ฝนดาวตกเกิดจากการที่โลกโคจรเคลื่อนที่ฝ่าเข้าไปในธารอุกกาบาต สะเก็ดดาวเหล่านี้เป็นเศษขยะที่เกิดจากดาวหางเคยโคจรผ่านเข้ามา เมื่อดาวหางผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน จะเกิดการระเหิดของมวลสารออกไปเป็นสิ่งที่เราเห็นปรากฏเป็นหางของดาวหาง ฝุ่นที่ถูกพ่นออกไปนี้ จะคงอยู่ตามเส้นทางโคจรของดาวหางเดิม แม้ดาวหางจะโคจรผ่านไปแล้วก็ตาม เมื่อโลกโคจรฝ่าเข้าไป ฝุ่นเหล่านั้นก็จะตกลงสู่บรรยากาศโลกกลายเป็นดาวตก เนื่องจากอัตราการตกนี้ถี่กว่าอัตราการตกในสภาวะปกติ เราจึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ฝนดาวตก ดาวตกที่เกิดขึ้นจะดูเหมือนกับว่ามีทิศทางมาจากจุด ๆ หนึ่งบนท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า เรเดียนต์ ฝนดาวตกใดมีเรเดียนต์อยู่ที่กลุ่มดาวใด ก็จะมีชื่อตามกลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต มีจุดเรเดียนต์อยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ มีจุดเรเดียนต์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ เป็นต้น
ฝนดาวตกเกิดขึ้นได้อย่างไร
ก่อนอื่นเลยสิ่งที่เราจะต้องรู้คือ วัตถุท้องฟ้าที่โคจรรอบดวงอาทิตย์นั้นไม่ได้มีแค่ดาวเคราะห์ที่เรารู้จักกัน แต่ยังมีวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ อีกมากมายที่เราอาจจะยังไม่รู้ว่ามันก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ของเราอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่จะพูดถึงนั้นก็คือ ดาวหาง (Comet)
ดาวหาง คือวัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งคาบสั้นและคาบยาว โดยดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นที่สุดคือ ดาวหางเองเคอ (Comet Encke) ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียงแค่ 3.3 ปี ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรคาบยาวอาจจะใช้เวลาโคจรตั้งแต่พันปีถึงหลายล้านปี แต่ก็มีดาวหางบางดวงที่แวะเข้ามาเยือนดวงอาทิตย์แค่เพียงครั้งเดียวจากนั้นก็ไปแล้วไปลับไม่กลับมาอีกเลย
ฤดูกาลของฝนดาวตก
ถ้าเราติดตามปรากฎการณ์ฝนดาวตกทุก ๆ ปี เราจะจำได้ว่าในเดือนนี้จะมีฝนดาวตกของกลุ่มดาวนี้ เดือนหน้าก็จะมีฝนดาวตกของกลุ่มดาวนี้ ซึ่งเหมือนกับเป็นคาบการเกิดฝนดาวตกที่ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปีในการที่จะเกิดปรากฎการณ์นี้ขึ้นอีกครั้ง
เมื่อถึงเวลาที่เราเดินทางมาถึงก้อนหินพวกนั้น เราที่เปรียบเป็นโลกก็จะใช้แรงดึงดูดดึงเอาก้อนหินพุ่งเข้าใส่ตัวเรา เป็นฝนดาวตก แต่เมื่อคุณเดินต่อไปแล้วเดินวนกลับมาที่เดิมอีกครั้ง มันก็จะเกิดปรากฎการณ์ฝนดาวตกเหมือนเดิม พอคุณเดินต่อไปอีกแล้ววนกลับมาที่เดิม ก็ยังเกิดปรากฎการณ์ฝนดาวตกอีกครั้งเหมือนเดิมอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ฝนดาวตกของกลุ่มดาวใดกลุ่มดาวหนึ่งเกิดขึ้นทุก ๆ ปี วันที่เกิดปรากฎการณ์อาจจะไม่ตรงกันเสมอไปแต่จะอยู่ในช่วงเดือนเดียวกันของทุก ๆ ปี
นอกจากนี้ กลางเดือนธันวาคมยังมี “ฝนดาวตกเจมินิดส์” หรือ ฝนดาวตกคนคู่ ให้ชมส่งท้ายปี 2560 ด้วย โดยสามารถสังเกตได้ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 14 ธ.ค.2560 ต่อเนื่องไปจนถึงเช้ามืดของวันที่ 15 ธ.ค.2560
ฝนดาวตก ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อธิบายว่า ช่วงวันที่ 17-18 พฤศจิกายน แม้ไม่ใช่รอบปีของการเกิดพายุฝนดาวตกลีโอนิดส์ แต่จะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกในอัตราความชุกมากกว่าปีก่อนๆ เนื่องจากการคำนวณของนักดาศาสตร์หลายสำนัก พบว่า โลกจะโคจรตัดผ่านเศษซากสายธารฝุ่นหินของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัดเทิล ถึงสองสายธารด้วยกัน ที่ทิ้งร่องรอยไว้ใน ค.ศ. 1466 และ 1533 โดยอัตราการตกราว 100-500 ดวงต่อชั่วโมง (อ้างอิงที่เมื่อกลุ่มดาวสิงโตมาอยู่ที่จุดกลางฟ้าเหนือศีรษะ) แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะเห็นฝนดาวตกตลอดทั้งชั่วโมง และจำนวนฝนดาวตกที่เห็นก็ไม่ได้เห็นมากถึง 500 ดวง ตัวอย่างเช่น อัตราการตกที่ 400 ดวงต่อชั่วโมง เราเห็นแค่ช่วงเวลา 15 นาที นั่นคือ ในช่วงชั่วโมงนั้น เราจะเห็นดาวตกประมาณ 100 ดวง ซึ่งก็ถือว่ามากแล้ว”
ช่วงเวลาที่ประเทศไทยจะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกสูงสุดในครั้งนี้ ดร.ศรัณย์ชี้ชัดว่า ตั้งแต่ตีหนึ่งเป็นต้นไป แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว ดาวตกลูกสวยๆ มักจะมาตอนประมาณห้าทุ่ม เป็นเวลาที่กลุ่มดาวสิงโตเพิ่งขึ้นจากขอบฟ้า คือจะเห็นเป็นไฟร์บอลล์ (ดาวตกดวงใหญ่) วิ่งพาดผ่านท้องฟ้าทิ้งร่องรอยให้เห็นเป็นลำสว่างทางยาวคล้ายรางรถไฟ ซึ่งความเร็วยังไม่สูงมาก ทำให้เราเห็นได้ง่าย สำหรับช่วงพีคสูงสุดของการตก นักดาศาสตร์หลายสำนักเห็นตรงกันว่า คือเป็นเวลาประมาณ 04.43 น. ตามเวลาในไทยของเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน อัตราความชุกที่ 100-500 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งช่วงนั้นจะป็นเวลาที่ดาวสิงโตจะอยู่บริเวณกลางฟ้าพอดี นับเป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การชมมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องของโอกาส เพราะถึงเวลาจริง เราอาจจะเห็นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็เป็นได้
เพื่อให้ได้อรรถรสของการชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต ร่วมกับศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย ชวนเยาวชน ผู้สนใจสังเกตการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ วันที่ 17 พฤศจิกายน เวลา 18.00 น. ถึงรุ่งเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือจะชมการแสดงในท้องฟ้าจำลอง เรื่อง “ฝนดาวตก” และชมภาพยนตร์ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ เรื่อง “องค์ประกอบชีวิต” (ภาพยนตร์ที่ฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์) จัดแสดงและฉายในงานนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งได้ร่วมสนุกกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์อีกมากมาย สอบถามโทร.08-1571-1292 หรือ 0-2564-7000 ต่อ 1460
ฝนดาวตก เป็นความสวยงาม และเป็นแรงบันดาลใจให้คนจำนวนมาก ได้เรียนรู้ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อื่นๆ ตามมามากมาย อย่างน้อย รู้ว่าจะศึกษาฝุ่นละอองรอบๆ ดวงอาทิตย์ ศึกษาวัตถุที่อยู่รอบๆ โลกว่ามีอะไรบ้าง” ทำให้เรารู้เพิ่มขึ้น
วิธีดูที่ดีที่สุดคือ การนอนหงายมองไปที่กลางฟ้าเหนือศีรษะ ฝนดาวตกมีลักษณะแสงสว่างวาบ เคลื่อนที่ผ่านอย่างรวดเร็ว จะพุ่งมาจากทุกทิศทาง มีสีสันสวยงาม เช่น สีน้ำเงินเขียว สีส้มเหลือง เพราะมีแร่ธาตุประกอบต่างๆ กัน เช่น แมกเนเซียม ทองแดง เหล็ก จึงให้สีที่แตกต่างกัน ปลายของดาวตกซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ จะทิ้งควันจางๆ เหมือนไอพ่น หากอยู่ในที่เงียบสงบ บางครั้งอาจได้ยินเสียงด้วย เรียกว่า โซนิกบูม และหากเป็นดาวตกขนาดใหญ่เมื่อเสียดสีกับบรรยากาศ
ฝนดาวตก ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อธิบายว่า ช่วงวันที่ 17-18 พฤศจิกายน แม้ไม่ใช่รอบปีของการเกิดพายุฝนดาวตกลีโอนิดส์ แต่จะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกในอัตราความชุกมากกว่าปีก่อนๆ เนื่องจากการคำนวณของนักดาศาสตร์หลายสำนัก พบว่า โลกจะโคจรตัดผ่านเศษซากสายธารฝุ่นหินของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัดเทิล ถึงสองสายธารด้วยกัน ที่ทิ้งร่องรอยไว้ใน ค.ศ. 1466 และ 1533 โดยอัตราการตกราว 100-500 ดวงต่อชั่วโมง (อ้างอิงที่เมื่อกลุ่มดาวสิงโตมาอยู่ที่จุดกลางฟ้าเหนือศีรษะ) แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะเห็นฝนดาวตกตลอดทั้งชั่วโมง และจำนวนฝนดาวตกที่เห็นก็ไม่ได้เห็นมากถึง 500 ดวง ตัวอย่างเช่น อัตราการตกที่ 400 ดวงต่อชั่วโมง เราเห็นแค่ช่วงเวลา 15 นาที นั่นคือ ในช่วงชั่วโมงนั้น เราจะเห็นดาวตกประมาณ 100 ดวง ซึ่งก็ถือว่ามากแล้ว”
ช่วงเวลาที่ประเทศไทยจะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกสูงสุดในครั้งนี้ ดร.ศรัณย์ชี้ชัดว่า ตั้งแต่ตีหนึ่งเป็นต้นไป แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว ดาวตกลูกสวยๆ มักจะมาตอนประมาณห้าทุ่ม เป็นเวลาที่กลุ่มดาวสิงโตเพิ่งขึ้นจากขอบฟ้า คือจะเห็นเป็นไฟร์บอลล์ (ดาวตกดวงใหญ่) วิ่งพาดผ่านท้องฟ้าทิ้งร่องรอยให้เห็นเป็นลำสว่างทางยาวคล้ายรางรถไฟ ซึ่งความเร็วยังไม่สูงมาก ทำให้เราเห็นได้ง่าย สำหรับช่วงพีคสูงสุดของการตก นักดาศาสตร์หลายสำนักเห็นตรงกันว่า คือเป็นเวลาประมาณ 04.43 น. ตามเวลาในไทยของเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน อัตราความชุกที่ 100-500 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งช่วงนั้นจะป็นเวลาที่ดาวสิงโตจะอยู่บริเวณกลางฟ้าพอดี นับเป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การชมมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องของโอกาส เพราะถึงเวลาจริง เราอาจจะเห็นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็เป็นได้
เพื่อให้ได้อรรถรสของการชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต ร่วมกับศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย ชวนเยาวชน ผู้สนใจสังเกตการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ วันที่ 17 พฤศจิกายน เวลา 18.00 น. ถึงรุ่งเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือจะชมการแสดงในท้องฟ้าจำลอง เรื่อง “ฝนดาวตก” และชมภาพยนตร์ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ เรื่อง “องค์ประกอบชีวิต” (ภาพยนตร์ที่ฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์) จัดแสดงและฉายในงานนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งได้ร่วมสนุกกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์อีกมากมาย สอบถามโทร.08-1571-1292 หรือ 0-2564-7000 ต่อ 1460
ฝนดาวตก เป็นความสวยงาม และเป็นแรงบันดาลใจให้คนจำนวนมาก ได้เรียนรู้ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อื่นๆ ตามมามากมาย อย่างน้อย รู้ว่าจะศึกษาฝุ่นละอองรอบๆ ดวงอาทิตย์ ศึกษาวัตถุที่อยู่รอบๆ โลกว่ามีอะไรบ้าง” ทำให้เรารู้เพิ่มขึ้น
วิธีดูที่ดีที่สุดคือ การนอนหงายมองไปที่กลางฟ้าเหนือศีรษะ ฝนดาวตกมีลักษณะแสงสว่างวาบ เคลื่อนที่ผ่านอย่างรวดเร็ว จะพุ่งมาจากทุกทิศทาง มีสีสันสวยงาม เช่น สีน้ำเงินเขียว สีส้มเหลือง เพราะมีแร่ธาตุประกอบต่างๆ กัน เช่น แมกเนเซียม ทองแดง เหล็ก จึงให้สีที่แตกต่างกัน ปลายของดาวตกซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ จะทิ้งควันจางๆ เหมือนไอพ่น หากอยู่ในที่เงียบสงบ บางครั้งอาจได้ยินเสียงด้วย เรียกว่า โซนิกบูม และหากเป็นดาวตกขนาดใหญ่เมื่อเสียดสีกับบรรยากาศ
-ขอบคุณข้อมูล http://thaiastro.nectec.or.th/ และ meteorshowers.org