ประวัติกางเกงยีนส์
ยีนส์มีกำเนิดมาหลายร้อยปีแล้วอย่างที่ตั้งข้อสงสัยจริง ๆฝรั่งเรียกยีนส์ว่า บลูยีนส์ (Blue Jeans) เพราะยีนส์มีสีโทนน้ำเงินมาแต่กำเนิด ไม่ได้มีสีต่าง ๆ ให้เลือกอย่างในปัจจุบัน
ผ้ายีนส์ขนานแท้เป็นผ้าฝ้ายลายสอง ใช้สำหรับตัดเย็บเสื้อผ้าใส่ทำงานที่ต้องการความทนทาน ผ้ายีนส์ทั่วไปทอจากเมืองเจนัว (Genoa) ประเทศอิตาลี แต่ช่างทอผ้าชาวฝรั่งเศสเรียกเมืองนี้ว่า แชน(Genes) อันเป็นที่มาของคำว่า ยีนส์ นั่นเอง
อย่างไรก็ดีต้นกำเนิดของยีนส์นั้นดำเนินควบคู่มากับประวัติของช่างเสื้อวัย ๑๗ ที่ชื่อลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) ซึ่งอพยพมาอยู่ซาน ฟรานซิสโก ในยุคเฟื่องของเหมืองทอง ราวทศวรรษที่ ๒๓๙๓-๒๔๐๓ แต่แทนที่เขาจะร่วมเสี่ยงโชคขุดทองดังวัตถุประสงค์ของผู้คนทั้งหลายที่หลั่งไหลเข้าชาน ฟรานซิสโก ด้วยสายตานักธุรกิจที่กว้างไกลเขากลับนำผ้าใบมาขาย ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดในช่วงนั้นมาก นักขุดทองพากันซื้อผ้าใบมาใช้เป็นเต็นท์และใช้คลุมรถ ความฉลาดเฉลียวของพ่อหนุ่มคนนี้ยังมองเห็นช่องทางอื่นอีก เขารู้ว่าคนที่ทำงานในเหมืองต้องการกางเกงที่เหมาะกับลักษณะงานลุยมาก เขาจึงนำผ้าใบซึ่งทนต่องานหนัก ๆ ได้ดีมาใช้ตัดเย็บเสื้อกางเกง
ถึงแม้กางเกงจากฝีมือของเขาจะหยาบและผ้าก็กระด้าง แต่บรรลุความต้องการใช้งานได้ดียิ่ง ทำให้สเตราส์กลายเป็นช่างที่ทุกคนเรียกหา
ในต้นทศวรรษที่ ๒๓๙๔-๒๔๐๔ เขาได้เปลี่ยนจากผ้าใบมาใช้ผ้าฝ้ายที่มีเนื้อนุ่มกว่า เป็นผ้าที่ทอจากเมืองนีม ประเทศฝรั่งเศส ชาวยุโรปเรียกผ้าชนิดนี้ว่า แซร์จ เดอ นีม (Serge de nimes) แต่คนอเมริกันเรียกเป็น เดนิม (denim) นายสเตราส์ยังค้นพบด้วยว่า สีของผ้าเดนิมซึ่งเป็นสีฟ้าครามช่วยปิดบังรอยเปื้อนดินได้ดี ดังนั้นสินค้าปรับปรุงใหม่ของเขาจึงขายดิบขายดีไม่ยิ่งหย่อนกว่าเก่า พวกคาวบอยซึ่งต้องการกางเกงที่กระชับจะใช้วิธีใส่กางเกงแล้วลงไปแช่ในรางซึ่งใส่น้ำไว้ให้ม้ากิน จากนั้นจึงลุกมานอนตากแดดให้ผ้าเดนิมหดเข้ารูป
ถึงผ้าเดนิมจะขาดยาก แต่ลูกค้าคนงานในเหมืองก็ยังติว่า ฝีเย็บกระเป๋ามักจะแตกเพราะต้องใส่เครื่องมือหนัก ๆ สเตราส์จึงแก้ปัญหาด้วยการหยิบยืมความคิดของช่างเสื้อชาวยิว-รัสเซีย ผู้หนึ่ง ชื่อ จาคอบ ดาวิส ในปี ๒๔๑๖ เขาจึงใช้หมุดทองแดงติดย้ำที่ตะเข็บกระเป๋า และที่ฐานของสาบกางเกงเพื่อกันตะเข็บปริขณะนั่งร่อนทอง
แต่หมุดทองแดงก็ก่อปัญหาใหม่ขึ้น เพราะคนงานเหมืองไม่ค่อยอินังขังขอบกับการสวมกางเกงใน เวลานั่งผิงไฟยามค่ำคืนหมุดทองแดงจะร้อนและไหม้ผิว การใช้หมุดทองแดงจึงต้องเลิกราไป
ส่วนหมุดที่กระเป๋าใช้กันอยู่จนถึงปี ๒๔๘๐ จึงเลิกไปด้วยเหตุผลคนละอย่าง กล่าวคือ สมัยนั้นเด็ก ๆ ใส่ชุดยีนส์ไปโรงเรียน หมุดที่กระเป๋าหลังจึงขูดขีดโต๊ะเก้าอี้ไม้เป็นรอย ต้องซ่อมแซมกันเป็นการใหญ่ยีนส์ปรากฏหลักฐานการเข้าสู่วงการแฟชั่นในปี ๒๔๗๘ ด้วยการลงโฆษณาในหนังสือโว้ค เป็นภาพผู้หญิงที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงสังคมสองคนสวมยีนส์ทรงคับ ดึงแนวโน้มแฟชั่นให้เป็น |เท่แบบตะวันตก| แต่ความคลั่งไคล้ในช่วงนั้นยังไม่อาจเทียบกับช่วงทศวรรษที่ ๒๕๑๓-๒๕๒๓ ซึ่งมีการประชันขันแข่งการออกแบบชุดยีนส์กันอย่างเข้มข้น กางเกงยีนส์จึงเปลี่ยนหน้าที่จากการรับใช้งานหนักมาเป็นกางเกงสำหรับใส่เล่น จนถึงกับทำให้เกิดอุตสาหกรรมมูลค่าหลายพันล้าน ยีนส์ยี่ห้อดังบางยี่ห้อขายได้ถึง ๒๕๐,๐๐๐ ตัวต่อสัปดาห์ทีเดียว
ประวัติผู้ก่อตั้งและต้นกำเนิดของกางเกงยีนส์ Levi’s
ประวัติกางเกงยีนส์ลีวายส์ (Levi’s)
นายลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) ชาวเยอรมัน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในยุคตื่นทอง เมื่อปี ค.ศ.1850 ซึ่งทุกคนต่างมุ่งหน้าไปขุดทองที่เหมืองในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สเตราส์เดินทางไปที่นั่นเช่นกัน เขาไปเพื่อขายของ ซึ่งของที่นำไปขายได้ขายหมดระหว่างทาง เหลือเพียงผ้าเต็นท์เท่านั้น เมื่อไปถึงเหมือง ชาวเหมืองคนหนึ่งบอกให้เขาหากางเกงที่ทนทานมาขายบ้าง เพราะกางเกงคนขุดเหมืองขาดง่าย
คำพูดนี้จุดประกายความคิดให้สเตราส์ทันที เขาจึงนำเอาผ้าเต็นท์มาให้ช่างตัดเป็นเสื้อและกางเกง แล้วนำออกขาย ปรากฏว่าขายดีอย่างนึกไม่ถึงจนผ้าเต็นท์หมดในไม่ช้าสเตราส์จึงสั่งผ้าใบเรือมาตัดเสื้อผ้า ในขณะที่ผ้าเต็นท์ขาดตลาด เขาสั่งผ้าหนาอีกหลายชนิดมาจากนิวยอร์ก และนำมาย้อมเป็นสีน้ำเงินคราม อันเป็นสัญลักษณ์ของเสื้อผ้ากรรมกร
ปี ค.ศ.1860 ช่างตัดเสื้อชื่อ นายจาคอบ เดวิส (Jacob Davis) จากรัฐเนวาดาได้ตอกหมุดตามมุมกระเป๋ากางเกงของคนงานเหมือง เพื่อให้บริเวณนั้นที่มักขาดเสมอแข็งแรงขึ้น สเตราส์นำวิธีการตอกหมุดมาใช้กับกางเกงเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าหนาของเขาและตั้งชื่อว่า “ลีวาย” (Levi’s) ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1873 สเตราส์ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรขึ้น ถือเป็นวันกำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายที่นิยมใช้ทั่วโลกขณะนี้
.ยุคสมัย ลีวายส์ 1870 – 1879
ผืนผ้าเดนิมถูกเปลี่ยนตั้งแต่ ค.ศ.1860 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เริ่มใช้คำว่า XX เมื่อ ปี ค.ศ.1870 หมายถึงเป็นผ้าเฮฟวี่เดนิม ที่มีคุณภาพดี โดยมีน้ำหนักเป็นพิเศษ ลีวาย สเตราสส์ และ จาคอบ ดับเบิ้ลยู ดาวิส ร่วมกันจดทะเบียนหมุดโลหะ คอปเปอร์ ริเว็ตเต็ด เมื่อ ค.ศ.1873 ต่อมาได้ทำการผลิตเดนิม ยีนส์ กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม XX เกิดขึ้นมามีรูปแบบ 3 กระเป๋า จะสังเกตได้ ที่ด้านหลังมีกระเป๋าหลังด้านขวากระเป๋าเดียว
รุ่นแรกๆ นี้จะเรียกว่ากางเกงโอเวอร์ออลล์ส
1880 – 1889 ได้ใช้ป้ายหนังแท้ มาทำป้ายหลังในปี ค.ศ.1886 ในยุคสมัยนี้ยังคงเรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม ดับเบิ้ลเอ็กซ์
1890 – 1899 ใช้คำว่า 501 คือเลขส่งมอบผืนผ้าจากโรงงานอะมอสเคียง แมนูแฟคเตอริ่ง คัมปานี ส่งยังลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก.
เมื่อปี ค.ศ.1890 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม ไฟว์ โอ วัน ดับเบิ้ลเอ็กซ์ เย็บกระเป๋าใบที่ 4 คือกระเป๋าวอช พ๊อคเกต ในปี ค.ศ.1890
1900 – 1909 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก.ได้เย็บกระเป๋าหลัง เมื่อปี ค.ศ.1902 ทำให้เป็นกางเกงโอเวอร์ออลล์สที่มีกระเป๋าครบ 5 กระเป๋า เป็นกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ที่สมบูรณ์แบบ ผลิตรุ่น 502 มีผลิตรุ่น 201 หรือกางเกงรุ่นนัมเบอร์ 2 ผลิตของเด็กชาย เป็นรุ่น 503 ก่อนแตกหน่อออกไปอีกเป็น 503 A, และ 503 B ซึ่งเป็นของเด็กโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น รุ่น 503 ผลิตยาวถึงยุค1960s จะเป็นรุ่น 503 Z
1910 – 1919 กางเกงโอเวอร์ออลล์สเดนิม 501 XX ยังมีการผลิตรุ่น 502 รุ่น 201 ผลิตรุ่น 503 และรุ่น 333 NO.3
1920 – 1929 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ได้เย็บหูกางเกงในยุคนี้ และได้ผลิตรุ่น 201 ไปอย่างต่อเนื่องจนถึงยุค 1940
1930 – 1939 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX สมบูรณ์ แบบ มีหูสำหรับร้อยสายเข็มขัด มีซินช์แบ็ค เบลท์ ไว้ปรับให้กระชับในกรณีไม่ใช้สายเข็มขัด ในยุคนี้เป็นยุคที่ยกเลิกหมุดโลหะซ้าย-ขวาของกระเป๋าหลังด้านใน เปลี่ยนเป็นเย็บกระเป๋าหลังครอบคลุมไว้และเย็บแท็กกิ้งทับอีกชั้นหนึ่ง หมุดโลหะเรียกว่าคอนซีลเล็ด คอปเปอร์ ริเว็ตส์ นอกจากนี้ มีการใช้ป้ายเรดแท็บ และได้จดทะเบียนป้ายไว้เเล้ว จากนั้นได้ผลิตกางเกงผู้หญิง เลดี้ ลีวายส์ เวสเทิร์น โอเวอร์ออลล์ส โดยใช้ผ้าซานฟอไรเซ็ด เป็น 701 ของผู้หญิงจะมีทั้งเสื้อเบลาซส์ สำหรับใส่ไปท่องเที่ยวในยุคดู๊ดแรนช์ (Dude Ranch) และมีการผลิตอย่างต่อเนื่องไปถึงยุค 1950s และ 1960s มีเป็นรุ่น Lot 401 Lady Levi’s ได้ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้หญิง มีขนาดเอวตั้งแต่ 25 นิ้ว ถึง 33 นิ้ว และผลิตกางเกงผู้หญิงตามแบบฉบับสำหรับใส่ขี่ม้า เป็นรุ่น R 528 เลดี้ส์ ซานฟอไรเซ็ด เดนิม ฟร้อนเทียร์ส Ladie’s Sanforized Denim Frontiers (ตัว R หมายถึง Riding) กับผลิตเสื้อผู้หญิง เพื่อสวมเข้าชุดกัน รุ่น RJ 92 เลดี้ส์ ซานฟอไรเซ็ด เดนิม แจ๊คเกต (Ladie’s Sanforized Jacket)
1940 – 1949 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX มี รุ่นผลิตอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ.1942 จนถึง ค.ศ.1944 ทางลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก.ได้เรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส ที่เขาผลิตว่าเป็นรุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2 บางที่อาจจะใช้คำว่า World War 2 เป็นรุ่น 501 XX, S 501 XX
1950 – 1959 กางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX ถือ ได้ว่าเป็นที่สุดยอดอีกครั้งหนึ่งของลีวายส์ เพราะผ่านการผลิตมาแต่ละยุคสมัยจนลงตัว และในยุคนี้เป็นยุคที่รุ่งโรจน์ของอเมริกา ภายหลังมีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาราฮอลลีวู้ด นักร้องร็อกแอนด์โรล ใครๆ ที่เป็นคนสำคัญในวงสังคมอเมริกัน และของโลกต่างหันมาสนใจในผืนผ้าเดนิม มีการเปลี่ยนแปลงป้ายหลัง จากป้ายหนังแท้ มาเป็นป้ายกระดาษปะเก็น ประเดิมรุ่นที่คำว่า Every Garment Guaranteed Lot 501 XX
1960 – 1969 ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. ได้ผลิตกางเกงเดนิม 501 อยู่ระหว่างคาบเกี่ยวจะเปลี่ยนไปเป็นกางเกงยีนส์ 501 โดยมีการแสดงเกรดของผ้า โดยใช้ตัวอักษร A, S, F อยู่บนตัวเลขหมายรหัส 501 ของป้ายหลังที่เป็นกระดาษปะเก็น ลีวาย สเตราสส์ แอนด์ โก. เคยเรียกกางเกงโอเวอร์ออลล์ส เดนิม 501 XX และได้เปลี่ยนจากคำว่าเดนิม มาเป็นคำว่ายีนส์ (Jeans) ในยุคนี้ และมีการผลิตยีนส์ ลีวายส์สีขาวขึ้นมา มีการผลิตรุ่น 505 โดยเป็นรุ่นที่ใช้ซิปแทนกระดุม ยุคนี้ได้ผลิตผ้า Shrunk to Fit มาทำเป็นกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501 0115 ผืนผ้านี้จะไม่มีการหดตัว