ทอมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้เปลี่ยนโลกด้วยสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีกว่า 1,000 ชิ้น
เสียชีวิต วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1931 ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
ผลงาน – ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
– เครื่องเล่นจานเสียง
– กล้องถ่ายภาพยนตร์
– เครื่องขยายเสียง
– หีบเสียง
– เครื่องบันทึกเสียง
แม้ว่า ” โทมัส เอดิสัน” จะไม่ใช่ผู้ที่ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า คนแรกในโลก แต่เขาเป็นนักประดิษฐ์ นักการตลาด และผู้นำ… ที่เปลี่ยนแปลงโลกจากสิ่งที่เขาประดิษฐ์ และ แนวคิดในการด้วยการจับคู่ ทักษะในการเป็น “นักประดิษฐ์” กับ ความคิดในการเป็น “นักการตลาด – นักธุรกิจ” ผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็น…
หลอดไฟฟ้าไส้คาร์บอน ที่ทำจากไม้ไผ่ญี่ปุ่น ที่ส่องสว่างได้ 900 ชั่วโมง , สวิตช์ ปิด-เปิด หลอดไฟ สายไฟ มิเตอร์ไฟฟ้า และ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะสร้างระบบแสงสว่างให้กับ อเมริกา และ มนุษยชาติ, เครื่องบันทึกเสียง, โรงจ่ายไฟฟ้า, แบตเตอรี่, เครื่องถ่ายภาพ, ระบบไฟฟ้ากระแสตรง และสิ่งประดิษฐ์อีกมากมาย
โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) เริ่มต้นสร้างอาณาจักรยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า “จีอี” เจเนอรัล อิเล็กทริค “G.E.” ( General Electric) และบริษัทอื่นๆ ของเขา
คนทั่วโลกในยุคของเขา เรียก เอดิสัน ว่า ” พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ค (Menlo Park)” และยกย่องให้เขาเป็นอัจฉริยะของโลก แต่สิ่งที่เขาบอกกับโลกนี้ว่า…
“อัจฉริยะในความคิดผม(เอดิสัน) ประกอบด้วยพรสวรรค์เพียง 1% ส่วนอีก 99% จากความพยายาม และการลงมือทำ”
เรามาทำความรู้จักกับ สุดยอดนักประดิษฐ์ นักการตลาด และนักธุรกิจ ที่ชื่อว่าโทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) กันกับ
จุดเริ่มต้น
โทมัส เอดิสัน “ยอดนักประดิษฐ์” ที่เริ่มประดิษฐ์สิ่งของเมื่อเขามีอายุเพียง 10 ขวบ สามารถสร้างเครื่องบันทึกเสียงได้ ทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคนหูหนวก และทำงานอย่างขยันขันแข็ง ค้นคว้าไม่หยุดหย่อน จนมีเวลานอนเพียง 4-5 ชั่วโมงเท่านั้น เขาได้รับการยกย่องให้เป็นนักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เรียนหนังสือมากนัก แต่สามารถจะศึกษาหาความรู้ได้จากนอกโรงเรียนและคนคว้าทดลองด้วยตนเอง จนมีชื่อเสียงโด่งดัง
โทมัส เอลวา เอดิสัน เกิดใน ค.ศ. 1847 ที่มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เมื่อเข้าโรงเรียนครูกล่าวว่าเขาไม่สามารถเรียนคณิตศาสตร์ก็ได้ ดังนั้นหลังจากเรียนอยู่ได้ 3 เดือน บิดามารดาก็ต้องเอาออกจากโรงเรียน แล้วมารดาก็เป็นผู้สอนแทนเธอ สอนให้อ่านและเขาก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับเคมีที่สามารถจะหาได้
พออายุได้ 12 ปี เขาได้ทำงานเป็นเด็กเดินข่าวของรถไฟ ขายหนังสือพิมพ์และผลไม้ เอดิสันหูตึงเพราะถูกพนักงานรักษารถไฟคนหนึ่งกระแทกที่หูอย่างแรง เมื่อเขาทำสารเคมีชนิดหนึ่งหกลงไปจนเกิดไฟลุกในรถเก็บของ ซึ่งเอดิสันใช้เป็นห้องทำงาน และทำการทดลองวิทยาศาสตร์ แต่ตามที่เอดิสันแถลงด้วยตนเองนั้น เขากล่าวว่า “การที่หูเขาเกิดพิการก็เพราะมีคนรถไฟคนหนึ่งได้ช่วยเหลือโดยจับหูเขาดึงขึ้นมาบนรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่คันหนึ่งขณะที่เขาเลื่อนไถลลงไปใต้ท้องรถไฟและจวนเจียนจะถูกล้อทับอยู่แล้ว”
การที่เอดิสันกลายเป็นคนหูพิการ มิได้ช่วยให้เขารอดชีวิตอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยเหลือให้มีเครื่องบันทึกเสียงเกิดขึ้นอีกด้วย
จากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ครั้งนั้น ทำเอดิสันถูกไล่ออกและตกงาน แต่ไม่มีสิ่งใดทำให้เขาท้อแท้ได้ นายสถานีประทับใจในความเฉลียวฉลาดและไหวพริบของเขา จึงได้สอนเรื่องการส่งโทรเลขให้ ดังนั้นเมื่อเขาอายุได้ 15 ปี ก็ได้งานเป็นคนส่งโทรเลข เขาได้ประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงสำหรับส่งข่าวโทรเลขในปี ค.ศง 1869 ขณะอายุได้ 21 ปี และได้จดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของเขา เอดิสันได้จดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ของเขามากกว่า 1,200 อย่าง
เขาได้ประดิษฐ์สิ่งสำคัญขึ้นหลายอย่างเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า ความจริงเขาเป็นคนที่มีทักษะที่จะปฏิบัติตามความคิดใหม่ ๆ ได้ทุกอย่าง เราระลึกถึงเอดิสันในเรื่องแสงไฟฟ้า เพราะขณะนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ในการใช้ในการให้แสงสว่างในบ้านธรรมดาได้ เพราะยังไม่มีหลอดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ภายในบ้านยังต้องใช้เทียนหรือตะเกียงน้ำมัน และประมาณปี ค.ศ. 1850 จึงเริ่มใช้ก๊าซ ตอนต้นศตวรรษที่ 19 เซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี่ ได้ประดิษฐ์ตะเกียงที่ทำให้เกิดแสงโดยผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังแท่งคาร์บอน 2 แท่ง ทำให้เกิดความสว่างขึ้น แต่ก็ใช้ให้แสงสว่างในท้องถนน เพราะมีขนาดใหญ่และเทอะทะ ไม่เหมาะที่จะใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในปี 1878 นักวิทยาศาสตร์ โจเซฟ สวอน มาจากเมืองซันเดอแลนด์ ได้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าขึ้นเป็นครั้งแรก เขาใช้แท่งคาร์บอนเล็ก ๆ ติดในกระเปาะแก้ว และทำให้แท่งคาร์บอนร้อนด้วยไฟฟ้า ทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น คาร์บอนไม่เหมือนกับโลหะทั้งหลาย สามารถทำให้ร้อนพอที่จะให้ความสว่างโดยไม่หลอมละลาย แต่หลอดไฟของสวอนให้แสงสว่างน้อยเกินไป ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เอดิสันซึ่งทำงานด้านเดียวกับสวอนในสหรัฐอเมริกา มองเห็นทางที่จะปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ของสวอนให้ดีขึ้นได้ ถ้าทำให้หลอดแก้วเป็นสุญญากาศ แท่งคาร์บอนหรือเส้นลวด ก็จะเกิดแสงสว่างที่สว่างกว่า โดยที่ไม่ทำให้หลอดแก้วร้อนเกินไป ดังนั้นเอดิสันและโจเซฟ สวอน จึงได้รับเกียรติร่วมกันในสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญนี้
เอดิสันได้ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ กว่า 1,200 ชนิด ผลงานของเขา อาทิ เช่น แสงไฟฟ้า หีบเสียงเครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ
เอดิสันทำงานอย่างขยันขันแข็ง คืนหนึ่ง ๆ เขานอนเพียง 4-5 ชั่วโมงเท่านั้น ในตอนปลายชีวิตสุขภาพของเขาทรุดโทรมไปมาก และถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1931
มุ่งสู่เส้นทางของนักประดิษฐ์
ชะตาชีวิตลิขิตทางเดินของคน วันหนึ่งเอดิสันได้ช่วยชีวิตเด็ก 3 ขวบจากการถูกรถไฟทับ เผอิญเด็กคนนั้นเป็นลูกชายของนายสถานีรถไฟ เขาได้ตอบแทนเอดิสันด้วยการสอนวิธีการส่งโทรเลขจนชำนาญ ทำให้เขาได้งานเป็นคนส่งโทรเลขอยู่นานหลายปี พอมีเวลาว่างเอดิสันก็จะศึกษาและทดลองทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีโทรเลข จนเขามีความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นอย่างดี
ปี 1866 ขณะอายุ 19 ปี เอดิสันย้ายไปอยู่ที่เมืองลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี ทำงานเป็นพนักงานของบริษัท Western Union อยู่ในสำนักข่าว เขาเลือกทำงานกะกลางคืนเพื่อให้มีเวลาเต็มที่สำหรับการศึกษาและการทดลองที่เขาชอบ และมันก็สร้างปัญหาให้กับเขาอีกครั้งจนได้ คืนหนึ่งในปี 1867 เขาทดลองเกี่ยวกับแบตเตอรี่ แล้วทำน้ำกรดหกใส่พื้น มันไหลลงไปที่โต๊ะเจ้านายข้างล่าง วันรุ่งขึ้นเขาถูกไล่ออก เอดิสันจึงต้องพบกับความลำบากไม่มีเงินและไม่มีงานทำ ยังดีที่เพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งที่เป็นนักประดิษฐ์ชื่อ Franklin Leonard Pope ให้เขาไปพักและทำงานอยู่ในห้องใต้ดินที่บ้านของเขา ปี 1869 เอดิสันในวัย 22 ปีย้ายไปอยู่ที่นิวยอร์ก และประสบความสำเร็จกับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกคือเครื่องพิมพ์ข้อมูลราคาหุ้นซึ่งขายลิขสิทธิ์ได้เงินมากพอสมควร และทำให้เขาตัดสินใจเลิกทำงานอย่างอื่นมุ่งหน้าเป็นนักประดิษฐ์อย่างเต็มตัว
เขาประดิษฐ์เครื่องบันทึกภาพเคลื่อนไหวสำเร็จซึ่งนำไปสู่การสร้างภาพยนตร์ อีก 2 ปีต่อมาเอดิสันได้สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก ต่อมาเขาได้นำเครื่องบันทึกภาพเคลื่อนไหวมารวมกับเครื่องบันทึกเสียงซึ่งเขาเป็นคนประดิษฐ์เองกลายเป็นเครื่องถ่ายทำภาพยนตร์ ปี 1898 เอดิสันเริ่มประดิษฐ์แบตเตอรี่ที่ทำจากนิกเกิลและเหล็กและทำสำเร็จในปี 1909 ใช้เวลานานถึง 11 ปี
นอกจากนี้เอดิสันยังมีผลงานสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีอีกมาก เช่น เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องขยายเสียง เครื่องอัดสำเนา และสิ่งประดิษฐ์อื่นๆอีกนับพันชิ้น เอดิสันเป็นนักประดิษฐ์ที่มีผลงานมากที่สุดในยุคนั้น เขามีสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ภายใต้ชื่อของเขาเป็นจำนวนถึง 1,093 ชิ้น แม้ส่วนใหญ่เขาไม่ได้เริ่มคิดค้นขึ้นมาเอง แต่เป็นการพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นโดยลูกจ้างของเขา เพราะเหตุนี้ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการอ้างผลงานเป็นของตัวเองแต่ผู้เดียวอยู่เสมอ
จากผลงานการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้เทคโนโลยีอย่างมากมายเหลือเชื่อ
เอดิสันจึงได้รับยกย่องว่าเป็นอัจฉริยะในด้านนี้ แต่ตัวเขาเองกลับบอกว่าความสำเร็จของเขามาจากความพยายามมากกว่า วาทะเด็ดของเขาอย่างเช่น “อัจฉริยะเกิดจากแรงบันดาลใจเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ และอีก 99 เปอร์เซ็นต์คือความอุตสาหะ” หรือ “ผมไม่ได้ล้มเหลวนะ ผมเพิ่งจะพบ 10,000 วิธีที่มันใช้ไม่ได้” เป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดี
เอดิสันแต่งงานกับ Mary Stilwell ในปี 1871 มีลูกด้วยกัน 3 คน Mary เสียชีวิตตอนอายุยังน้อยด้วยโรคมะเร็งในสมองในปี 1884 ต่อมาในปี 1886 เอดิสันแต่งงานใหม่กับ Mina Miller มีลูก 3 คนเช่นกัน เอดิสันเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานในปี 1931 อายุรวม 84 ปี ส่วน Mina เสียชีวิตในปี 1947
เอดิสันเป็นตัวอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จด้วยความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร เขาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ นิตยสารไลฟ์ได้ยกย่องให้เอดิสันเป็นหนึ่งใน “100 คนที่สำคัญที่สุดในช่วง 1,000 ปีที่ผ่านมา” เขาคือสุดยอดนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกตลอดกาล
ขอบคุณข้อมูล https://www.takieng.com/