ทำไมเราต้องแก่ลง? (Mechanism of Aging)
การทำงานของต่อมไร้ท่อและอวัยวะต่างๆของมนุษย์จะค่อยๆลดลงขณะที่เราอายุมากขึ้น พร้อมๆกับอาการที่บ่งบอกถึงความชราภาพของเรา อาทิ สมรรถภาพที่ถดถอย อารมณ์หงุดหงิดง่าย ผิวพรรณเหี่ยวย่น ขณะที่ HGH ลดลง จะเร่งให้กระบวนการแก่ตัวของร่างการเกิดเร็วขึ้น เห็นได้ชัดว่า HGH สำคัญมากต่อสุขภาพพลานามัยของคนชรา
(HGH: Human Growth Hormone เป็นฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตที่หลั่งจากต่อมใต้สมองของมนุษย์ )
อะไรคือสาเหตุของความชรา ?
การที่ระบบต่อมไร้ท่อทำงานลดลงมีผลต่อการลดลงของระดับสารเคมีในร่างกายมนุษย์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง Pituitary Grand)
การลดลงของฮอร์โมนสำคัญๆ ในร่างกายเป็นสาเหตุหลักของความชรา ยังมีผลทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกเสื่อมลง ไขมันสะสมมากขึ้น การทำงานของสมองด้อยลงและเกิดอาการของโรคชราตามมา
ผลต่อร่างกายต่อการขาดฮอร์โมน
• ปัญหาการแข็งตัวขององคชาติ เสื่อมสมรรถภาพ
• ระบบประสาทในการรับรู้ เรียนรู้ และการเคลื่อนไหว เสื่อมลง
• มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด มีไขมันสูงในหลอดอาหารและหลอดลม
• การทำงานของอินซูลินลดลง เป็นเบาหวาน
• ผมร่วงและหงอกมากขึ้น
• มีการเสื่อมของข้อ ข้อติดและปวด
• การทำงานของปอด หัวใจ ตับ ไต เสื่อมลง
• ผิวหนังแห้งและเหี่ยวย่น
ผลต่อจิตใจต่อการขาดฮอร์โมน
• อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
• เบื่ออาหาร
• หงุดหงิดง่าย
• โมโหง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
• ไร้อารมณ์ทางเพศ
• อารมณ์แปรปรวน
• มองโลกในแง่ร้าย
• หลีกหนีสังคม รู้สึกเปล่าเปลี่ยวและอ้างว้าง
ฮอร์โมนเหล่านี้ให้การเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานสัมพันธ์กัน
ฮอร์โมนเหล่านี้ยังควบคุมกระบวนการเผาผลาญพลังงานซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพพลานามัยที่ดี การหลั่งฮอร์โมนจะลดลงเมื่ออายุ 25 ปี และจะลดลงจนเหลือน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณสูงสุดที่เคยมีในตอนวัยรุ่น
การแบ่งกลไกของของการก่อให้เกิดความแก่ชราออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ด้วยกันดังนี้
1. Micro accidents กลไกการสั่งสมความเสียหายในระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นกระจายทั่วทั้งร่างกาย
มีการสั่งสมความเสียหายในระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นกระจายทั่วร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงสภาวะที่ไปทำลายโครงสร้างสำคัญของร่างกาย เช่น
– อนุมูลอิสระ ของเสียที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ และเป็นตัวสำคัญในการทำลาย DNA และโปรตีน
– Mutagen เป็นสารเคมีที่มีผลกระบทต่อ DNA ทำให้รบกวนการทำงานของยีนได้
– ผลกระบทจากรังสีต่างๆ เช่นรังสี UV, X-ray ที่สร้างความเสียหายในระบบเซลล์ได้
– สารเคมีบางอย่าง เช่น อัลดีไฮด์, ฟอร์มาดีไฮด์ ฯลฯ ทำให้เกิดผลเสียต่อส่วนประกอบภายในเซลล์ได้
– อื่นๆ …
ความเปลี่ยนแปลงพวกนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาในเซลล์ของเรา ส่วนใหญ่จะไม่มีผลเสียหายต่อร่างกายมากนัก เพราะตามธรรมชาติของร่างกายเราจะมีกระบวนการเข้าไปแก้ไข และก็อาจจะมีบางส่วนที่หลุดรอดมาได้ ซึ่งก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้ามีการสั่งสมความเสียหายเล็กๆ เหล่านี้รวมกันเป็นระเวลานานเข้า ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่างๆ ได้ รวมไปถึงเมื่อพวกเรามีอายุมากขึ้น กระบวนการแก้ไขนี้อาจจะบกพร่องหรือมีประสิทธิภาพที่ลดลง การเปลี่ยนแปลงพวกนี้แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียได้เช่นกัน
2. Aging Clocks ความแก่ชราภาพที่ถูกโปรแกรมไว้ในระดับพันธุกรรม ซึ่งก็คือ นาฬิกาช่วงชีวิต
ในยุคเริ่มต้นที่มีการวิจัยเรื่องอายุ มีข้อถกเถียงกันมากว่ากลไกของ Aging clock มีจริงหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงพบว่า สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะไม่มี Aging Clock พวกมันจึงสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้อย่างไม่จำกัด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ก็มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนว่า สิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมี Aging Clock มากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป
เซลล์ส่วนใหญ่ในสิ่งมีชีวิตระดับสูง จะมีนาฬิกาช่วงชีวิต หมายความว่า เซลล์พวกนี้ถูกจำกัดจำนวนในการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณ เช่น เซลล์ผิวหนังกบ สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เพียง 10 ครั้ง เป็นต้น เรียกว่า Cellular clock
เซลล์ส่วนใหญ่ในสิ่งมีชีวิตระดับสูง จะมีนาฬิกากลางอยู่ที่สมอง ซึ่งจะคอยติดตามการพัฒนาการและช่วงอายุของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ เรียกว่า Central clock
– นาฬิกาตัวนี้จะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากในแต่ละคน แต่ละเผ่าพันธุ์ชีวิต ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมภายนอกจะมีผลต่อนาฬิกาให้เดินเร็วหรือช้าได้ ยกตัวอย่างเรื่องความเครียดจะไปเร่งให้นาฬิกานี้เดินเร็วขึ้น เป็นต้น
Note: ตัวอย่างของ Aging Clock ที่ชัดเจน คือ นาฬิกาที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ในผู้หญิง ซึ่งจะเปิดใช้งานเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ผู้หญิงก็จะเริ่มมีประจำเดือน และเมื่ออายุประมาณ 45 ปี นาฬิกาที่ว่านี้ก็จะปิดการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ทำให้ผู้หญิงเข้าสู่วัยทอง เป็นต้น
3 .ทฤษฎีที่ว่าด้วยกลไกการดับสูญไปของสิ่งมีชีวิต
– Disposable Soma & Genetic Theory เป็นการอ้างอิงถึงการมีอายุที่เพิ่มมากขึ้นที่ถูกกำหนดเป็นผลมาจากในระดับสารพันธุกรรม
– Immunological Theory ว่าด้วยเรื่องทฤษฎีระบบภูมิคุ้มกัน ที่เชื่อว่าภูมิคุ้มกันจะเริ่มลดลงตามอายุที่มากขึ้น และยังผลให้เซลล์เสื่อมสภาพและตายลงในที่สุด
– Telomere Theory เป็นทฤษฎีเรื่องการหดตัวสั้นลงเรื่อยๆของเซลล์ Telomere ในส่วนบนของสารพันธ์กรรม DNA เมื่อเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ทำให้เราดูแก่ลงทุกวันนั้นเอง
แหล่งที่มาของข้อมูล https://escortquality.co.th