ทฤษฎีกรด-เบส
ทฤษฎีกรด-เบสอาร์เรเนียส
ทฤษฎีกรด-เบสอาร์เรเนียส ให้นิยามว่า กรด คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน ส่วนเบส คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน ซึ่งสามารถแสดงสมการทั่วไปดังนี้
ในสมการนี้ HA เป็นสูตรทั่วไปของกรด เช่น HNO3, HClO4ส่วน BOH เป็นสูตรทั่วไปของเบส เช่น NaOH, KOH
ข้อจำกัดนิยามของอาร์เรเนียส คือ สารที่เป็นกรดหรือเบสจะต้องละลายในน้ำหรือตัวทำละลายอื่นเท่านั้น ถ้าไม่ละลายในตัวทำละลายจะไม่จัดเป็นกรดหรือเบส นอกจากนี้ไม่สามารถใช้อธิบายความเป็นกรดหรือเบสของสารที่ในโมเลกุลไม่มี H+ หรือ OH– ในโมเลกุล เช่น NH4Cl หรือ CH3COONa แต่แสดงสมบัติเป็นกรดและเบสได้ ตามลำดับ
ทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-ลาวรี
ทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-ลาวรี ให้นิยามว่า กรด คือ สารที่ให้โปรตอน และ เบส คือ สารที่รับโปรตอน
นิยามกรดและเบสของเบรินสเตด-ลาวรีสามารถอธิบายความเป็นกรดของ NH4Cl และความเป็นเบสของ CH3COONa ซึ่งในโมเลกุลไม่มี H+ หรือ OH– แต่เมื่อละลายน้ำแล้วได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส
NH4Cl เป็นสารประกอบไอออนิก เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวเป็นไอออนและเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
NH4+ให้ H+ กับ H2O ดังนั้น NH4+ จึงทำหน้าที่เป็นกรด ในขณะที่ H2O รับ H+ จาก NH4+ ดังนั้น H2O จึงทำหน้าที่เป็นเบส และในสารละลายมี H3O+ เกิดขึ้น สารละลาย NH4Cl จึงมีสมบัติเป็นกรด
สำหรับ CH3COONa ซึ่งเป็นสารประกอบไอออนิกเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวเป็นไอออนและเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
H2O ให้ H+ กับ CH3COO– เกิดเป็น OH– ในขณะที่ CH3COO– รับ H+ จาก H2O เกิดเป็น CH3COOH ดังนั้น H2O จึงทำหน้าที่เป็นกรด ส่วน CH3COO– ทำหน้าที่เป็นเบส ในสารละลายมี OH– เกิดขึ้น ดังนั้นจึงสามารถอธิบายสมบัติความเป็นเบสของสารละลาย CH3COONa ได้
ทฤษฎีกรด-เบสลิวอิส
ทฤษฎีกรด-เบสลิวอิส ให้นิยามว่า กรด คือสารที่สามารถรับคู่อิเล็กตรอน และ เบส คือ สารที่สามารถให้คู่อิเล็กตรอน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF3) กับแอมโมเนีย
NH3 มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ จึงเป็นสารที่ให้คู่อิเล็กตรอน ส่วน BF3 เป็นสารที่รับคู่อิเล็กตรอน ดังนั้น NH3 จึงเป็นเบส ส่วน BF3 เป็นกรด
ทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิสยังสามารถใช้อธิบายความเป็นกรด-เบสของสารที่มีโปรตอนเช่นเดียวกับทฤษฎีของเบรินสเตด-ลาวรี ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาระหว่างโปรตอนกับไฮดรอกไซด์เกิดเป็นน้ำดังสมการ
ในปฏิกิริยานี้อธิบายได้ว่า OH– ให้คู่อิเล็กตรอนกับ H+ จึงเป็นเบส ส่วน H+ เป็นกรดเพราะรับคู่อิเล็กตรอนจาก OH– แล้วเกิดพันธะ O-H