เซลล์ประสาท
เซลล์ประสาท
ก.Cell body (soma or perikaryon) เป็นส่วนของเซลล์ที่มี nucleus และ cytoplasm ซึ่งเรียกว่า neuroplasm ประกอบด้วย cell organells เช่นเดียวกับที่พบในเซลล์อื่นๆ ของร่างกายแต่ในเซลล์ประสาทจะพบโครงสร้างที่เรียกว่า Nissl bodies อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนพบว่า Nissl bodies คือกลุ่มของ rough endoplasmic reticulum (rER) ที่ย้อมติดสี basophilic กระจายอยู่ทั่วไปใน cell body ยกเว้นบริเวณที่ต่อเหนื่องกับ axon ซึ่งเรียกชื่อเฉพาะว่า axon hillock จะไม่พบ Nissl bodies สำหรับ Nissl bodies นี้ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนที่จำเพาะของเซลล์ประสาทเพื่อใช้ในการสร้างสารสื่อเซลล์ประสาท (neurotransmitter) และการทำงานของเซลล์ประสาท
ข. Cellular process (neurite) เป็นส่วนของเซลล์ประสาทที่ยื่นออกไปจาก cell body เพื่อติดต่อกับเซลล์ประสาทตัวอื่น หรือ เซลล์ชนิดอื่นๆ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อที่เซลล์ประสาทนั้นควบคุม cellular process ของเซลล์ประสาท ประกอบด้วย
-Dendrites เป็นแขนงที่ยื่นออกมาจาก cell body ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณประสาทจากเซลล์อื่นๆเข้าสู่ตัว เซลล์ประสาท ส่วนปลายของ dendrite อาจจะมีปุ่มเล็กๆยื่นออกมา เรียกว่า spine หรือ dendritic spine นี้พบมากใน pyramidal cells ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทที่พบมากในเปลือกสมอง (cerebral cortex) จากการศึกษาพบว่า ในตัวเด็กที่มีปัญหาเรื่องพัฒนาของสมอง เช่น Dow’s syndrome จะมีการเจริญของ dendritic spine น้อยกว่าเด็กปกติ
– Axon ส่วนต้นของ axon ที่ยื่นออกจาก cell body เรียกว่า axon hillock เป็นบริเวณที่ไม่มี Nissal bodies อยู่เลย และ axon hillock นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิด action potential แล้วแผ่ไปตาม axon เซลล์ประสาทหนึ่งเซลล์ จะมีเพียง 1 axon เท่านั้น แต่ axon อาจจะมีแขนงแตกออกออกด้านข้าง เรียกว่า collateral branch สำหรับ axon ของเซลล์ประสาทมักมี myelin sheath หุ้มเป็นปล้องๆ ทำให้เกิดร่องระหว่างปล้อง ที่ myelin sheath หุ้ม เรียกว่า node of Ranvier ซึ่งเป็นบริวณที่ให้สัญญาณประสาทกระโดดข้ามได้ ส่วน axon ที่ไม่มี myelin sheath หุ้ม จะมีเยื่อ neurolemma และ schwann cell หุ้มอยู่ ส่วนปลาย ของ axon จะแตกออกเป็นแขนงเรียกว่า telodendria และ ปลายสุดของแต่ละ telodendria จะมีลักษณะเป็น กระเปาะ เรียกว่า axon terminal ซึ่งมีถุง(vesicle) บรรจุสารสื่อประสาทที่ปล่อยออกไปเมื่อมีสัญญาณประสาทมากระตุ้น แล้วส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นเซลล์ถัดไปได้
โครงสร้างของเซลล์ประสาท
ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท
2.2 แอกซอน (axon) เป็นใยประสาทที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ เซลล์ประสาทตัว
หนึ่งจะมีแอกซอนเพียงหนึ่งแอกซอนเท่านั้น โดยเป็นส่วนยื่นของเซลล์ที่ยาวทำหน้าที่นำกระแสประสาท ออกจากตัวเซลล์ ภายในแอกซอน (axon)ไม่มีนิสเซส บอดี้ (Nissl body) และจุดที่แอกซอน (axon) ออกจากตัวเซลล์ประสาทมีลักษณะนูนขึ้นเรียกว่า แอกซอน ฮิลล็อค (axon hillock) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกระแสประสาท และต่อเนื่องตลอดความยาวของแอกซอน ปลายแอกซอนจะมีแขนงแตกออกไปมีลักษณะเป็นตุ่มซึ่งจะซิแนปส์ (synapse) กับเซลล์ประสาทตัวอื่น
เปลือกหุ้มแอกซอนจะมี 3 ชั้นดังนี้
1.ชั้นในสุด เรียกว่า ปลอกหรือเยื่อไมอีลิน ( myelin sheath) จะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายและเป็นฉนวนกั้นการถ่ายเทประจุไฟฟ้า ระหว่างข้างนอกกับข้างในแอกซอน นอกจากนี้ยังช่วยให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีโนดออฟแรนเวียร์ (node of ranvier) ซึ่งเป็นส่วนของแอกซอนตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์ที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มอยู่เป็นระยะๆ
โดยช่วงความยาวระหว่างโนดออฟแรนเวียร์ (node of ranvier) เรียกว่า อินเตอร์โนด (internode) ซึ่งจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับความยาวของแอกซอน (axon) กระแสประสาทจะเดินทางได้เร็ว เมื่อเส้นใยประสาทนั้นมีเปลือกหุ้ม
2.ชั้นกลาง เรียกว่า เยื่อนิวริเล็มม่า (neurilemma sheath) ชั้นนี้จะมีเซลล์ที่เรียกว่า เซลล์ชวันน์
(Schwann cell) อยู่ โดยจะมีหนึ่งเซลล์ต่อหนึ่ง อินเตอร์โนด (internode) ตลอดความยาวของแอกซอน (axon) และมีไซโทพลาซึม (cytoplasm) ของเซลล์ชวันน์ (schwann cell) เป็นนิวริเล็มม่า (neurilemma)
3.ชั้นนอกสุด เรียกว่า เอ็นโดนิวเรียม (endoneurium) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มแอกซอน (axon) ไว้ทั้งอัน
แอกซอน (axon) ที่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) หุ้มเรียกว่า ใยประสาทไมอีลินเนท (myelinated nerve fiber)มักจะเป็นเส้นประสาทที่หนาและมีขนาดใหญ่ ส่วนแอกซอน (axon) ที่ไม่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลิน ( myelin sheath)หุ้มเรียกว่า ใยประสาทอันไมอีลินเนท (unmyelinated nerve fiber) มักมีขนาดเล็ก โดยปลอกหรือเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ในระบบประสาทรอบนอก จะสร้างโดยเซลล์ชวันน์ (schwann cells) ส่วนเยื่อไมอีลิน ( myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนกลางจะสร้างโดยเซลล์โอริโกเดนโดรเกลีย (oligodendroglia)
ภาพที่ 1.7 ก: ตำแหน่งสมองและไขสันหลัง (มองทางด้านข้าง)
ข:ไขสันหลังและ เส้นประสาทไขสันหลัง (มองทางด้านหลัง)
ค:โครงสร้างของเซลล์ประสาท
เซลล์ประสาท (nerve cell ) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ (ภาพที่ 1.7 ค)
1.ตัวเซลล์ (cell body) มีลักษณะค่อนข้างกลมเป็นส่วนของไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-25 ไมโครเมตร ภายในมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ไมโตคอนเดรีย
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม และกอลจิคอมเพล็กซ์ จำนวนมาก
2. ใยประสาท ( nerve fiber) เป็นส่วนของเซลล์ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ มี 2 ลักษณะคือ
2.1 เดนไดรต์ (dendrite) เป็นส่วนของเซลล์ประสาทที่ยื่นออกไป ส่วนใหญ่จะอยู่รอบๆตัวเซลล์ ทำหน้าที่รับกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เซลล์ประสาทหนึ่งตัวจะมีเดนไดรต์ (dendrite) ได้หลายแขนง ลักษณะที่สำคัญของ (dendrite) คือมี นิสเซส บอดี้ (Nissl body) ไมโตคอนเดรีย
(mitochondria) และมี นิวโรฟิลาเม้นท์ (neurofilament) รวมกันเป็นมัด กระจายทั่วไป เดนไดรต์ (dendrite)ต่างจากแอกซอนคือ ส่วนมากมักไม่มีปลอกหุ้มและที่ปลายมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นต่อมเล็กๆ เรียกว่าหนาม (spine) ซึ่งเป็นที่สำหรับเชื่อมต่อกับกิ่งแอกซอนหรือเดนไดรต์ (dendrite) อื่นๆที่เรียกว่าบริเวณซิแนปส์ (synapse)