1. วิวัฒนาการของจำนวนและตัวเลข
การผลิตหรือสร้างเครื่องคำนวณได้แนวคิดมาจาก
1. การจดและนับตัวเลขแบบง่ายๆ ไม่มีการใช้ตัวเลข ชาวกรีกใช้การนับนิ้ว หรือลูกหินแทน
2. การใช้รูปภาพแทนตัวเลขในสมัยอิยิปต์ (egypt) เช่น
3. ชาวบาบิโลเนีย ใช้ลิ่มเป็นสัญลักษณ์ของตัวเลข โดยระบบของจำนวนเลข
มีสัญลักษณ์ 2 ตัว คือ
4. สมัยโรมันเริ่มมีการใช้เลขโรมัน ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่ เช่น
ตัวอย่างการแทนค่าด้วยเลขโรมัน
5. ระบบเลขอารบิก ระบบเลขฐานปัจจุบันพัฒนามาจาก Hindui – Arabic
6. ลูกคิดเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณ ซึ่งคิดค้นโดยชาวจีนเมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งคือพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ระบบดิจิตอลนั่นเอง
7. ค.ศ. 1614 John Napier นักคณิตศาสตร์ชาวสกอต ได้สร้างตาราง Logarithms ฐาน e
8. ค.ศ. 1622 William Ougthred นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ใช้แนวความคิด John คิดค้นทำ Slide Rule ขึ้นช่วยในการคูณ
9. ค.ศ. 1642 Blaise Pascal นักปรัชญาและวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้สร้างเครื่องมือในการบวกเลขเครื่องแรกโดยใช้ฟันเฟืองเข้าช่วยในการทด
2. โครงสร้างของระบบจำนวน
3. จำนวนจริง (Real Numbers)
ในขณะนี้มีจำนวนเพียง 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เซตของจำนวนตรรกยะ และเซตของจำนวนอตรรกยะ ผลรวมหรือผลผนวกของเซตทั้งสองนี้เรียกว่า เซตของจำนวนจริง เขียนแทนด้วย R และคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
1. คุณสมบัติปิด (Closure proerties) ถ้า a, b ∊ R
1.1 การบวก a+b ∊ R
1.2 การคูณ a.b ∊ R
2. คุณสมบัติการสลับที่ (Commutative properties) ถ้า a, b ∊ R
2.1 การบวก a+b = b+a
2.2 การคูณ a.b = b.a
3. คุณสมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม (Associative properties) ถ้า a, b, c ∊ R
3.1 การบวก a+(b+c) = (a+ b)+c
3.2 การคูณ a. (b .c ) = (a . b) . c
4. คุณสมบัติการแจกแจง (Distributive properties) ถ้า a, b, c ∊ R
4.1 การบวก a+(b . c) = (a+ b) . (a+c)
4.2 การคูณ a. (b + c ) = (a . b) + (a . c)
5. คุณสมบัติการมีเอกลักษณ์ (Identity properties) ถ้า a ∊ R
5.1 เอกลักษณ์ของการบวก คือ 0 เนื่องจาก a + 0 = a
5.2 เอกลักษณ์ของการคูณ คือ 1 เนื่องจาก a . 1 = a
6. คุณสมบัติการมีจำนวนผกผัน (Inverse)
6.1 การบวก ถ้าให้ a ∊ R จะมี -a ∊ R จะทำให้
a + (-a) = (-a) + a = 0 และเรียก -a ว่า เป็นจำนวนผกผัน
6.2 การคูณ ถ้าให้ a ∊ R ที่ a ≠ 0 จะมี 1/a ซึ่งทำให้ a . 1/a = 1/a . a = 1 และเรียก 1/a ว่าเป็นจำนวนผกผันของการคูณของ a
5. จำนวนตรรกยะ (Relation Numbers)
จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนได้ในรูป a/b โดยที่ a, b เป็นจำนวนเต็ม และ b ≠ 0 และเรียก a/b ว่า เศษส่วน (Fraction) เรียก a ว่า ตัวเศษ (Numerator) และเรียก b ว่า ตัวส่วน (Denominator) นั่นคือจำนวนตรรกยะ จะประกอบด้วยด้วยจำนวนเต็ม และจำนวนเศษส่วน เช่น -7 , 3/5 , 1/2 , 20 เป็นต้น
เซตของจำนวนตรรกยะ จะมีคุณสมบัติภายใต้การบวก และการคูณ เช่นเดียวกับเซตของจำนวนเต็ม กล่าวคือ มีคุณสมบัติปิด สลับที่ จัดหมู่ แจกแจง การมีเอกลักษณ์ จำนวนผกผันของการบวก จำนวนผกผันของการคูณ
ตัวอย่าง 1.1 จำนวนผกผันของการคูณ 1/a คือ a
เพราะว่า 1/a . a = 1 ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการคูณ
เนื่องจากจำนวนตรรกยะอาจเป็นทั้งจำนวนเต็ม และเศษส่วน ดังนั้นจำนวนตรรกยะอาจเขียนได้ในเทอมของทศนิยม และอาจอยู่ในรูปทศนิยมรู้จบ หรือทศนิยมไม่รู้จบแบบซ้ำกันเป็นชุดก็ได้ เช่น 2/3 = 0.6 (ทศนิยมรู้จบ), 2/3 = 1.66.. (ทศนิยมไม่รู้จบ)
6. จำนวนอตรรกยะ (Irrational Numbers)
จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้ เช่น a/b ; b ≠ 0 เมื่อ a, b เป็นจำนวนเต็ม รวมถึงทศนิยมไม่รู้จบแบบไม่ซ้ำ รากที่ถอดได้ไม่ลงตัว หรือเป็นจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะ จำนวนอตรรกยะจำแนกได้ดังนี้
1. จำนวนทศนิยมไม่ซ้ำกันไม่รู้จบ
เช่น 1.1707168…
0.4455235…
2. จำนวนที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และไม่สามารถหาค่าให้เป็นจำนวนตรรกยะได้
เช่น
3. จำนวน
7. จำนวนเต็ม (Integer Numbers)
จำนวนเต็ม คือ จำนวนที่เป็นเลขไม่มีเศษ เช่น -5 , 0 , 3 เป็นต้น
สัญลักษณ์
I แทนจำนวนเต็ม เช่น … , -2 , -1 , 0 , 1 , 2 , …
I– แทนจำนวนเต็มลบ เช่น -1 , -2 , -3 , -4 , …
I+ แทนจำนวนเต็มบวก เช่น 1, 2 , 3 , 4 ,…
N แทนจำนวนธรรมชาติ หรือจำนวนนับ เช่น 1, 2 , 3 , 4 ,…
8. จำนวนเต็มบวก และศูนย์ (Whole Numbers)
ให้ w แทนเซตของจำนวนเต็มบวก และศูนย์
ดังนั้น w = { 0, 1, 2, 3, …}
สำหรับคุณสมบัติการบวกและการคูณ จะเป็นเช่นเดียวกับจำนวนนับ แต่มีจำนวนศูนย์ โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1. ให้ a ∊ w a + 0 = 0 + a = a
2. ให้ a ∊ w a – 0 = a
3. ให้ a ∊ w 0/a = 0
0/a ไม่สามารถหาคำตอบได้ ซึ่งนั่น ให้นิยามไม่ได้ เพราะโดยธรรมชาติไม่มีการหารจำนวนใดๆด้วยศูนย์ ซึ่งเป็นจำนวน จำนวนหนึ่ง ให้ 0/0 = r จะได้ r .0 = 0 ดังนั้น r จะเป็นจำนวนใดๆ ก็ได้ทั้งนั้นหมายความว่า 0/0 ไม่ค่าไม่แน่นอน ผลหารในกรณีนี้ ไม่เป็นที่ยอมรับในคณิตศาสตร์ จึงไม่มีการหาร 0 ด้วย 0 และ w ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับเซตจำนวนนับ
9. จำนวนนับ หรือจำนวนธรรมชาติ หรือจำนวนเต็มบวก (Counting or Natural or Positive Integers)
จำนวนนับ เรียกอีกอย่างว่า จำนวนธรรมชาติ หรือจำนวนเต็มบวก มนุษย์จำนวนนับ หรือจำนวนธรรมชาติไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ในการแลกเปลี่ยน ซื้อ – ขาย หรือการนับ และมนุษย์จะนับเลขเริ่มจาก 1, 2, 3, 4, 5, … ไปเรื่อยๆ เสมอไม่นิยมนับเลข -1, -2, -3, -4 นอกจาก นำมาใช้ในบางกรณีเท่านั้น ดังนั้น เราจึงละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า จำนวนนับ คือ จำนวนธรรมชาติ และจำนวนเต็มบวก
ให้ N แทนเซตของจำนวนนับ สมาชิกของ N คือ 1, 2, 3, 4, …
นั่นคือ N = {1, 2, 3, 4, …}
10. เส้นจำนวน (Number Line)
ลากเส้นตรงเส้นหนึ่ง เกิดจากจุดหลายๆ จุดมาเรียงต่อกันไปตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ โดยเริ่มจากจุดกำเนิด (Origin) ซึ่งถือว่าเป็นจุดเดียวกับจำนวนจริง 0 ดังนั้น บนเส้นตรงให้มีจุดนี้แทนจำนวนศูนย์จุด บนเส้นตรงขวามือของ 0 เป็นจำนวนเต็มบวกแทนด้วย 1, 2, 3, 4, … โดยมีระยะห่างจาก 0 เป็น 1 หน่วย , 2 หน่วย , 3 หน่วย , … ตามลำดับ และเลือกจุดบนเส้นจำนวนทางซ้ายมือของ 0 เป็นจำนวนเต็มลบแทนด้วย -1, -2 , -3 ,… โดยมีระยะห่างจาก 0 เป็น 1 หน่วย , 2 หน่วย , 3 หน่วย , … ตามลำดับ ดังรูป
ถ้ากำหนดจำนวนจริงจำนวนหนึ่งมาให้ จะมีจุดบนเส้นตรงนี้เพียงจุดเดียวเท่านั้นที่แทนจำนวนนั้นได้ เช่น 1/2 จะแทนที่ด้วยจุดที่อยู่ทางขวามือของ 0 ห่างจาก 0 เป็นระยะทาง 1/2 หน่วย –
แทนได้ด้วยจุดที่อยู่ทางซ้ายมือของ 0 และห่างจาก 0 เป็นระยะทาง หน่วย
ในทางตรงกันข้ามเมื่อกำหนดจุดๆหนึ่ง บนเส้นตรงมาให้ ก็จะมีจำนวนจริงจำนวนเดียวเท่านั้นแทนที่ด้วยจุดที่กำหนดให้ กล่าวคือ สามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งระหว่างสมาชิกในเซตของจุดบนเส้นตรง และเรียกเส้นตรงนี้ว่าเส้นจำนวน
จากเส้นจำนวนเราสามารถเห็นภาพของจำนวนต่างๆ เหล่านั้นโดยชัดเจนว่าจำนวนใดมากหรือน้อยกว่ากัน โดยให้ถือหลักว่าจำนวนที่อยู่ทางขวามือ ย่อมมีค่ามากกว่าจำนวนที่อยู่ทางซ้ายมือ เช่น -2 มีค่าน้อยกว่า -1 เพราะว่า -1 อยู่ทางขวามือของ -2
a กับ –a อยู่ห่างจาก 0 เป็นระยะทางเท่ากัน แต่อยู่คนละข้างของ 0 ดังนั้น มีเพียงจำนวนเดียวเท่านั้นเป็นจำนวนตรงข้ามของจำนวนจริง a ถ้า a เป็นจำนวนบวก –a จะเป็นจำนวนลบ และถ้า a เป็นจำนวนลบ –a จะเป็นจำนวนบวก
ตัวอย่าง 1.2
ถ้า a = 3 แล้ว -a = -3
ถ้า a = -5 แล้ว -a = -(-5)
แต่จำนวนตรงข้ามของ -5 คือ 5 ดังนั้นจะได้ว่า -(-5) = 5