-
แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
-
มีอัตราเร็วสูงมากประมาณ 2.99793 x10 8 เมตร/วินาที
-
เมื่อมีวัตถุขวางทางเดินของแสง จะเกิดเงาขึ้นด้านหลังของวัตถุ
-
เงาที่เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงขนาดใหญ่จะมีเงา 2 ชนิด คือ เงามืด และเงามัว
-
เส้นตรงที่แสดงแนวของลำแสง เรียกว่า รังสีของแสง
วิธีของกาลิเลโอ
กาลิเลโอได้ทำการทดลองเพื่อวัดความเร็วแสง โดยท่านและผู้ช่วยถือตะเกียงกันคนละดวง ภายในตะเกียงมีแผ่นเหล็กเปิดปิดแสง ท่านให้ผู้ช่วยไปบนเขาอีกลูกหนึ่ง ห่างกัน 1 ไมล์ ขณะที่กาลิเลโอเปิดแผ่นให้แสงพุ่งออก เมื่อผู้ช่วยเห็นแสงก็ให้เปิดแผ่นปิดออกและให้แสงพุ่งออกมาเป็นสัญญาณพุ่งตอบกลับมาทันที
วิธีของโรเมอร์
Rømer เป็นหน่วยวัดระดับอุณหภูมิที่ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ชื่อ Ole Christensen Rømer ซึ่งได้นำเสนอไว้ในปี ค.ศ. 1701 ในระดับศูนย์ได้รับการตั้งค่าเริ่มต้นโดยใช้น้ำเกลือแช่แข็ง จุดเดือดของน้ำถูกกำหนดเป็น 60 องศา อนึ่ง Rømer เห็นว่าจุดเยือกแข็งของน้ำบริสุทธิ์ได้ประมาณ 1/8 ของวิธีการ (ประมาณ 7.5 องศา) ระหว่างทั้งสองจุดเพื่อให้เขานิยามใหม่จุดคงที่ลดลงจะเป็นจุดเยือกแข็งของน้ำที่แม่นยำ 7.5 องศา นักประดิษฐ์หน่วยวัดฟาเรนไฮต์ ชื่อ Daniel Gabriel Fahrenheit ได้เรียนรู้จากการทำงาน Rømer ซึ่งเพิ่มจำนวนของหน่วยงานโดยปัจจัยสี่และการสร้างสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันในขณะนี้เป็นหน่วยวัดฟาเรนไฮต์
วิธีของฟูโซ
อีปอลิต ฟีโซ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1819 เป็นบุตรชายของหลุยส์และเบอาทริส ฟีโซผลงานแรกของเขาคือการช่วยปรับปรุงกระบวนการถ่ายภาพ ฟีโซและเพื่อนนักฟิสิกส์อีก 2 คนคือ ฟร็องซัว อาราโก และเลอง ฟูโกได้ร่วมกันศึกษาคุณสมบัติของความร้อนและแสง จนในปี ค.ศ. 1848 ฟีโซก็ได้ทำนายถึงปรากฏการณ์การเคลื่อนไปทางแดง (redshift)
หนึ่งปีต่อมา ฟีโซได้ทำการหาค่าอัตราเร็วของแสงจนได้ค่าที่ใกล้เคียงกว่าค่าเดิมของโอเลอ เรอเมอร์ เขาใช้วิธีการฉายแสงไปที่กระจกที่อยู่ห่างออกไป 8 กิโลเมตร โดยให้แสงผ่านช่องว่างระหว่างกงล้อที่หมุนด้วยความเร็ว โดยความเร็วของกงล้อจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งแสงสะท้อนกลับมายังช่องว่างถัดไป[3] ค่าที่ฟีโซคำนวณได้นั้นเท่ากับ 313,300 กิโลเมตร/วินาที ซึ่งคลาดเคลื่อนจากค่าปัจจุบัน (299,792.458 กิโลเมตร/วินาที)
วิธีของไมเคิลสัน
การทดลองของ (Michelson-Morley Experiment)
Interferometer ชนิดไมเคลสัน เป็นอุปกรณ์ทางแสงใช้วัดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ได้ เช่นการเลื่อนตำแหน่งที่น้อยมากๆ ซึ่งใช้ศึกษาการสั่นไหว หรือจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นก็ได้ เช่นอุณหภูมิ ความเร็วในการไหลของอากาศ ความหนาของฟิล์มที่เคลือบกระจก
อินเตอร์ฟีรอมิเตอร์ชนิดไมเคลสัน ตัวกำเนิดแสงเลเซอร์ตั้งอยู่ด้านหนึ่งของโต๊ะ เหนือจากพื้นโต๊ะประมาณ 8-10 นิ้ว เปิดสวิทซ์ให้แสงเลเซอร์ฉายไปยังกระจกแยกลำแสง (BS) ซึ่งจะแยกลำแสงออกเป็น 2 แนว โดยลำแสงลำแรก ทะลุผ่านไปยังกระจก M2 ส่วนลำที่สองสะท้อนเป็นมุม 90 องศาไปยังกระจก M1 ระยะทางจากกระจก BS ไปยังกระจก M1 และ M2 เท่ากัน
ลำแสงที่สะท้อนจากกระจก M1 ผ่านกระจกแยก BS และทะลุผ่านไปยังฉาก S ส่วนลำแสงที่สะท้อนจากกระจก M2 ไปที่กระจกแยก BS และสะท้อนไปที่ฉาก S เกิดการแทรกสอดเป็นริ้วรอยมืดสว่างบนฉาก S เลนส์ DL ช่วยขยายริ้วรอยแทรกสอดให้มีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ง่ายขึ้น ดังรูปล่าง
ริ้วรอยแทรกสอดที่ได้จากอินเตอร์ฟิรอมิเตอร์ชนิดไมเคลสัน
เนื่องจากเป็นเครื่องมือวัดละเอียด อุปกรณ์ทั้งหมดต้องอยู่ในระดับ จึงจะเกิดริ้วรอยแทรกสอดดังรูปได้ ถ้าคุณจับโต๊ะ จะทำให้โต๊ะเกิดการสั่นสะเทือน แม้เพียงเล็กน้อยโดยคุณไม่สามารถสังเกตเห็น ริ้วรอยแทรกสอดจะสั่นสะเทือนให้เห็นอย่างชัดเจน ดังนั้นเครื่องมือนี้จึงมีความไวมากในการวัดความสั่นสะเทือน
สิ่งที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน มีหลายอย่างดังเช่น รถวิ่งผ่าน คนเดินผ่าน จานตกแตก หรือแม้แต่ลิฟท์ในตึกที่เคลื่อนที่ขึ้นและลง อุปกรณ์นี้ตรวจจับได้ทั้งสิ้น
ถ้าคุณกำลังทดลองอยู่ และเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ แรงสั่นสะเทือนของลม ทำให้ริ้วเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแม้เพียงเล็กน้อย เช่นความร้อนจากมือ ทำให้ริ้วเคลื่อนไหวได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามให้คุณไขน๊อตของอุปกรณ์กับโต๊ะให้แน่น ผลของอุณหภูมิจะลดลง