ประวัติปี โดยประมาณ
Pi เป็นที่รู้จักมาเกือบ 4000 ปีแล้วในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ชาว Babylon โบราณใช้มัน (ประมาณ 3.125) เพื่อคำนวณขนาดของวงกลม โดยประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล pi นั้นถูกคำนวณโดยนักคณิตศาสตร์โบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง Archimedes แห่ง Syracuse เขาพบว่า pi สามารถเป็นค่าอะไรได้บ้าง ระหว่าง 3 1/7 ถึง 3 10/71 ซึ่งบางครั้ง Pi ถูกเรียกว่าค่าคงที่ หรือ Archimedes นั้นเอง
ต่อมาในช่วงกลางทศวรรษ 400 นักคณิตศาสตร์ที่เก่งกาจอีกคนหนึ่งชื่อ Zu Chongzhi ได้คำนวณค่า pi อีกครั้งด้วยการคำนวณที่ยาวนาน เนื่องจากหนังสือของ Archimedes สูญหาย และไม่ได้อยู่ในจีน ในขณะนั้น Zu Chongzhi จึงคำนวณ pi ด้วยวิธีใหม่ ระหว่าง Zu Chongzhi และ Archimedes นักวิทยาศาสตร์สองคนนี้เป็นคนแรกที่รู้ค่า pi ที่แท้จริง
ผู้ที่คำนวณหาค่าประมาณของ π ได้เป็นคนแรก คือ Archimedes โดยเขาได้ประมาณค่า π จากค่าเฉลี่ยของความยาวรอบรูป n เหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าที่แนบในวงกลมและแนบนอกวงกลมหนึ่งหน่วย Archimedes พิสูจน์ได้ว่า π มีค่าอยู่ระหว่าง 223/71 และ 22/7 ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่มาของการประมาณค่า π ด้วย 22/7 นั่นเอง ต่อมาภายหลังมีผู้พิสูจน์เพิ่มเติมว่า π เป็นจำนวนอตรรกยะ นั่นคือ π เป็นจำนวนที่ไม่สามารถเขียนเป็นเศษส่วนของจำนวนเต็มได้ โดยค่าประมาณของ π ที่มีทศนิยม 20 ตำแหน่ง คือ 3.14159265358979323846
1. ค่าพาย (Pi, ¶) มีค่าเท่ากับ 22/7 หรือ 3.14… โดยเป็นค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ที่เกิดจากการนำความยาวของเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม มันเป็นค่าที่มีตัวเลขยาวต่อเนื่องกันไปอย่างไม่รู้จบ และไม่มีชุดตัวเลขใดที่ซ้ำกันเลย
2. สัญลักษณ์พาย (Pi, ¶) ถูกใช้กันทั่วไปในทางคณิตศาสตร์เมื่อ 250 ปีที่ผ่านมานี้เท่านั้น
3. William Jones เป็นคนแรกที่เสนอให้ใช้สัญลักษณ์พาย (Pi, ¶) ในปี 1706 แต่มันกลับได้รับความนิยมในเวลาต่อมา คือ ในปี 1737 ซึ่งเป็นยุคของ Leonhard Euler นักคณิตศาสตร์ชาวสวิส
4. ไม่เคยมีใครวัดค่าที่แท้จริงของเส้นรอบวงหรือพื้นที่วงกลมได้ เพราะไม่เคยมีใครทราบค่าที่แท้จริงของพายเลย มันเป็นตัวเลขมหัศจรรย์ที่สามารถคำนวณต่อไปได้เรื่อย ๆ อย่างไม่สิ้นสุด และยังเป็นตัวเลขที่สะเปะสะปะไม่ซ้ำกันอีกด้วย
5. มนุษย์รู้จักค่าพายมาเป็นเวลาเกือบ 4000 ปีแล้ว โดย 2000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลเนียนกำหนดค่านี้ไว้ที่ 3 1/8 หรือ 3.125 ส่วนชาวอียิปต์โบราณใช้ค่าพายที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยคือ 3 1/7 หรือ 3.143 ขณะที่ชาวจีนโบราณจะแทนค่าพายด้วยจำนวนเต็ม 3 แต่ในปี 1665 เซอร์ ไอแซก นิวตัน ได้คำนวณค่าพายไว้ที่ 16 ตำแหน่ง และปี 1719 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Thomas Fantet de Lagny มีการคำนวณค่าพายไว้ที่ 127 ตำแหน่ง
6. William Shanks ใช้ความพยายามในการหาค่าพายโดยการคำนวณด้วยตนเอง และเขาก็ได้ค่าพายออกมาถึง 707 ตำแหน่ง แต่น่าเสียดายที่ค่าที่ได้มานั้น มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นตั้งแต่ตำแหน่งที่ 527 เป็นต้นไป ดังนั้น ตัวเลขค่าพายหลังจากตำแหน่งดังกล่าวจึงเป็นตัวเลขที่ผิดทั้งหมด
ขอบคุณข้อมูล https://intrend.trueid.net/ และ https://www.trueplookpanya.com/