ชวนมาทำความรู้จักกับลักษณะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจรูปแบบต่างๆ ทั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในและต่างประเทศหลังช่วง “วิกฤติโควิด-19”
1. “K-Shaped” บางส่วนฟื้น บางส่วนฟุบ
สำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย “ธนาคารแห่งประเทศไทย” คาดการณ์จากความรุนแรงของการระบาดระลอกล่าสุด (รอบ เม.ย. 64 ถึงปัจจุบัน) คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแบบกราฟรูปตัว K หรือที่เรียกว่า “K-Shaped” ซึ่งเป็นรูปแบบการฟื้นตัวที่ขาดสมดุล คือมีทั้งส่วนที่ฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดเรื่อยๆ จนกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ ขณะที่ยังมีบางส่วนที่ตกต่ำต่อไปในเวลาเดียวกัน ทำให้ปลายของกราฟฉีกไปคนละทางเหมือนตัวอักษร K นั่นเอง
- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบ “K-Shaped” สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร ?
พัฒนาการของธุรกิจที่ส่งออกสินค้า และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เราจะเห็นภาพของตัว K ที่ชัดเจนมาก
สำหรับเส้นขาบน มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนเมษายน 2564 ขยายตัว 13.1% สูงสุดในรอบ 3 ปี และคาดว่าทั้งปีจะขยายตัวได้อีก ตามการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก
ขณะที่ในขาล่าง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบรุนแรงและยืดเยื้อจากการระบาดของโควิด-19 และคาดว่าจะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคท่องเที่ยวจะกลับไปเป็นปกติ
นอกจากนี้ การฟื้นตัวแบบรูปตัว K ยังสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า สำหรับคนรวย เศรษฐกิจฟื้นแล้ว แต่สำหรับคนจน วิกฤตครั้งนี้ยังอีกยาวไกล และทำให้จนลงไปอีก ซึ่งสำหรับประเทศไทย มิตินี้ก็เห็นได้ชัดเจนเช่นกัน
นอกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แบบ “K-Shaped” แล้ว ยังมีการฟื้นตัวอีกหลากหลายรูปแบบ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยของแต่ละประเทศ ที่เข้ามากระทบระบบเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป
1. ธุรกิจที่ขึ้นต่อปกติ
ธุรกิจกลุ่มนี้จะเป็นธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบอะไร แถมยังมีความต้องการมากขึ้นจากภาวะวิกฤตินี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น บริการทางการแพทย์ การรักษาโรค อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆทางการแพทย์
แต่ที่เราจะเห็นและคุ้นชินกันก็จะเป็นการซื้อของทาง Online การนั่งดู Streaming ที่บ้าน พวก Video conference ต่างๆ พวกนี้เป็นธุรกิจที่เราไม่ต้องไปเจอกับใครนะครับ ความต้องการของหลายๆอย่างมากขึ้นอีกด้วย
2. ธุรกิจที่ลงแบบเจ๊งไปเลย
หากเราจำได้ ในช่วง Covid-19 จะมีหลายธุรกิจที่ปิดกิจการ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กนะครับ ขายของไม่ได้ ค่าแรงก็ต้องจ่าย เงินหมุนก็ไม่ทัน ความพินาศมาเยือนทันที
ยิ่งธุรกิจไหนที่อยู่ในภาคบริการ ไม่ได้มี Stock ของที่สามารถเอาไปขายได้ ต้องใช้คนในการทำงาน มีความเสี่ยงในการสัมผัสกัน อันนี้จะมีปัญหาขึ้นมาได้ทันที เช่น ร้านนวด ที่แรงงานจะถูกพักงานและทำให้กิจการไม่สามารถเดินต่อได้ บางที่ก็จะเจ๊งไปก่อนเพื่อนครับ
3. ธุรกิจที่ลงก่อนแล้วค่อยขึ้นในเวลาไม่นาน
หลายธุรกิจก็จะมีการตกใจก่อนนะครับและก็จะกลับมาเดินหน้าปกติได้ เช่น ธุรกิจที่เป็นพื้นฐาน ปัจจัย 4 ยังไงคนก็ต้องกินต้องใช้ พวกของที่ใช้อุปโภคบริโภคในบ้าน เราต้องอาบน้ำ ซักผ้านะครับแม้ในช่วง Covid-19 และรวมถึงสินค้าพวกเทคโนโลยีต่างๆ
4. ธุรกิจที่ลงก่อนจนกว่าผลกระทบจะคลี่คลายแล้วค่อยขึ้น
จริงๆผมว่าหลายๆธุรกิจในข้อนี้ก็อาจจะใกล้เคียงกับข้อ 2 นะครับ เพียงแต่ธุรกิจในข้อนี้มีความใหญ่พอที่จะฟื้นกลับมาได้ เช่น ธุรกิจสายการบิน ท่าอากาศยาน โรงแรมขนาดใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบยาวกว่า และน่าจะกลับมาเมื่อการเดินทางและการท่องเที่ยวเป็นแบบเดิม
ทั้งหมดนี้ก็เป็น idea ในเรื่องของ K-Shape นะครับ ใครลงทุนแบบไหนอยู่ก็ลองพิจารณากันดูนะครับ
รูปตัว K จะมีอยู่ 4 ทิศนะครับ
- ขึ้นต่อปกติ
- ลงแบบเจ๊งไปเลย
- ลงก่อนแล้วค่อยขึ้นในเวลาไม่นาน
- ลงก่อนจนกว่าผลกระทบจะคลี่คลายแล้วค่อยขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก Raymond James และ https://tarkawin.co และ https://www.bangkokbiznews.com/