ประวัติการดำเนินงานเริ่มจากครอบครัว ของนายเจริญ หล้าปินตา ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน เริ่มทำกระดาษสามานาน 20 กว่าปีแล้ว
โดยนายเจริญ ได้สืบทอดการทำกระดาษสามาจากคุณทวด ซึ่งในสมัยก่อนนั้นไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลายเหมือนสมัยนี้ จะทำกันเฉพาะเมื่อต้องการเขียนยันต์ ทำไส้เทีนย และทำตุงของเชียงใหม่เท่านั้น
ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการพัฒนาการทำกระดาษสาจากที่เคยทำสีขาวก็คิดหาวิธีทำเป็นหลาย ๆ สีและมีลวดลาย มากยิ่งขึ้น ซึ่งปรากฎว่าได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมากทำให้ท่านมีกำลังใจที่จะผลิตงานศิลปะกระดาษสามากยิ่งขึ้น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สมุดโน๊ต อัลบั้ม ถุงกระดาษ กล่องใส่เครื่องสำอาง ดอกไม้ ฯลฯ และยังได้เผยแพร่ กระทำกระดาษสาไปยังหมู่บ้านอื่นสอนวิธีการทำกระดาษสาเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ศิลปะของไทยอีกด้วย
ที่ยึดหลักการประกอบอาชีพในการทำกระดาษสา สืบทอดจากบรรพบุรุษของบ้านต้นเปา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาดั่งเดิมของเชียงใหม่ โดยในอดีตการทำกระดาษสานั้นเพื่อนำไปใช้ในการผลิตร่มและพัด โดยแหล่งผลิตร่มและพัดอยู่ที่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังใช้ในการทำไส้เทียน ทำตุง และทำโคมลอย ซึ่งกระดาษสายังไม่เป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากนัก การทำกระดาษสาจึงอยู่เฉพาะครอบครัวของนายเจริญ และนางทองคำ เหล่าปิ่นตา เท่านั้น จนกระทั่งต่อมากระดาษสาและฟลิตภัณฑ์ กระดาษสาได้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรม กรทรวงอุตสาหกรรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างจริงจังประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2538 มีการจัดงานแสดง และจำหน่ายกระดาษสาและผลิตภัณฑ์ การจัดการประกวดกระดาษสา ตลอดทั้งการฝึกอาชีพการผลิตกระดาษสาและผลิตภัณฑ์ การบริการใหห้คำปรึกษาแนะนำพัฒนาเทคนิคการผลิต เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตต่าง ๆ ทำให้คนเริ่มรู้จักและสนใจกระดาษสากันมาก และรู้จักบ้านต้นเปาว่าเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาด้วยมือ แบบดั่งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่ กระดาษสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาจากบ้านต้นเปาได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหลายประเภท และหลายครั้ง ชื่อเสียงของกระดาษสาบ้านต้นเปาเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับตลาดกระดาษสาและผลิตภัณฑ์กระดาษสาในเมืองไทย เริ่มขยายต่อเนื่อง ทั้งในและต่างประเทศ บางคนมารับงานไปทำที่บ้านเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว นอกจากนั้ยังมีผู้ผ่านการฝึก การทำกระดาษสา และผลิตภัณฑ์กระดาษสา จากบ้านอนุรักษ์กระดาษสา ได้ไปประกอบอาชีพเป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือนของตนเอง ถ้าหากไม่สามารถหาตลาดจำหน่ายได้เอง ก็จะนำผลิตภัณฑ์มาฝากจำหน่าย หรือขายให้ทางบ้านอนุรักษ์กระดาษสา
ต้นเปา บ้านกระดาษสา
ต้นเปา บ้านกระดาษสา
น้อยคนที่จะไม่รู้จักหรือไม่เคยเห็นกระดาษสา เนื่องจากกระดาษสาเป็นภูมิปัญญาที่มีการทำมาช้านาน แต่ถ้ากล่าวถึงกระดาษสาแล้วก็คงจะมีชื่อบ้านต้นเปาผุดขึ้นมาในความคิดของหลาย ๆ คนเป็นแน่ เนื่องจากบ้านต้นเปาเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่และได้ทำมานานกว่า 100 ปี สืบทอดมาจากชนเผ่าไทยเขินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวต้นเปาที่ได้อพยพมาจากสิบสองปันนา เชียงตุง และเชียงรุ้ง เมื่อสมัยก่อตั้งอาณาจักรล้านนา ในปัจจุบันก็ยังมีหลักฐานเกี่ยวกับบรรพบุรุษของชาวต้นเปาหลงเหลืออยู่นั่นก็คือ สำเนียงภาษาพูดของคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนที่พูดสำเนียงเขิน โดยในอดีตอาณาจักรล้านนานั้นประกอบด้วยผู้คนหลากหลายชนเผ่า แต่ละชนเผ่าก็จะมีสำเนียงการพูดที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นในอดีต หมู่บ้านต้นเปาไม่เคยมีต้นปอสาซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการทำแผ่นกระดาษอยู่ในหมู่บ้านเลย เพราะต้นปอสานั้นมักจะอยู่ในป่าตามธรรมชาติ ดังนั้นการทำกระดาษสาจึงน่าจะเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดกันมาหลายช่วงอายุตั้งแต่ก่อนจะอพยพ จนได้นำภูมิปัญญาการทำกระดาษสานี้มาทำต่อที่บ้านต้นเปา
แหล่งที่มา
https://www.nanagarden.com
http://www.thaitambon.com
http://www.ilike-ilove.com
http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_detail.php?diary_id=4175
https://www.museumthailand.com