วิวัฒนาการของภาษาจาวาจากรุ่นแรกถึงจาวา1.5
1. (ค.ศ. 1996) — ออกครั้งแรกสุด
2. (ค.ศ. 1997) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม Inner Class
3. (4 ธันวาคม ค.ศ. 1998) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT Compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า “จาวา 2″ แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง
4. (8 พฤษภาคม ค.ศ. 2000) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย
5. (13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. 2005)
6. (29 กันยายน ค.ศ. 2004) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์, Enumerations, Varargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics
ถูกพัฒนาตั้งแต่ปี 1991 โดยบริษัท Sun Microsystems ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของ Green Project
Write Once Run Anywhere
ค.ศ.1993
ภาษาโอ๊คได้ถูกปรับปรุงใหม่เพื่อใช้ในการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) พร้อมกับสร้างเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ที่รองรับ ชื่อว่าเว็บรันเนอร์ (Web Runner)
ค.ศ.1995
บริษัทซันได้เปิดตัวภาษาจาวา (Java) (ภาษาโอ๊คเดิม) พร้อมกับเว็บเบราว์เซอร์ ที่รองรับภาษานี้ ชื่อว่า ฮอตจาวา (HotJava) (WebRunner เดิม)
ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ทั้งเน็ตสเคบ (Netscape), ไมโครซอฟต์ (Microsoft), และ ไอบีเอ็ม (IBM)
บริษัทซัน ได้เริ่มแจกจ่าย Java development Kit (JDK) ซึ่งเป็นชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวาในอินเทอร์เน็ต
ภาษาจาวา (Java Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior)
การเขียนโปรแกรมที่ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ(Objects) แต่ละวัตถุจะจัดเป็นกลุ่มในรูปของคลาส ซึ่งแต่ละคลาสอาจมีคุณสมบัติ การปกป้อง (Encapsulation) การสืบทอด (Inheritance) การพ้องรูป (Polymorphism)
1. การปกป้อง (Encapsulation)
– การรวมกลุ่มของข้อมูล และกลุ่มของโปรแกรม เพื่อการปกป้อง และเลือกตอบสนอง
2. การสืบทอด (Inheritance)
– ยอมให้นำไปใช้ หรือเขียนขึ้นมาทดแทนของเดิม
3. การพ้องรูป (Polymorphism) = Many Shapes
– Overloading มีชื่อโปรแกรมเดียวกัน แต่รายการตัวแปร (Parameter List) ต่างกัน
– Overriding มีชื่อโปรแกรม และตัวแปรเหมือนกัน เพื่อเขียน behavior ขึ้นมาใหม่
– ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์
– โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้
– เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ถึง 4 เท่า และใช้เวลาในการเขียนโปรแกรม น้อยกว่าประมาณ 2 เท่า
– Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของภาษาจาวา
– ความง่าย (simple)
– ภาษาเชิงออปเจ็ค (object oriented)
– การกระจาย (distributed)
– การป้อ้องกันการผิดพลาด (robust)
– ความปลอดภัย (secure)
– สถาปัตัตยกรรมกลาง (architecture neutral)
– เคลื่อนย้ายง่าย (portable)
– อินเตอร์พ์พรีต (interpreted)
– ประสิทธิภาพสูง (high performance)
– มัลติเธรด (multithreaded)
– พลวัต (dynamic)
รูปแบบของภาษา Java
ภาษา Java เป็นภาษาที่ไม่กำหนดแบบการเขียนโปรแกรม ในแต่ละบรรทัด แต่ละบรรทัดสามารถเขียนคำสั่งได้หลายคำสั่งสามารถแทรกคำอธิบาย (comment) Java เป็นภาษาที่บังคับอักขระตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก (Case Sensitiv) Java มีตัวดำเนินการ(operators) หลายชนิด ให้ใช้งานนอกจากคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาใหม่ อาจกำหนดเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้ และสามารถเขียนชุดคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวดำเนินการหลายตัวที่ต่างชนิดกันในชุดคำสั่งหนึ่งๆได้ โดยภาษา Java จะจัดลำดับการประมวลผลตามลำดับการทำงานของตัวดำเนินการ
รูปแบบคำสั่ง(statements) Java คือ ส่วนประมวลผล(Execute) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ทุกคำสั่งจะต้องจบด้วยเครื่องหมาย เซมิโคลอน( ; )
รูปแบบของ script
ในการเขียน script สามารถเขียน โดยในรูปแบบที่ 1 ได้โดยไม่ต้องระบุภาษาก็ได้ แต่ต้องเขียน tag ของ script ดังรูป
<Script> JavaScript statements; </Script> |
<Script> document.write(‘kittisak’); </Script> |
ในการเขียน script ตามรูปแบบที่ 2 โดยระบุภาษาเป็น javascript และเขียนใน tag ของ script ดังรูป
<Script Language=”JavaScript”> JavaScript statements; </Script> |
การคำสั่งแสดงผล single quote (‘ ‘)
ในการเขียนการแสดงผลข้อมูลที่อยู่หลังคำสั่ง document นั้นสามารถเขียนใช้เครื่องหมายในแบบ single quote (‘ ‘) ก็ได้ดังรูป
<Script Language=”JavaScript”> document.write(‘kittisak’); </Script> |
การใช้ HTML ร่วมกับ script ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยใช้ <br>
การกำหนดให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบของ tag HTML คือ <br> โดยการใส่ไว้หลังคำสั่ง document อาจจะเป็นข้างหน้า หรือข้างหลังก็ได้
<Script Language=”JavaScript”> document.write(‘kittisak<br; document.write(‘<fontlor=”red”>khampud</font>’); </Script> |
Source Code
ใน Java จะมี Source Code เป็น File ที่มีนามสกุล เป็น *.java เมื่อ ผ่านการ Compile แล้วจะมี File เพิ่มมาเป็น File ที่มีนามสกุลเป็น *.class System.out.println (“….” ); เป็นคำสั่งที่ใช้การแสดงตัวอักษรซอร์สโค้ดโปรแกรมจาวาอยู่ในแฟ้มที่มีนามสกุล java
ข้อดีของ java คือ java สามารถ ทำงานได้กับทุกระบบปฏิบัติการ โดยอาศัยตัวกลาง
n ทำงานบนเว็บเบราเซอร์ได้
n ความปลอดภัยสูง
n สนับสนุนงานหลายระดับ
n สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
n ภาษาจาวาเป็นภาษาเชิงวัตถุ
n ความทันสมัย
n ความเรียบง่าย
n กลไกในการคืนพื้นที่ในหน่วยความจำอัตโนมัติ (garbage collection)
n มีคลาสและอินเตอร์เฟซให้ใช้เยอะมาก
n 794 interfaces
n 2485 classes
n ฟรี
ข้อเสียของ java คือ ช้า ดังนั้น ท่านจะสังเกตเห็นการใช้ภาษา java เป็น ภาษาที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในการเขียนเว็บ มันอาจจะยากสำหรับใคร แต่มันคงไม่ยากเกินความตั้งใจของทุก ๆ คน
บทสรุปภาษาจาวา
ภาษาจาวา คืออะไร
ภาษาจาวา คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ โดยภาษาอังกฤษใช้เรียนโปรแกรมเชิงวัตถุคือ (OOP : Object-Oriented Programming) เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน สามารถทำงานได้ในหลาย ๆ ระบบปฏิบัติการโดยที่ไม่จำเป็นต้องตัดแปลงโปรแกรมหรือเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่
ภาษาจาวาทำอะไรได้บ้าง
- ควบคุมฮาร์ดแวร์
- สร้างเว็บ APP
- สร้างโปรแกรม
- สร้างแอปพลิเคชั่น
ข้อดีของภาษาจาวา
- ใช้เขียนโปรแกรมที่มีความซับซ้อน
- ทำงานได้หลายระบบปฎิบัติการ
- หาข้อผิดพลาดและแก้ไขข้อผิดพลาดได้ง่าย
- ความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา c
- มีความปลอดภัยสูง
- มี Library ให้ใช้งานหลากหลายและฟรี
ขอบคุณข้อมูลhttps://wuttichaiteacher.online/