ธาตุชนิดใหม่ทั้ง 4 ชนิดที่ถูกเพิ่มเข้ามานั้นทางสหภาพเคมีฯได้ทำการเพิ่มธาตุเหล่านี้เข้าไปอยู่ในตารางลำดับที่ 113, 115, 117 และ 118 ธาตุทั้ง 4 ตามที่ได้กล่าวไปนั้นไม่สามารถพบเจอได้ตามธรรมชาติแต่อย่างใด
ซึ่งมันจะเป็นธาตุที่ได้รับการสังเคาระห์ดังนั้นในเวลานี้ก็เท่ากับว่าเรามีธาตุชนิดใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 4 ชนิดให้ต้องทำการจดจำกันโดยเฉพาะน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษาก็คงจะต้องมีการเพิ่มความจดจำกันใหม่อีกนิด
1.อูนอูนเทรียม (Ununtrium: Uut)
มีเลขอะตอม 113 เปลี่ยนเป็นชื่อ “นิโฮเนียม” ใช้สัญลักษณ์ธาตุเป็น Nh
อูนอูนเอนเนียม (Ununennium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 119 และมีสัญลักษณ์ Uue
“อูนอูนเอนเนียม” เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC (บางตำราอ่านว่า “อูนันเอนเนียม”) และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า “เอกา-แฟรนเซียม” (eka-francium) อูนอูนเอนเนียมเป็นธาตุในหมู่โลหะแอลคาไลและเป็นธาตุแรกในคาบที่ 8
2.อูนอูนเพนเทียม (Ununpentium: Uup)
มีเลขอะตอม 115 เปลี่ยนเป็นชื่อ “มอสโกเวียม” ใช้สัญลักษณ์ธาตุเป็น Mc
นิโฮเนียม (อังกฤษ: Nihonium; สัญลักษณ์ Nh) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 113 นิโฮเนียมเป็นธาตุหนักที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นใหม่ยังไม่รายละเอียดมากนัก มีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-แทลเลียม (eka-thallium) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 IUPAC เสนอชื่อ นิโฮเนียม (nihonium; สัญลักษณ์ธาตุ Nh) เป็นชื่อทางการของธาตุนี้ ชื่อ “นิโฮเนียม” มาจาก “นิฮง” (Nihon)
3.อูนอูนเซปเทียม (Ununseptium: Uus)
มีเลขอะตอม 117 เปลี่ยนเป็นชื่อ “เทนเนสซีน” ใช้สัญลักษณ์ธาตุเป็น Ts
เทนเนสซีน(Tennessine) เป็นธาตุในกลุ่มโลหะหลังทรานซิชัน ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 117 และมีสัญลักษณ์ Ts เคยมีชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC คือ “อูนอูนเซปเทียม” (สัญลักษณ์ธาตุ Uus) และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า “เอกา-แอสทาทีน” (eka-astatine) ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 2010 โดยนักวิทยาศาสตร์ในโครงการการร่วมมือระหว่างรัสเซีย-อเมริกาที่เมืองดุบนา ประเทศรัสเซีย ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 IUPAC เสนอชื่อ เทนเนสซีน (tennessine; สัญลักษณ์ธาตุ Ts) เป็นชื่อทางการของธาตุนี้ ชื่อ “เทนเนสซีน” มาจากชื่อรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
4.อูนอูนออกเทียม (Ununoctium: Uuo)
มีเลขอะตอม 118ซึ่งเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมมากที่สุดในปัจจุบัน เปลี่ยนเป็นชื่อ “โอกาเนสซอน” ใช้สัญลักษณ์ธาตุเป็น Og
โอกาเนสซอน ( Oganesson) เป็นชื่อที่ตั้งโดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ สำหรับธาตุหลังแอกทิไนด์ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 118 และมีสัญลักษณ์คือ Og โอกาเนสซอนยังรู้จักกันในชื่อว่า เอคา-เรดอน หรือ ธาตุ 118 และบนตารางธาตุ มันถูกจัดให้อยู่ในบล็อก-p และเป็นธาตุตัวสุดท้ายบนคาบที่ 7 ปัจจุบัน โอกาเนสซอนเป็นธาตุสังเคราะห์เพียงตัวเดียวของธาตุหมู่ 18 มันยังเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมและมวลอะตอมมากที่สุดเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน
อะตอมกัมมันตรังสีของโอกาเนสซอนมีความไม่เสถียรสูงมาก เนื่องด้วยค่ามวลที่สูง และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มีเพียงสามในสี่อะตอมของไอโซโทป 294Og ที่ถูกตรวจจับได้แม้ว่านี่จะทำให้การสำรวจเพื่อระบุลักษณะสมบัติ และสารประกอบของธาตุเป็นไปได้ยาก แต่การคำนวณในทางทฤษฎีก็ไปตรงกับการทำนายจำนวนมาก รวมทั้งการคำนวณที่ไม่ได้ผลออกมาตรงกัน เช่น แม้ว่าโอกาเนสซอนจะอยู่ในหมู่ 18 มันอาจจะไม่ใช่แก๊สมีตระกูล ต่างกับธาตุอื่นๆในหมู่ 18 แต่เดิมมันถูกทำนายว่าเป็นแก๊ส ณ ภาวะมาตรฐาน แต่ปัจจุบัน มันถูกทำนายว่าจะเป็นของแข็ง เนื่องด้วยผลกระทบจากความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเคมี