เมื่อพูดถึงแมกมานักธรณีวิทยาหมายความถึงหินหลอมเหลวที่อยู่ใต้เปลือกโลกของเรา แต่หากหินร้อนเหล่านั้นไหลออกมาจากเปลือกโลกนั่นคือลาวา
แมกมายังต่างกันไปตามองค์ประกอบทางเคมีอีกด้วย และนั่นทำให้ภูเขาไฟปลดปล่อยมันออกมาในรูปแบบที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นแมกมาแบบมาฟิก (Mafic) ที่กำลังเกิดขึ้นในฮาวายขณะนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจากรอยแตกของแผ่นเปลือกโลกในมหาสมุทร แมกมาประเภทนี้ประกอบด้วยซิลิการาว 47 – 63% ซิลิกาคือแร่ธาตุที่ใช้ในการทำแก้วและคริสตัล การที่แมกมานี้ประกอบด้วยซิลิกาไม่มากนักมันจึงถูกปลดปล่อยออกมาจากภูเขาไฟในรูปแบบของการผุดไหลออก และเท่าที่หินหลอมเหลวนี้จะไหลไปได้ลาวาจากแมกมาประเภทนี้มีความไหลในระดับเดียวกับน้ำมันหมู ทั้งยังร้อนมากๆ ด้วยอุณหภูมิมากถึง 980 – 1,200 องศาเซลเซียส
แมกมาอีกประเภทหนึ่งมีชื่อเรียกว่า แมกมาซิลิซิก (Silicic) เกิดขึ้นจากแผ่นเปลือกโลกที่บางกว่าแตกออก ประกอบด้วยซิลิกามากกว่า 63% ส่งผลให้แมกมาเหล่านี้มีความหนืดมาก ปลดปล่อยในลักษณะของการระเบิดออกและมีความไหลในระดับตั้งแต่กากน้ำตาลไปจนถึงเนยถั่วเลยทีเดียว แต่มีอุณหภูมิน้อยกว่าแมกมาแบบมาฟิก โดยอยู่ที่ราว 650 – 800 องศาเซลเซียส
ใช่ว่าลาวาจะมีโทษอย่างเดียวนะคะ ลาวามีประโยชน์อย่างมากเช่นกัน เนื่องจากลาวาเป็นหินหนืดที่มีแร่ธาตุเยอะมาก ดังนั้น พื้นที่หลังจากการเกิดภูเขาไฟระเบิดส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก เพราะในดินภูเขาไฟนั้นมีแร่ธาตุเยอะจึงเหมาะแก่การเพาะปลูก ดังนั้น บริเวณที่เคยเกิดภูเขาไฟระเบิดมาก่อนจึงเป็นพื้นที่ที่ดินดี อุดมสมบูรณ์
แมกมาจะอยู่ในชั้นเนื้อโลก (Mantle) ที่อยู่ระหว่างชั้นเปลือกโลก (Crust) ซึ่งเป็นชั้นบนสุด และชั้นแก่นโลก (Core) ซึ่งอยู่ชั้นล่างสุด แมกมามีลักษณะเป็นหินหนืดหลอมเหลว ประกอบด้วยแร่ธาตุหลากหลายชนิด ธาตุที่พบส่วนใหญ่คือ แร่ซิลิกา แร่ซิลิกาเป็นแร่ที่เรารู้จักกันดีในการนำมาทำแก้วหรือคริสตัล นอกจากนั้นยังพบก๊าซที่อยู่ในแมกมา เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ
แหล่งข้อมูล
National Geographic. What’s the Difference Between Magma and Lava? สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2561
และ https://ngthai.com/
และ https://www.trueplookpanya.com/
ภาพ : Pixabay