้รับการพัฒนาอย่างมาก
4. ยุคคลาสสิก (The Classical Era) ค.ศ. 1750-1820
เครื่องดนตรีมีวิวัฒนาการมาจนสมบูรณ์ที่สุด เริ่มมีการผสมวงที่กำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็กหรือใหญ่ คือ วงเชมเบอร์มิวสิก และวงออร์เคสตราในการจัดวงออร์เคสตราใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี
วงออร์เคสตรา ในยุคนี้ถือได้ว่ามีรูปแบบที่ใช้เป็นแบบแผนมาจนถึงปัจจุบัน
5. ยุคโรแมนติก (The Romantic Era) ค.ศ. 1820-1900
ในยุคนี้ เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับการพัฒนารูปร่างจนสามารถบรรเลงด้วยวิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่หลากหลายได้เป็นอย่างดีในส่วนของการผสมวงออร์เคสตรา ยังคงใช้หลักการ ผสมวงออร์เคสตราตามยุคคลาสสิก และเพิ่มขนาดโดยการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีให้มีความยิ่งใหญ่ขึ้นเพื่อให้อารมณ์ของบทเพลงมีความหลากหลายและสามารถสื่อถึงผู้ฟังได้อย่างเด่นชัด
6. ยุคศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1900 – ปัจจุบัน)
รูปแบบดนตรีมีการผสมผสานรูปแบบใหม่ขึ้น ซึ่งมีการนำเสียงจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นเครื่องดนตรีด้วย และส่วนดนตรีในรูปแบบดนตรีคลาสสิกก็ยังคงใช้รูปแบบการผสมวงตามยุคคลาสสิก ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่จะเน้นที่รูปแบบการประพันธ์เพลงมากกว่า และในยุคนี้เริ่มมีวงดนตรีผสมผสานรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นรูปแบบวงดนตรีที่ผสมผสานระหว่างแอฟริกา ตะวันตก อเมริกาและยุโรป ที่เรียกว่า วงดนตรีแจ๊ส (Jazz) เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงมักประกอบด้วย ทรัมเป็ต คลาริเน็ต ทรอมโบน ทูบา และกลองประเภทต่างๆ เป็นต้น
บทเพลงยุคต่างๆ
1. ยุคกลาง (Middle Age) ค.ศ. 500-1400
บทเพลงที่ปรากฏในยุคนี้ คือ เพลงสวด (Chant) ซึ่งเป็นบทเพลงที่ใช้ในพิธีกรรม
เป็นบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า เนื้อหาของเพลงจะเป็นการสวดอ้อนวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า ภาษาที่ใช้บทเพลงร้องส่วนใหญ่ คือ ภาษาละติน ในระยะแรก เพลงสวดเป็นการร้องแนวเดียวไม่มีดนตรีประกอบ ไม่มีอัตราจังหวะ และจะใช้เสียงเอื้อนในการทำทำนองไปไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ต่อมาในระยะหลังๆ เริ่มพัฒนาการร้องให้มีแนวการร้องสองประสาน เป็นเพลงร้องสองแนว และเริ่มที่จะมีอัตราจังหวะที่แน่นอน จนกลายเป็น รูปแบบการร้องประสานเสียง ที่มากกว่า2 แนวขึ้นไป
2. ยุครีเนซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ค.ศ. 1400-1600
ดนตรียังคงเป็นลักษณะสอดประสานทำนองโดยมีการล้อกันของแนวทำนองที่เหมือนกัน รูปแบบการประพันธ์เพลงมีมากขึ้น ในยุคนี้ยังเน้นการร้องเป็นพิเศษ สำหรับดนตรีคฤหัสถ์ (ดนตรีประชาชนทั่วไป) เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมักเป็นเพลงร้องประกอบดนตรี
3. ยุคบาโรก (Baroque) ค.ศ. 1600-1750
บทเพลงบรรเลงมีความสำคัญเทียบเท่ากับบทเพลงร้อง เนื่องจากเครื่องดนตรีมีการพัฒนาทั้งรูปและเสียง รูปแบบการประพันธ์เพลงในยุคนี้มีการพัฒนาและปรับปรุงจนมีลักษณะเด่นชัด โดยเฉพาะคอนแชร์โต (Concerto) ตัวบทเพลงประชันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเดี่ยวกับวงดนตรีซึ่งแสดงความสามารถของผู้บรรเลงได้เป็นอย่างดี บทเพลง Concerto ที่ได้รับความนิยมคือ The Four Season ของวิวัลดี และยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของบทเพลงบรรเลงประเภทต่างๆ
4. ยุคคลาสสิก (The Classic Era) ค.ศ. 1750-1820
เป็นยุคที่สำคัญมากของดนตรีตะวันตก เนื่องจากรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ
ประพันธ์เพลง การผสมวง หรือบทเพลงบรรเลงมีความเป็นแบบแผนอย่างมาก รูปแบบการ
ประพันธ์บทเพลงในยุคนี้ได้แก่ โซนาตา คอนแชร์โต ซิมโฟนี และการผสมวงได้แก่ วงเชมเบอร์- มิวสิก และออร์เคสตรา ทุกอย่างล้วนจัดให้มีมาตรฐานทั้งสิ้น นอกจากนี้ ละครร้องหรือโอเปรา (Opera) ก็ได้รับการพัฒนาจนได้รับความนิยมทั่วไป
5. ยุคโรแมนติก (The Romantic Era) ค.ศ. 1820-1900
ยุคนี้เป็นยุคที่นำหลักการของยุคคลาสสิกมาใช้ผสมผสานกับการใส่อารมณ์ความรู้สึก
เข้าไปในบทเพลงทำให้บทเพลงมีความไพเราะ สง่างาม อ่อนหวาน ในขณะหนึ่งก็สะเทือนอารมณ์ของผู้ฟังได้เช่นกัน สำหรับวงออร์เคสตรา มีการเพิ่มขนาดของวงให้ใหญ่ขึ้น เพื่อความสมบูรณ์แบบของเสียงในวงดนตรี ยุคนี้ทำนองของบทเพลงเน้นแนวทำนองหลักและใช้การประสานเสียงเพื่อให้มีความไพเราะ บทเพลงที่นิยมในยุคนี้คือดนตรีบรรยายเรื่องราว คีตกวีที่สำคัญในยุคนี้คือ เบโธเฟน
6. ยุคศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน)
ยุคนี้เป็นยุคเปลี่ยนแปลงดนตรีชาติตะวันตก มีการเน้นรูปแบบจังหวะมากขึ้น และ
บันไดเสียงเริ่มมีการใช้บันไดเสียง 12 เสียง หลักการในการประพันธ์บทเพลงมีความแตกต่างจากยุคก่อนนี้ เริ่มมีการประสานเสียงทำให้ฟังแล้วรู้สึกไม่สบายหู เริ่มมีการทดลองทฤษฎีแปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งทำให้กฎเกณฑ์ทางดนตรีมีความหลากหลาย ถือได้ว่ายุคนี้เป็นยุคการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายตามที่ได้พบเห็นในปัจจุบัน
การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
ยุคต่างๆของดนตรีสากล
นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้
-1. Polyphonic Perio (ค.ศ. 1200-1650) ยุคนี้เป็นยุคแรก วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี
-2. Baroque Period (ค.ศ. 1650-1750) ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์ มีมากขึ้น มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร (โอเปร่า) เกิดขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ J.S. Bach และ G.H. Handen
-3.Classical Period ( ค.ศ. 1750-1820 ) ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ มีความรุ่งเรืองมากขึ้น มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ HaydnGluck และMozart
-4. Romantic Period ( ค.ศ. 1820-1900 ) ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย
-5.Modern Period ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูล จาก สถาบันการศึกษาทางไกล 928 อาคาร 4 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทร.02 381 6650 : http://www.dei.ac.th/
และ เรียนรู้เรื่องยุคสมัยของดนตรีสากล
https://news.trueid.net/detail/KgRyNaeKXrbo