โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก (Plant form and function)
เนื้อเยื่อพืช (Plant Tissue) –> เนื้อเยื่อเจริญ (Meristametic Tissue)
เนื้อเยื่อพืชเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายๆ กันมาอยู่รวมกันแล้วร่วมกันทำงาน การจัดจำแนกเนื้อเยื่อของพืชมีหลักเกณฑ์มากมาย เช่น รูปร่าง โครงสร้าง ตำแหน่งที่เกิด และหน้าที่ แต่ส่วนมากจะใช้ความสามารถในการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อเป็นหลักเกณฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ เนื้อเยื่อเจริญและเนื้อเยื่อถาวร
1.เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissue หรือ Meristem)
– ประกอบด้วยเซลล์ที่มีผนังบาง และแบ่งเซลล์แบบไมโตซิสอย่างรวดเร็ว
– ลักษณะสำคัญของเนื้อเยื่อเจริญ คือ
ประกอบด้วยเซลล์เจริญขนาดเล็กมีนิวเคลียสขนาดใหญ่อยู่กลางเซลล์
ผนังเซลล์บางและมีแวคคิวโอลขนาดเล็ก
เซลล์รูปร่างหลายแบบ และเซลล์ชิดกันจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์
มีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ กลายเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดต่างๆ
-จำแนกได้ตามตำแหน่งที่อยู่ในส่วนต่างๆ ของพืชได้โดย 3 ชนิด คือ
(1) เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem)
(2) เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem) พบขนานกับผิวของลำต้นและรากเมื่อแบ่งเซลล์ทำให้ลำต้น และรากขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่า แคมเบียม (Cambium)
* Lateral meristem ที่พบบริเวณกลุ่มท่อลำเลียง เรียกVascular cambium
* Lateral meristem ที่พบในชั้น cortex ของลำต้นและราก เรียกว่าCork cambium
(3) เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อหรือเนื้อเยื่อเจริญระหว่างปล้อง (Intercalary meristem)พบบริเวณเหนือข้อของลำต้นหรือโคนของปล้อง หรือตามข้อและกาบใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวซึ่งช่วยทำให้ปล้องยาวขึ้น
– จำแนกตามระยะการเจริญเติบโต ดังนี้
(1) Promeristem หรือ Protomeristem พบบริเวณ ปลายยอด ปลายราก เซลล์มีขนาดและลักษณะคล้าย ๆ กัน
(2) Primary meristem ที่พบบริเวณ Apical meristem ประกอบด้วย
(1.1) Protoderm เปลี่ยนไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เป็นผิวชั้นนอกสุด เรียกว่า Epidermis
(1.2) Ground meristem เปลี่ยนไปเป็น พิธ (Pith) คอร์เทกซ์ (Cortex) และเอนโดเดอร์มิส (Endodermis)
(1.3) Procambium ปรากฏอยู่เป็นแถบ ๆ ระหว่าง Ground meristem ซึ่งจะเปลี่ยนไปเป็นเนื้อเยื่อลำเลียงระยะแรก
2. เนื้อเยื่อเจริญปฐมภูมิ (Primary meristem)
เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากการแบ่งเซลล์ของ promeristem พบในบริเวณที่ถัดลงมาจากยอด
และบริเวณที่เซลล์มีการยืดยาว (zone of cell elongation) ในปลายราก เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้ยังคงแบ่งเซลล์ต่อไปได้อีก และ
สุดท้ายกลายเป็นเนื้อเยื่อถาวรปฐมภูมิ (primary permanent tissue) ท าให้ส่วนของปลายยอด ปลายราก ของพืชเกิดการยืด
ยาวออก เนื้อเยื่อเจริญปฐมภูมิประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ส่วนได้เแก่
2.1 เนื้อเยื่อเจริญก าเนิดผิว (Protoderm)
เป็นเนื้อเยื่อที่พบอยู่ชั้นนอกสุดเรียงเป็นแถวเดียว แบ่งเซลล์เพียงด้านเดียวและพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อถาวร
ชั้นผิว (epidermis)
2.2 เนื้อเยื่อเจริญพื้น (Ground meristem)
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ถัดจากเนื้อเยื่อชั้นผิวเข้ามาซึ่งจะเจริญและพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชั้นต่างๆ ได้แก่ ชั้น
คอร์เทกซ์ (cortex) ไส้ไม้ (pith) รัศมีเนื้อไม้ (pith ray) และชั้นมีโซฟิลล์ (mesophyll) ของใบ
2.3 โพรแคมเบียม (Procambium)
เป็นเนื้อเยื่อที่แบ่งเซลล์และพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อถาวรในชั้นของเนื้อเยื่อลาเลียงปฐมภูมิ (primary vascular
tissue
3. เนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ (Secondary meristem)
เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่สามารถแบ่งเซลล์ต่อมาจากการเจริญในขั้นปฐมภูมิ และเป็นเซลล์เริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง
เจริญเติบโตออกทางด้านข้าง เรียก การเจริญเติบโตทุติยภูมิ (secondary growth) มีผลให้เกิดการเพิ่มความหนา เพิ่มขนาด
ของล าต้นและราก เช่น เนื้อไม้ของไม้ยืนต้นเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิเนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชนิดคือ
3.1 แคมเบียมท่อล าเลียง (Vascular cambium)
แคมเบียมท่อล าเลียงที่พบในล าต้น มีการเจริญและพัฒนามาจากโพรแคมเบียมเซลล์บางเซลล์เรียก
เนื้อเยื่อนี้ว่า แคมเบียมในมัดท่อล าเลียง (fascicular cambium) ซึ่งอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อล าเลียงอาหารปฐมภูมิ
(primary phloem) และเนื้อเยื่อล าเลียงน้ าปฐมภูมิ(primary xylem) ส่วนแคมเบียมท่อล าเลียงอีกชุดจะเกิดขึ้น
ระหว่างมัดของท่อล าเลียง เรียกว่า แคมเบียมระหว่างมัดท่อล าเลียง (interfascicular cambium) โดยจะเกิดขึ้น
ในแนวเดียวกับแคมเบียมในมัดท่อล าเลียง ซึ่งเจริญและพัฒนาจากเซลล์พาเรงคิมาที่เกิดการเปลี่ยนกลับเป็นเนื้อเยื่อ
เจริญ (dedifferentiation)
ส่วนแคมเบียมท่อล าเลียงในราก มักเกิดขึ้นระหว่างเนื้อเยื่อล าเลียงอาหารปฐมภูมิ และเนื้อเยื่อล าเลียงน้ า
ปฐมภูมิ เช่นเดียวกับในล าต้น และในพืชบางชนิดอาจมีจุดก าเนิดมาจากเซลล์ในชั้นเพอริไซเคิล (pericycle)
เนื้อเยื่อที่ได้จากการแบ่งเซลล์ของแคมเบียมท่อล าเลียง ที่มีต าแหน่งอยู่ทางด้านนอกจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น
เนื้อเยื่อล าเลียงอาหารทุติยภูมิ (secondary phloem) ส่วนเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นด้านในจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น
เนื้อเยื่อล าเลียงน้ าทุติยภูมิ (secondary xylem)
เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)
เป็นเนื้อเยื่อที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญ ประกอบด้วยเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่ หยุดการแบ่งตัว จึง
ท าให้เซลล์มีรูปร่างคงที่ แต่ละเซลล์ท าหน้าที่เฉพาะอย่าง จึงท าให้ ลักษณะ รูปร่างของเซลล์ และองค์ประกอบภายในเซลล์
แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้นๆ เนื้อเยื่อถาวรบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงสภาพและสามารถกลับมาแบ่ง
เซลล์เหมือนเนื้อเยื่อเจริญได้อีกครั้ง เรียกว่า การเปลี่ยนกลับเป็นเนื้อเยื่อเจริญ (dedifferentiation) เมื่อสภาวะบางอย่าง
เปลี่ยนไป เช่น เมื่อเกิดบาดแผลที่ล าต้น เซลล์พาเรงคิมาในชั้นคอร์เทกซ์ก็จะแบ่งตัวเพื่อสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทน จากนั้นก็
กลายเป็นเนื้อเยื่อถาวรเหมือนเดิม
ลักษณะที่ส าคัญของเนื้อเยื่อถาวร
– ประกอบด้วยเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และหยุดการแบ่งเซลล์
– เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อท าหน้าที่เฉพาะ ที่แตกต่างกันออกไป
– มีการสะสมสารต่างๆภายในเซลล์ และเพิ่มความหนาให้แก่ผนังเซลล์
ปัจจุบันนักพฤกษศาสตร์ได้มีการจัดจ าแนกชนิดของเนื้อเยื่อถาวรออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1. เนื้อเยื่อถาวรที่จ าแนกตามการเจริญเติบโต แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 เนื้อเยื่อถาวรปฐมภูมิ (Primary permanent tissue)
เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญปฐมภูมิ ได้แก่ เนื้อเยื่อชั้นผิว เนื้อเยื่อ
ชั้นเอนโดเดอร์มิส เนื้อเยื่อชั้นเพอริไซเคิล (pericycle) ไซเล็มปฐมภูมิ (primary xylem) โฟลเอ็มปฐมภูมิ (primary
phloem)
1.2 เนื้อเยื่อถาวรทุติยภูมิ (Secondary permanent tissue)
เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ ได้แก่ เนื้อเยื่อชั้นคอร์ก (cork) เฟลโลเดิร์ม
(phelloderm) ไซเล็มทุติยภูมิ(secondary xylem) และโฟลเอ็มทุติยภูมิ (secondary phloem)
***** รายละเอียดของเนื้อเยื่อถาวรที่จ าแนกตามการเจริญเติบโตชนิดต่างๆ จะอธิบายอยู่ในส่วนของเนื้อเยื่อถาวร
เชิงเดี่ยว และเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน
2. เนื้อเยื่อถาวรที่จ าแนกตามชนิดของเซลล์ที่มาประกอบกัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (simple permanent tissue)
2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissue)
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว
เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียวกันล้วนๆ ได้แก่ เนื้อเยื่อชั้นผิว (epidermis) พาเรงคิมา
(parenchyma) คอลเลงคิมา (collenchyma) และสเกลอเลงคิมา (sclerenchyma)
1. เนื้อเยื่อชั้นผิว (Epidermis)
เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ที่อยู่ด้านนอกสุดของอวัยวะต่างๆ ของพืช เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญก าเนิดผิว
ประกอบด้วยเซลล์เอพิเดอร์มิส (epidermal cell) เรียงตัวเบียดกันแน่นแถวเดียว จนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ในพืชบาง
ชนิดอาจมีเนื้อเยื่อชั้นผิวที่เรียงตัวมากกว่าหนึ่งชั้น (multiple epidermis) ก็ได้ เช่น มะเดื่อ บีโกเนีย เป็นต้น
เนื้อเยื่อชั้นผิวประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อเซลล์โตเต็มที่จะมีแวคิวโอลขนาดใหญ่ดันส่วนต่างๆ ภายในเซลล์ไปอยู่ที่
ขอบเซลล์ ผนังเซลล์บางเป็นผนังเซลล์ปฐมภูมิ (primary wall) ชั้นนอกสุดของเนื้อเยื่อชั้นผิวจะมีสารคิวทิน (cutin) เคลือบอยู
เป็นชั้น เรียกว่า ชั้นคิวติเคิล (cuticle) โดยสารคิวทินย้อมติดสีซูดาน 4 (sudan IV) ท าให้เห็นเป็นสีแดง นอกจากนี้ยังพบสาร
อื่นสะสมอยู่ด้วย เช่น ซิลิกา
เซลล์เอพิเดอร์มิสบางเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เพื่อท าหน้าที่เฉพาะ เช่น ในรากมีการยืดยาวและยื่นส่วนของ
ผนังเซลล์ออกไปเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ขนราก (root hair) ท าหน้าที่ดูดซึมน้ าและแร่ธาตุเข้าสู่ราก ส่วนที่ล าต้นหรือใบมีการ
เปลี่ยนแปลงไปเป็นขน (trichome) หรือต่อม (gland) เพื่อป้องกันอันตรายแก่พืช เซลล์เอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง 2
เซลล์มาประกบกัน เรียก เซลล์คุม (guard cell) บริเวณตรงกลางของรอยต่อระหว่างเซลล์คุม 2 เซลล์สามารถแยกออกจากกัน
เกิดช่องว่างเกิดขึ้นได้ เรียกว่า ปากใบ (stoma) เป็นส่วนที่ท าหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส และคายน้ าของพืช เราสามารถพบปากใบ
ได้ทั้งด้านหลังใบและท้องใบ บางส่วนของกิ่ง หรือล าต้น แต่จะไม่พบปากใบที่ราก นอกจากนี้ยังพบปากใบได้ที่กลีบดอก ก้านชู
อับเรณู และเมล็ดในพืชบางชนิด แต่ปากใบเหล่านี้ไม่สามารถท าหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส และคายน้ าได้เหมือนปากใบทั่วๆไป
ภายในเซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์ ที่สามารถเกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ นอกจากนี้ยังมีเซลล์เอพิเดอร์มิสเรียงตัวล้อมรอบเซลล์
คุม เรียกว่า เซลล์ข้างเซลล์คุม (subsidiary cell)
ขอบคุณข้อมูล https://www.scimath.org