ภาวะเป็นพิษจากพืช พืชพิษ คือพืชที่ประกอบด้วยสารพิษ หรือผลิตสารพิษในปริมาณที่มากพอที่จะก่อให้เกิด อันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ได้ อันตรายที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงต่างกัน อาจถึงขั้นเกิดโรค, พิการ หรือเสียชีวิต พืชบางชนิดเกิดพิษเพียงระยะเวลาสั้น ถ้าได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง ร่างกายก็จะกลับคืนสู่สภาพปกติได้
มนุษย์ได้เรียนรู้ความเป็นพิษของพืช และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตั้งแต่โบราณ เช่น นำยางน่องมาอาบลูกศรไว้ใช้ยิงศัตรู หรือสัตว์เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต นำพืชหลายชนิดมาใช้เบื่อปลา เป็นต้น
อันตรายที่ได้รับจากพืชพิษ มักเกิดแก่เด็กเล็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทาน ในผู้ใหญ่มักเกิดจากการเข้าใจผิด พืชพิษบางชนิดมีลักษณะคล้ายกับพืชที่ใช้เป็นอาหารหรือ ยา นอกจากนี้การเป็นพิษอาจเกิดขึ้นจากการดื่มนม หรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่กินพืชพิษเข้าไป เป็นต้น
นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเกิดขึ้นจากการสัมผัสทำให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นผื่นแดง หรือผิวหนังอักเสบได้ รวมทั้งการสูดดม หรือเสพพืชบางชนิด เช่น ฝิ่น, กัญชา ทำให้เกิดอาการเป็นพิษได้เช่นกัน
การเป็นพิษของพืช
อาจเนื่องจากสารพิษเพียงชนิดเดียว หรือหลายชนิดได้ สารเหล่านี้มีลักษณะและแหล่งที่มาต่างๆ กัน พืชที่เป็นพิษมักมีสารพิษประเภทต่างๆ ดังนี้
- Vegetable bases ประกอบด้วย amines, purines และ alkaloids
- 1.1 Amines พบได้ทั้งจากจุลินทรีย์, ในเห็ดบางชนิด รวมทั้งพืชชั้นสูงบางอย่าง แต่ amines ที่พบในจุลินทรีย์จะไม่พบพืชชั้นสูง สารนี้ทำให้พืชบางชนิดมีกลิ่นเหม็น สารนี้อาจเป็นพิษจากตัวสารเอง หรือมีปฏิกิริยาต่อโปรตีนที่มีอยู่ในอาหาร ทำให้เกิดการเป็นพิษขึ้น
- 1.2 Purines หรือ methylxanthines เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นสารสำคัญของพืชเมืองร้อน เช่น ใบชา, กาแฟ, โกโก้, โคล่า เป็นต้น สารที่สำคัญ และมีฤทธิ์ต่อร่างกายได้แก่ caffeine, theobromine, theophylline ฯลฯ
- 1.3 Alkaloids เป็นสารจากพืชที่มีความสำคัญ ที่สุด มักพบรวมอยู่กับกรดอินทรีย์หลายชนิด สารนี้พบในพืชชั้นสูงเป็นส่วนใหญ่ พบในพืชใบเลี้ยงคู่มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พบน้อยมากในพืชที่ไม่มีดอกเช่น เฟิร์น และเห็ดรา สามารถออกฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ทางสรีรวิทยา ทำให้เกิดอาการพิษ alkaloids ที่เป็นพิษมาก ได้แก่ morphine จากยางของผลฝิ่น, emetine จากราก ipecac, strychnine จากเมล็ด แสลงใจและ curarine จาก curare เป็นต้น
- Glycosides สารนี้มีส่วนประกอบของน้ำตาล บางชนิดไม่เป็นพิษ, บางชนิดเป็นพิษโดยตัวของมันเอง เช่น digitoxin พบใน digitalis, cerbexin พบในพืช พวกตีนเป็ดน้ำ, thevetin พบในรำเพย, antiarin พบในยางน่อง เป็นต้น
- Glycosides บางชนิดเป็นพิษเมื่อถูกสลายตัวเช่น cyanogenic glycosides ซึ่งพบในหัวมันสำปะหลังดิบ สลายตัวให้ hydrocyanic acid, หรือ sinigrin glycoside ซึ่งพบในเมล็ดมัสตาร์ดดำ สลายตัวให้ isothiocyanotes ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง เป็นต้น
- Saponins เป็นสารที่พบมากในพืช พบในพืชประมาณ 400 ชนิดใน 50 วงศ์ เช่น สกุลของพวกประคำดีควาย, สะบ้ามอญ และจิก เป็นต้น สารประเภทนี้เมื่อเขย่า กับน้ำจะเกิดฟอง มีรสขม และกลิ่นฉุน ถ้าเป็นผงแห้งสารนี้จะระคายเคืองเยื่อบุจมูก สารนี้เป็นพิษมากต่อสัตว์เลือดเย็น ขนาดที่เจือจางมากเช่น 1:200,000 สามารถฆ่าปลา ได้ ในสัตว์เลือดอุ่นถ้ากินสารนี้จะระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ทำให้น้ำลายออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง ถ้าสารนี้ถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายจะทำให้มีอาการ ปวดศีรษะ กระหายน้ำ มีไข้ หน้าซีด ม่านตาขยาย ถ้าสารนี้เข้าไปในกระแสโลหิตจะทำให้เม็ดโลหิตแดงแตก ถ้าได้รับพิษมากจะทำให้กล้ามเนื้อเปลี้ย การไหลเวียนโลหิตผิดปกติ และมีอาการชักได้
- Toxalbumins พบมากในพืชวงศ์ Leguminosae และวงศ์ Euphorbiaceae เช่น สกุลพวกสลอดเปล่า, ละหุ่ง, สบู่แดงและสบู่ดำเป็นต้น สารนี้เป็นสารประกอบโปรตีน ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายหน่วยมารวมตัวกัน ตัวอย่างของสารประเภทนี้ได้แก่ abrin จากเมล็ดมะกล่ำตาหนู, croton จากเมล็ดสลอด, ricin จากเมล็ดละหุ่ง และ curcin จากเมล็ดสบู่ดำ สารนี้จะถูกดูดซึมช้าๆ จากทางเดินอาหารทำให้เกิดการอักเสบ ของกระเพาะอาหารและลำไส้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องร่วงอย่างแรง นอกจากนี้ยังเป็นพิษต่อเลือดทำให้เม็ดเลือดแดงรวมตัวจับกลุ่ม และตกตะกอน สัตว์สามารถ สร้างภูมิต้านทานต่อสารนี้ได้ ถ้าให้ในขนาดน้อยๆ หลายๆครั้ง
- น้ำมันระเหยยาก (fixed oils) สารนี้ประกอบด้วย glycerol และ fatty acid หลายชนิด ซึ่งมี sterols หรือสารอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ส่วนใหญ่มักมี คุณสมบัติเป็นยาระบาย บางชนิดมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง เช่น น้ำมันสลอด น้ำมันสบู่ดำ, น้ำมันละหุ่ง เป็นต้น นอกจากนี้ในน้ำมันบางอย่างเช่น น้ำมันสลอด ยังมีสารอื่นเช่น resin ละลายอยู่ เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดความระคายเคือง และเป็นหนองได้
- น้ำมันระเหยง่าย (essential oils หรือ volatile oils) เป็นสารที่ทำให้พืชมีกลิ่น เช่น การบูร, ผักชีฝรั่ง ฯลฯ ระเหยได้ในอุณหภูมิปกติ มีส่วนผสมของสารอินทรีย์หลายชนิด เช่น alcohol, aldehyde, ketone เป็นต้น อนุพันธ์ของสารเหล่านี้อาจเป็น ester ของ alcohol ชนิดต่างๆ และสารประกอบ sulfur ทำให้สารนี้มีคุณสมบัติไล่และฆ่าแมลง มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อเมือกขนาดมากทำให้อาเจียน และท้องร่วง ในสตรีทำให้เกิดความระคายเคืองอักเสบ และมีเลือดคั่งที่อวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้ตกเลือด และแท้งบุตรได้ น้ำมันระเหยง่ายแต่ละชนิดมีฤทธิ์แตกต่างกันออกไป บางชนิดเช่น พืชพวกโกฎจุฬาลำพา, จันทน์เทศ ฯลฯ มีฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากจะกระตุ้นในตอนแรก ทำให้เกิดอาการตื่นเต้น จนถึงชักได้ และมีฤทธิ์กดในตอนหลัง
- เรซิน (resins) มีส่วนประกอบหลักคือ resin ester complex acids และสารที่ยังไม่ทราบว่าเป็นสารประกอบใด เรียกว่า resenes เรซินบางชนิด เช่น ยางจากต้นมะม่วงหิมพานต์ ยางจากพืชจำพวกสลัดได มีสาร phenolic ทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างมาก เข้าตาทำให้ตาบอด บางชนิดมีสารรสขมซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง และบางชนิดก็มีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าแมลง เช่น พวกหางไหล, พวกครามป่า, พวกรัก ดอก, กัญชา เป็นต้น
- กรดอินทรีย์ ที่เป็นพิษได้แก่ oxalic acid และ formic acid, oxalic acid พบในพืชหลายชนิดในรูปของ calcium oxalate, sodium oxalate และ potassium oxalate ผลึก calcium oxalate ซึ่งเป็นรูปเข็มไม่ละลายน้ำพบใน บอน, ว่านหมื่นปี ฯลฯ ทำให้เกิดความระคายต่อเยื่อเมือกในปากและลำคอ ทำให้มีความ รู้สึกเจ็บปวดในบริเวณนั้น บางครั้งทำให้กลืนไม่ลงแม้แต่น้ำลาย ส่วน oxalate ชนิด อื่นในพืชมักมีปริมาณน้อยเกินกว่าที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษได้ แต่ถ้าได้รับเข้าไปมาก oxalate จะทำปฏิกิริยากับ ionizable calcium เกิดเป็น calcium oxalate ทำให้ปริมาณ ionized calcium ลดลงเกิดอาการ hypocalcemia และมี calcium oxalate ตกตะกอนที่กรวยไต
- Photodynamic substances สารนี้โดยตัวเองนั้นไม่มีพิษ แต่จะเกิดพิษเมื่อ คนหรือสัตว์นั้นถูกแสงสว่าง ทำให้มีความไวต่อการรับแสงมากเป็นพิเศษ มักเกิดแก่สัตว์ที่มี สีขาว ไม่มี pigment ทำให้เกิดการแพ้แสงอย่างรุนแรง พืชที่มีสารเหล่านี้เช่น โคกกระสุน เป็นต้น
- Selenium และ fluorine พืชบางชนิดสามารถดูด selenium จากดิน ทำให้เกิดการเป็นพิษได้ สัตว์ที่กินข้าวสาลีที่ปลูกในดินที่มีธาตุ selenium สูง จะเกิดโรค alkali disease หรือ blind staggers ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก https://med.mahidol.ac.th